Browsing by Author "ผุสดี สระทอง"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access ปัจจัยทํานายความต้องการออกจากงานของอาจารย์พยาบาล(2555) รัชนี ศุจิจันทรรัตน์; Rachanee Sujijantararat; วัลลภา บุญรอด; Wallapa Boonrod; วิไลวรรณ ทองเจริญ; Vilaivan Thongcharoen; พวงผกา กรีทอง; Phuangphaka Krethong; กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์; Kanokporn Oumpram; กมลรัตน์ เทอร์เนอร์; Kamornrat Turnner; วัชราพร เชยสุวรรณ; Vacharaporn Choeisuwan; ณัฏฐวรรณ คําแสน; Natawan Khumsaen; ผุสดี สระทอง; Pussadee Srathong; วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์; Vacharaporn Paorohit; ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้; Chitsupang Tiptiangtae; อรุณรัตน์ คันธา; Arunrat Khunthar; ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร; Srisuda Klayklongjit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐานวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายความต้องการออกจากงานของอาจารย์พยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันสมทบ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาลในคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันสมทบอีก 9 แห่ง รวม 10 แห่ง ที่ทํางานในหน่วยงานปัจจุบัน 1 ปีขึ้นไป จํานวน 390 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 1 ชุดประกอบด้วยชุดคําถาม 2 ส่วน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล และความต้องการออกจากงานจํานวนรวม 21 ข้อ และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการออกจากงานของอาจารย์พยาบาล 5 ด้านคือ 1) ลักษณะงาน 2) บรรยากาศองค์การ 3) ความผูกพันต่อองค์การ4) คุณภาพชีวิตและ 5) วัฒนธรรมองค์การรวม 118 ข้อลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงและคํานวณความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบาค .94 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาและการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ผลการวิจัย: มีอาจารย์พยาบาลต้องการออกจากงานในระยะ1 ปีข้างหน้าร้อยละ55.64และร้อยละ65.6 ในระยะ3 ปีข้างหน้าโดยส่วนใหญ่มีระดับความต้องการออกจากงานอยู่ในระดับปานกลาง (43.61% และ 50.45% ตามลําดับ) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการออกจากงาน 5 ด้านมีค่าคะแนนระดับสูง (3.5-4.49) 4 ด้าน คือ 1) ลักษณะงาน (X= 4.28, SD = 0.45)2) ความผูกพันต่อองค์การ (X = 3.95, SD = 0.61) 3)คุณภาพชีวิต (X = 3.58, SD = 0.56) และ 4) วัฒนธรรมองค์การ(X = 3.53, SD = 0.47) ส่วนคะแนนบรรยากาศขององค์การอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.39, SD = 0.62) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่ามี 3 ปัจจัยคือ วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และวุฒิปริญญาเอกร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความต้องการออกจากงานในระยะ1 ปี ได้ร้อยละ12.2 ส่วนในระยะ3 ปีข้างหน้ามีเพียง 2 ปัจจัยคือความผูกพันต่อองค์การและการได้รับวุฒิปริญญาเอกร่วมกันอธิบายความต้องการออกจากงานได้ร้อยละ14.3 สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรพัฒนากลวิธีในการเพิ่มความผูกพันของอาจารย์กับองค์การ ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอาจารย์ให้ปรับตัวให้สอดคล้องและเข้ากับวัฒนธรรมองค์การได้โดยเร็ว และพัฒนาแนวทางและเสริมสร้างสภาพการณ์ในหน่วยงานที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรให้สามารถทํางานด้วยกันได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยลดความต้องการออกจากงานของอาจารย์