Browsing by Author "มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยนานาชาติ. งานส่งเสริมและบริหารการวิจัย"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัย และความเหมาะสมในการใช้งาน: กรณีศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล(2559) จีรวรรณ ทองสกล; กนกภรณ์ หัมพานนท์; Jeerawan Thongsakol; Kanokeporn Hambananda; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยนานาชาติ. งานส่งเสริมและบริหารการวิจัยงานส่งเสริมและบริหารการวิจัยรับผิดชอบในการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัยของวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย การจัดทำกลยุทธ์ของส่วนงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการจัดทำระบบฐานข้อมูลงานวิจัย จึงได้มีการพัฒนาระบบ Mahidol University Electronics Research Information System หรือ MU eRIS ให้ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยได้นำไปใช้ในการจัดการฐานข้อมูลของแต่ละส่วนงาน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัย และวิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้งาน ระหว่างระบบฐานข้อมูลของวิทยาลัยฯ กับระบบฐานข้อมูลขอลมหาวิทยาลัย โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาแบบย้อนกลับ (Retrospective Study) จากข้อมูลวิจัยของอาจารย์กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2557 ในด้านนักวิจัย ทุนวิจัย แหล่งทุน ดครงการวิจัย และผลผลิตของการวิจัย หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยทดสอบการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลทั้งสองระบบ และทำการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการทำงานในด้านการเตรียมข้อมูลนำเข้า ความรู้ความเข้าใจของผู้บันทึกข้อมูล เวลาในการบันทึกข้อมูล เวลาในการนำข้อมูลมาใช้ งบประมาณ และรายงานผลข้อมูล และผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของฐานข้อมูล MU eRIS ต่อข้อมูลหลักสามด้านตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จากผลการศึกษาวิจัยในการเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัยพบว่า ฐานข้อมูล MU eRIS มีการเตรียมข้อมูลและเวลาในการบันทึกข้อมูลมากกว่า เนื่องจากมีรายละเอียดของข้อมูลมากกว่า แต่ใช้เวลาน้อยกว่าในการดึงข้อมูลมาใช้และการรายงานผลข้อมูล ส่วนในด้านความเหมาะสมในการใช้งาน ผู้วิจัยพบว่า MU eRIS ยังขาดข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัยของวิทยาลัยนานาชาติในบางประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการประเมินผลปฏิบัติงานอาจารย์ นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาดังกล่าวมาจัดทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูล ซึ่งผลสำรวจที่ได้รับมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณานโยบาย และพัฒนากระบวนการจัดทำฐานข้อมูลวิจัยของวิทยาลัยฯ ต่อไป