Publication: พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล กองทัพบก ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
Issued Date
2550
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 30, ฉบับที่ 105 (ม.ค.- เม.ย. 2550), 75-105
Suggested Citation
ภัทริดา เอกบรรณสิงห์, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช, เอกกมล สินหนัง พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล กองทัพบก ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 30, ฉบับที่ 105 (ม.ค.- เม.ย. 2550), 75-105. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64564
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล กองทัพบก ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
Alternative Title(s)
Health–Promoting Behavior Among the Royal Thai Army Under Quality of Life Development Project
Other Contributor(s)
Abstract
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 จนถึงปัจจุบัน ตาม
“โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต” แสดงให้เห็นว่ากองทัพบกให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของ
กำลังพล การส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นมิติหนึ่งของคุณภาพชีวิตที่ต้องได้รับการพัฒนาด้วย การวิจัย
เชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่สัมพันธ์
และกำหนดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล กองทัพบก โดยครอบคลุมพฤติกรรมสุขภาพ 5
ด้าน คือ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
และการป้องกันอุบัติเหตุจราจร ศึกษาในกำลังพลตัวอย่าง 1,043 นาย และผู้บังคับหน่วยทหาร 9 หน่วย
ด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ.2549 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคว์สแควร์ สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์
ถดถอยพหุแบบขั้นตอน
การศึกษา พบว่า กำลังพลมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระดับดีมาก ร้อยละ 38.7 และควรปรับปรุง
ร้อยละ 22.7 พฤติกรรมในมิติย่อยที่เด่นของกำลังพล คือการออกกำลังกายอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ
90.3 ส่วนการรับประทานอาหาร การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการป้องกันอุบัติเหตุจราจร
ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่พฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่อยู่ในระดับควรปรับปรุง
ร้อยละ 41.2 แม้ว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกำลังพลในภาพรวมจะอยู่ในระดับดีมากและปานกลาง
อย่างไรก็ตาม พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของกำลังพลบางด้านจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข กล่าวคือ
กำลังพลรับประทานอาหารวันละ 1-2 มื้อ ร้อยละ 33.2 ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังทุกวันและบ่อยมาก ร้อยละ
53.0 ดื่ม ชา กาแฟ ทุกวันและบ่อยมาก ร้อยละ 28.4 ปัจจุบันกำลังพลสูบบุหรี่ ร้อยละ 41.2 ดื่มเครื่องดื่ม
ที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 61.2 สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง ร้อยละ 76.1 คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ร้อยละ
46.7 เคยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 1 ชั่วโมง ก่อนขับขี่ยานพาหนะ ร้อยละ 39.3 เคยรับประทานยา
กระตุ้นระบบประสาทก่อนการขับขี่ยานพาหนะ ร้อยละ 29.0 และไม่ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ร้อยละ 46.9 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกำลังพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05 คือ อายุ ระดับการศึกษา และทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความ
สามารถตนและการรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างสมการทำนายพฤติกรรม
ส่งเสริมสุขภาพของกำลังพล พบว่า ตัวแปรจำนวน 4 ตัว เรียงลำดับตามความสามารถทำนายจาก
มากไปน้อย ดังต่อไปนี้ การรับรู้ความสามารถตนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ระดับการศึกษา
เพศและสถานภาพในกองทัพบก สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ ร้อยละ 13.7
เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล หน่วยทหารของกองทัพบกที่เกี่ยวข้องควรสร้าง
ความตระหนักและส่งเสริมให้กำลังพลรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง
ส่งเสริมให้กำลังพลเลิกสูบบุหรี่ และเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสร้างความตระหนักในการ
ป้องกันอุบัติเหตุจราจร ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตระยะต่อไป
ต้องจัดกิจกรรมที่เน้นคุณธรรมและจริยธรรมของกำลังพลและครอบครัว และกิจกรรมเศรษฐกิจ
พอเพียง การวิจัยในครั้งต่อไปควรเพิ่มเติมปัจจัยให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถทำนาย
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกำลังพลได้มากขึ้น และดำเนินการวิจัยประเมินผลเพื่อประเมิน
การดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกองทัพบก ในทุกมิติ เพื่อให้ทราบถึงความ
สำเร็จของการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคอันจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงการต่อไป
The continuous quality of life development for the Royal Thai Army under the quality of life development project has parceled from 1999 up to the present, it shows that the Royal Thai Army has recognized the importance of quality of life of army officers. Health promotion is one aspect of quality of life that has been developed. This cross-section survey research aimed to study health-promoting behavior, and factors affecting and determining healthpromoting behavior in the Royal Thai Army. The health-promoting behaviors studied were dietary, physical exercise, smoking, alcohol drinking, and traffic accident prevention behaviors. The study group comprised 1,043 Thai Army personnel and 9 army administrative officers. The data were collected by questionnaire during October and December, 2006. The data were analyzed by computing frequency, percentage, arithmetic means, standard deviation, Chi-square, Pearson’s Product Moment coefficient Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The continuous quality of life development for the Royal Thai Army under the quality of life development project has parceled from 1999 up to the present, it shows that the Royal Thai Army has recognized the importance of quality of life of army officers. Health promotion is one aspect of quality of life that has been developed. This cross-section survey research aimed to study health-promoting behavior, and factors affecting and determining healthpromoting behavior in the Royal Thai Army. The health-promoting behaviors studied were dietary, physical exercise, smoking, alcohol drinking, and traffic accident prevention behaviors. The study group comprised 1,043 Thai Army personnel and 9 army administrative officers. The data were collected by questionnaire during October and December, 2006. The data were analyzed by computing frequency, percentage, arithmetic means, standard deviation, Chi-square, Pearson’s Product Moment coefficient Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis.