Browsing by Author "สุวิไล เปรมศรีรัตน์"
Now showing 1 - 20 of 32
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access The complexity of languages and scripts used in Thailand’s deep south(2021) Uniansasmita Samoh; Suwilai Premsrirat; ยูเนียนสาสมีต้า สาเมาะ; สุวิไล เปรมศรีรัตน์; Mahidol University. Research Institute for Languages and Cultures of Asia; Mahidol University. Institute of Language and Cultures for Rural DevelopmentThailand’s deep south is a complex area of languages and scripts. The purpose of this article is to explain the complexity of the use of languages and scripts in the life of people in Thailand’s deep south. This study uses a qualitative research method carried out by using interviews, participant observation, and documentation. The study found that there are six main languages used in the region: Patani Malay, Standard Thai, Classical Malay (Jawi script), Standard Malay (Jawi script), Standard Malay (Rumi script), and Arabic. Patani Malay is used for daily communication with family, friends, and people in the community of Patani Malay people. Standard Thai is used mainly for daily communication, with non-Patani Malay speakers and also used increasingly with family, friends, and people in the community. Thai is also used as the medium of instruction in all government schools. Classical Malay (Jawi script) is used in the religious domain, especially in traditional Islamic education institutions called pondoks. Standard Malay (Jawi script), is used in teaching the Standard Malay language and for writing signs such as village names, school names, mosque names, etc. Standard Malay (Rumi script) is used in teaching the Standard Malay language and some signs. The Arabic language is used in teaching and learning Islamic studies in the Tadika, pondok and private Islamic schools as well as in some government schools. In addition, Arabic is used in studying the Qur’an and for writing the names of religious institutions.Item Metadata only การตั้งชื่อวัดในพุทธศาสนาในกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547) นฤมล ตุงคะโหตร; สุวิไล เปรมศรีรัตน์Publication Open Access การมองลักษณะทางชาติพันธุ์ภาษา การปรับเปลี่ยนและการใช้ภาษาของชุมชนที่พูดภาษาตระกูล มอญ-เขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย(2537) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; โสภนา ศรีจำปา; Suwilai Premsrirat; Sophana Srichampa; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทItem Metadata only การศึกษาคำศัพท์และวัฒนธรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของชาวเวียดนาม(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559) จิตรนันท์ กลิ่นน้อย; โสภนา ศรีจำปา; สุวิไล เปรมศรีรัตน์; อิสระ ชูศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ชื่ออาหารเวียดนาม 2) การศึกษาความหมายและตัวแทนของคำกริยาเตรียมอาหารและคำกริยาปรุงอาหารเวียดนาม และ 3) วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวเวียดนาม ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ทฤษฎีวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายและทฤษฎีต้นแบบ ผลการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ชื่ออาหารเวียดนาม พบว่า ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ วัตถุดิบ วิธีการจัดการวัตถุดิบ ประเภทของอาหาร และลักษณะจำเพาะ ซึ่งพบว่าวัตถุดิบเป็นส่วนประกอบที่ ปรากฏในชื่อเสมอและมีความสำคัญมาก ในส่วนของคำกริยาเตรียมอาหารพบว่าสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มการแยกวัตถุดิบออกจากกันและกลุ่มการรวมวัตถุดิบเข้าด้วยกันสำหรับคำกริยาปรุงอาหารพบว่าสามารถจำแนกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการทำให้สุกด้วยน้ำเดือด ด้วยน้ำมันเดือด ด้วยไอระอุ ด้วยความร้อนตรง และด้วยสื่อความร้อนแห้ง นอกจากนี้พบว่ามโนทัศน์ของชาวเวียดนามการเตรียมอาหารคือการจัดการแยกวัตถุดิบให้ขาดออกเป็นชิ้นเล็กบาง ด้วยอุปกรณ์มีคม และพบว่า thai /thaj3/ "หั่น" เป็นคำกริยาที่ชาวเวียดนามเลือกตอบมากที่สุด สำหรับการปรุงอาหารของชาวเวียดนามคือการทำให้อาหารสุกโดยใช้ความร้อน และวิธีการปรุงอาหารที่ชาวเวียดนามนิยมมากที่สุดคือ luộc /luok4/ "ต้ม" เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว จากการศึกษาบริบททางวัฒนธรรมพบว่าอาหารเวียดนามเป็นอาหารที่ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย และมีลักษณะของการห่อม้วนและยัดไส้ และยดั ไส้Item Metadata only การศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์และทัศนคติระหว่างผู้พูดภาษากูย, กวย และเญอในจังหวัดศรีสะเกษ(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547) ธิติพร พิมพ์จันทร์; สุวิไล เปรมศรีรัตน์Item Metadata only การศึกษาระบบเสียงและระบบตัวเขียนภาษาโทร บ้านกุดสะกอย(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559) ไกรสร ฮาดคะดี; ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร; สุวิไล เปรมศรีรัตน์; มยุรี ถาวรพัฒน์วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอการศึกษาระบบเสียงภาษาโทรํพูดที่บ้านกุดสะกอย ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบเสียงภาษาโทรํบ้านกุดสะกอยแล้วนำไปจัดทำระบบตัวเขียนภาษาโทรํอักษรไทยและนำระบบตัวเขียนใช้เป็นเครื่องมือบันทึกภูมิปัญญาของชาวโทรํเพื่อนำไปจัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาโทรํและนำไปทดลองสอนนักเรียนชาวโทรํที่โรงเรียนบ้านกุดสะกอย จากการศึกษาพบว่า ภาษาโทรํสำเนียงบ้านกุดสะกอย มีทำนองเสียง 2 ประเภทคือทำนองเสียงลงและทำนองเสียงขึ้น ในภาษาโทรํมีคำพยางค์เดียว สองพยางค์ สามพยางค์และสี่พยางค์มีทั้งพยางค์รองและพยางค์หลักที่เป็นพยางค์เปิดและพยางค์ปิดในระดับหน่วยเสียง ภาษาโทรํบ้านกุดสะกอยประกอบด้วย หน่วยเสียงพยัญชนะ21หน่วยเสียงได้แก่ /p,pʰ,b,t,tʰ,d,c,cʰ,k,kʰ,ʔ,m,n,ɲ,ŋ,s,h,r,l,w,j/ ปรากฏเป็นพยัญชนะต้น 21 หน่วยเสียง ปรากฏเป็นพยัญชนะต้นควบกลํ้า 11 เสียง ได้แก่ /pr,pʰl,pl,br,bl,tr,tʰr,kr,kʰr,kl,kʰl/ พยัญชนะท้าย 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /p,t,c,k,ʔ,m,n,ɲ,ŋ,h,r,l,w,j/ พยัญชนะท้ายควบกลํ้า 3 เสียงได้แก่ /wʔ,jʔ,jh/ภาษาโทรํบ้านกุดสะกอยมีพยางค์หน้าเสียงนาสิกที่เป็นแกนพยางค์ ได้แก่ /n̩ ,m̩,ɲ̩,ŋ/ภาษาโทรํบ้านกุดสะกอย มีหน่วยเสียงสระเดี่ยวทั้งหมด 22 หน่วยเสียงได้แก่ /i,i:,e,e:,ɛ,ɛ:,a,a:,ɯ,ɯ:,ə,ə:,ʌ,ʌ,ɑ,ɑ:,u,u:o,o:,ɔ,ɔ:/ หน่วยเสียงสระประสม 5 หน่วยเสียงได้แก่ /iə,ia,ɯə,uə,ua/ ลักษณะนํ้าเสียง มี 2 ลักษณะ ได้แก่ลักษณะนํ้าเสียงปกติและลักษณะนํ้าเสียงมีลมแทรก การจัดทำระบบตัวเขียนผู้วิจัยได้ร่วมกับชุมชนจัดทำระบบตัวเขียนภาษาโทรํอักษรไทยโดยใช้วิธีการภาษาศาสตร์ประยุกต์ยึดหลักการดังนี้คือ ใช้หนึ่งสัญลักษณ์ต่อหนึ่งหน่วยเสียง มีลักษณะการเขียนเป็นแนวเดียวกัน เน้นการประหยัดหนึ่งตัวอักษรต่อหนึ่งหน่วยเสียง สามารถพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เป็นที่ยอมรับของชุมชน เป็นตัวแทนของภาษานั้น ตลอดทั้งกำหนดเกณฑ์ในการเขียนระดับคำ ระดับประโยค การใช้สัญลักษณ์ที่จำเป็นต่อการเขียนและได้จัดทำคู่มือการเขียนภาษาโทรํฉบับทดลองใช้เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการเขียนภาษาโทรํต่อไปการจัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาโทรํโดยได้ร่วมมือกับชุมชนนำระบบตัวเขียนภาษาโทรํมาบันทึกเรื่องเล่า ภูมิปัญญามาจัดทำสื่อการเรียนการสอน2ประเภทคือ สื่อการสอนที่เน้นความเข้าใจได้แก่ หนังสือเล่มยักษ์ และ สื่อการสอนเน้นความถูกต้องได้แก่ แบบเรียนอ่านเขียน โดยใช้วิธีการเชื่อมโยงจากภาษาไทยไปสู่ภาษาโทรํ ( L2→L1) นำไปสอนนักเรียนชาวโทรํชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนบ้านกุดสะกอยและขยายผลสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ในลำดับต่อไปPublication Open Access ขมุ ลัวะ/ถิ่น และมลาบรี(ผีตองเหลือง) ในจังหวัดน่านและปัญหาในการเรียกชื่อ(2537) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; Suwilai Premsrirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทPublication Open Access ความหลากหลายของ ภาษาและชาติพันธุ์: ทรัพยากรล้ำค่าหรือปัญหาที่แก้ไม่ตก(2547) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; Suwilai Premsrirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทเอเชียอาคเนย์เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเอเชียอาคเนย์ จึงมีความหลากหลายของภาษาและชาติพันธ์เป็นอย่างมาก บทความนี้เสนอความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ในเอเชียอาคเนย์ ผลงานการศึกษาการกระจายตัวกลุ่มภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งมีกว่า 60 กลุ่ม พร้อมทั้งลักษณะทางนิเวศน์ สถานภาพทางสังคม ความสำคัญและปัญหาด้านอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดจากอิทธิพลของภาวะกระแสโลกในปัจจุบัน รวมทั้งนโยบายภาษาในระดับชาติ และการจัดการในระดับท้องถิ่น ที่นำไปสู่การขัดแย้ง การเสื่อมสลาย หรือการฟื้นฟูและการดำรงอยู่ของชุมชนภาษาและชาติพันธุ์ต่างๆ และนำเสนอแนวคิดที่ต่างกันเกี่ยวกับความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ กล่าวคือความหลากหลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก หรือความหลากหลายเป็นทรัพยากรที่มีค่า ซึ่งนำไปสู่วิธีดำเนินการที่ต่างกัน ในช่วงท้ายได้เสนอบทบาทของการศึกษาวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ ที่เอื้อต่อการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นฐานของการสร้างโอกาสแกกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยและการบำรุงรักษามรดกของมนุษยชาติ เช่น การพัฒนาภาษาเพื่อการจัดการศึกษาแก่ชนกลุ่มน้อย การบันทึกองค์ความรู้และโครงการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต เป็นต้นItem Metadata only โครงการพัฒนาสื่อภาษาพื้นบ้านเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและผลิตสื่อต่างๆ การพัฒนาระบบการเขียนภาษาเขมรถิ่นไทย(2533) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; โสภนา ศรีจำปา; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทItem Metadata only ชื่อหมู่บ้านของอำเภอเมืองสุรินทร์(2527) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; สุขุมาวดี ขำหิรัญ; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทPublication Open Access ชุมชนพูดหลายภาษาที่บ้านเมืองลิ่ง(2529) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; Suwilai Premsrirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทItem Metadata only น็อง เทอ ยาง นา เจีย ทำอย่างไรดี : คู่มือปฐมพยาบาลฉบับภาษาเขมรถิ่นไทยและภาษาไทย(2537) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทItem Metadata only นิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นไทย(2538) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. โครงการพัฒนาสื่อภาษาพื้นบ้าน; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียItem Metadata only นิทานเวียดนาม(2541) Trinh Dieu Thin , ผู้แปล; สุวิไล เปรมศรีรัตน์; มยุรี ถาวรพัฒน์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทItem Metadata only พจนานุกรมภาษาชอง-ไทย-อังกฤษ(2552) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร; อิสระ ชูศรี; Suwilai Premsrirat; Siripen Ungsitipoonporn; Isara Choosri; วีระ โอสถาภิรัตน์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤตPublication Open Access พัฒนาระบบเขียนภาษาชอง(2543) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; Suwilai Premsrirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทItem Metadata only พัฒนาสื่อภาษาพื้นบ้าน : กรณีภาษาเขมรถิ่นไทย(2541) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทPublication Open Access พิธีไหว้พระจันทร์วันเพ็ญเดือนสิบสองของคนไทยเชื้อสายเขมร(2534) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; พาน สุขพล่ำ; Suwilai Premsrirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทPublication Open Access ภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการพัฒนา: ฟื้นคน ฟื้นภาษา ในภาวะวิกฤต(2556) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; Suwilai Premsrirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. สาขาภาษาศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทบทความนี้เสนอแนวคิดการศึกษาภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นการบูรณาการศาสตร์ทางภาษากับศาสตร์อื่นๆ โดยเป็นการพัฒนาภาษาท้องถิ่นหรือภาษาชาติพันธุ์ต่างๆ ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพและช่วยพัฒนาบุคคล ชุมชน หรือสังคม ทั้งนี้บทความเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนภาษาภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการสูญหาย อันมีผลต่อการสูญเสียความรู้ท้องถิ่นซึ่งผูกติดกับภาษา รวมทั้งศึกษาและพัฒนาชุมชนวิกฤตอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เรียกว่า “วิจัยเพื่อท้องถิ่น” ซึ่งชุมชนเจ้าของเป็นเจ้าของโครงการและเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยมีนักวิชาการทางภาษาเป็นผู้สนับสนุนเสริมวิชาการทางด้านภาษาร่วมกับนักวิชาการด้านอื่นๆ อันเป็นการฟื้ นความมั่นใจในตนเองและความเป็นชาติพันธุ์ของตน พร้อมกับการฟื้ นฟูการใช้ภาษาท้องถิ่น บทความนี้กล่าวถึงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานตามรูปแบบของ “มหิดลโมเดล” ซึ่งมีลำดับและขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วยการวิจัยขั้นพื้นฐาน การพัฒนาระบบเขียนการสร้างวรรณกรรมท้องถิ่น การสอนภาษาท้องถิ่นในโรงเรียนหรือการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา/พหุภาษาศึกษา การจัดทำ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ท้องถิ่นด้านต่างๆ การดูแลติดตามและประเมินผล การสร้างเครือข่ายการทำงานและการผลักดันนโยบายภาษาแห่งชาติที่สนับสนุนการรักษาความหลากหลายทางภาษาPublication Open Access ภาษาศาสตร์ภาคสนาม(2528) สุวิไล เปรมศรีรัตน์; Suwilai Premsrirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท