Browsing by Author "เอกกมล สินหนัง"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล กองทัพบก ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต(2550) ภัทริดา เอกบรรณสิงห์; ธราดล เก่งการพานิช; มณฑา เก่งการพานิช; เอกกมล สินหนัง; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์; กรมกำลังพลทหารบกการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 จนถึงปัจจุบัน ตาม “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต” แสดงให้เห็นว่ากองทัพบกให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของ กำลังพล การส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นมิติหนึ่งของคุณภาพชีวิตที่ต้องได้รับการพัฒนาด้วย การวิจัย เชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่สัมพันธ์ และกำหนดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล กองทัพบก โดยครอบคลุมพฤติกรรมสุขภาพ 5 ด้าน คือ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการป้องกันอุบัติเหตุจราจร ศึกษาในกำลังพลตัวอย่าง 1,043 นาย และผู้บังคับหน่วยทหาร 9 หน่วย ด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ.2549 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคว์สแควร์ สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุแบบขั้นตอน การศึกษา พบว่า กำลังพลมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระดับดีมาก ร้อยละ 38.7 และควรปรับปรุง ร้อยละ 22.7 พฤติกรรมในมิติย่อยที่เด่นของกำลังพล คือการออกกำลังกายอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 90.3 ส่วนการรับประทานอาหาร การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการป้องกันอุบัติเหตุจราจร ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่พฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่อยู่ในระดับควรปรับปรุง ร้อยละ 41.2 แม้ว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกำลังพลในภาพรวมจะอยู่ในระดับดีมากและปานกลาง อย่างไรก็ตาม พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของกำลังพลบางด้านจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข กล่าวคือ กำลังพลรับประทานอาหารวันละ 1-2 มื้อ ร้อยละ 33.2 ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังทุกวันและบ่อยมาก ร้อยละ 53.0 ดื่ม ชา กาแฟ ทุกวันและบ่อยมาก ร้อยละ 28.4 ปัจจุบันกำลังพลสูบบุหรี่ ร้อยละ 41.2 ดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 61.2 สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง ร้อยละ 76.1 คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ร้อยละ 46.7 เคยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 1 ชั่วโมง ก่อนขับขี่ยานพาหนะ ร้อยละ 39.3 เคยรับประทานยา กระตุ้นระบบประสาทก่อนการขับขี่ยานพาหนะ ร้อยละ 29.0 และไม่ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ร้อยละ 46.9 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกำลังพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 คือ อายุ ระดับการศึกษา และทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความ สามารถตนและการรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างสมการทำนายพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล พบว่า ตัวแปรจำนวน 4 ตัว เรียงลำดับตามความสามารถทำนายจาก มากไปน้อย ดังต่อไปนี้ การรับรู้ความสามารถตนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ระดับการศึกษา เพศและสถานภาพในกองทัพบก สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ ร้อยละ 13.7 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล หน่วยทหารของกองทัพบกที่เกี่ยวข้องควรสร้าง ความตระหนักและส่งเสริมให้กำลังพลรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ส่งเสริมให้กำลังพลเลิกสูบบุหรี่ และเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสร้างความตระหนักในการ ป้องกันอุบัติเหตุจราจร ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระยะต่อไป ต้องจัดกิจกรรมที่เน้นคุณธรรมและจริยธรรมของกำลังพลและครอบครัว และกิจกรรมเศรษฐกิจ พอเพียง การวิจัยในครั้งต่อไปควรเพิ่มเติมปัจจัยให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถทำนาย พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกำลังพลได้มากขึ้น และดำเนินการวิจัยประเมินผลเพื่อประเมิน การดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกองทัพบก ในทุกมิติ เพื่อให้ทราบถึงความ สำเร็จของการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคอันจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงการต่อไป