Browse
Recent Submissions
Now showing 1 - 10 of 554
- Publicationรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่สู่การปฏิบัติจังหวัดนนทบุรี ปี 2559(2564) แคทรียา การาม; อังสนา บุญธรรม; สุภาภรณ์ สงค์ประชา; ลือชัย ศรีเงินยวง; Kathareeya Karam; Angsana Boonthum; Supaporn Songpracha; Luechai Sri-Ngernvuang; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยแวดล้อมทางนโยบายและกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และศึกษารูปแบบการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติจังหวัดนนทบุรี โดยหมายถึง กลไก และกระบวนการพัฒนาผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติ โดยมีระยะเวลาทำการศึกษาวิจัย 12 เดือน ระหว่างเดือน มกราคม 2562 – ธันวาคม 2562 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักในการกำหนดความสำเร็จของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม คือ กระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่ประกอบไปด้วย การจัดกลไก การทบทวนวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกำหนดประเด็นในการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย การตัดสินใจเชิงนโยบาย (การจัดประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัด) การผลักดันขับเคลื่อนมติสู่การปฏิบัติ การประเมินผลนโยบาย และการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะกระบวนการขั้นการจัดกลไก การกำหนดประเด็น และการผลักดันขับเคลื่อนมติสู่การปฏิบัติ ในส่วนของปัจจัยแวดล้อมทางนโยบายเป็นปัจจัยเสริมที่เอื้อและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมไปสู่การปฏิบัติ รูปแบบการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติ จังหวัดนนทบุรี คือ รูปแบบสมดุลประยุกต์ คือกลไกมีความสมดุลภาคส่วน กระบวนการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติมีการประยุกต์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
- Publicationการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์(2565) จรัญ โดยเจริญ; ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ; วิริณธิ์ กิตติพิชัย; Charan Doicharoen; Chardsumon Prutipinyo; Wirin Kittipichai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัวการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดระดับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรการแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงโดยวิธีแอลฟาของครอนบาค ในส่วนที่ 2 และ 3ได้เท่ากับ .805 และ .957 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 94.2) มีอายุระหว่าง 22-30 ปี (ร้อยละ 57.7) เป็นพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 86.2) การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 96.20) มีชั่วโมงการทำงาน 41-50 ชั่วโมง/ต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 36.20) และมีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอยู่ระหว่าง 3-5 ปี (ร้อยละ 35.8) การวิเคราะห์การจัดการความเสี่ยงทางคลินิก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( =3.57, S.D.=0.63) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การกระทำที่ไม่ปลอดภัย การควบคุมกำกับติดตามการกระทำที่ไม่ปลอดภัย และอิทธิพลจากองค์กร มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (r= -0.906, r=0.682 และ r = 0.430 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.05) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้บุคลากรค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกจากการปฏิบัติงาน และการศึกษา เรียนรู้ อุบัติการณ์ความเสี่ยงจากหน่วยงานอื่น เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรง ความถี่ และการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ผู้บริหารมีส่วนสำคัญต่อระบบบริหารจัดการความเสี่ยงทางคลินิก โดยกำหนดผู้มีบทบาทหน้าที่คอยควบคุมกำกับ ติดตาม และกำหนดมาตรการป้องกันการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของบุคลากรการแพทย์
- Publicationการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุของอดีตผู้ต้องขังหญิง: มุมมองของครัวเรือนผู้สูงอายุและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(2565) วิริณธิ์ กิตติพิชัย; ณัฐนารี เอมยงค์; อนงค์นาฏ ผ่านสถิน; Wirin Kittipichai; Natnaree Aimyong; Anongnat Pansathin; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์; มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คณะสาธารณสุขศาสตร์การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครัวเรือนผู้สูงอายุที่มีต่อการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุของอดีตผู้ต้องขังหญิง รวบรวมข้อมูลโดยการการสัมภาษณ์ผ่านผู้บริหารขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวน 27 แห่ง และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือนผู้สูงอายุจำนวน 540 ตัวอย่าง ใน 5 พื้นที่ที่มีทัณฑสถานหญิงตั้งอยู่ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา สงขลา และกรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการสรุปสาระสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 17 ตัวอย่าง และตัวแทนครัวเรือนผู้สูงอายุร้อยละ 74 แสด.งความคิดเห็นสอดคล้องกันในการส่งเสริมอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้แก่อดีตผู้ต้องขังหญิง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาอดีตผู้ต้องขังหญิงทำงานการดูแลผู้สูงอายุคือ มีใบรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ มีประสบการณ์การทำงาน และประวัติคดีที่ถูกต้องโทษในเรือนจำ ในขณะที่ตัวแทนครัวเรือนผู้สูงอายุเห็นว่าอดีตผู้ต้องขังหญิงต้องไม่มีการกระทำผิดในคดีร้ายแรงหรือเป็นคดีที่ผลต่อชีวิตของบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้บริการในสถานดูแลผู้สูงอายุหรือการจ้างมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จึงมีข้อเสนอแนะให้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One-Stop Service) เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมอาชีพการดูแลผู้สูงอายุให้แก่อดีตผู้ต้องขังหญิง โดยดำเนินการคัดกรองคุณสมบัติของอดีตผู้ต้องขังหญิง ประสานจัดการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ รวบรวมบัญชีผู้ผ่านการอบรม ประชาสัมพันธ์ และประสานกับหน่วยงานที่ต้องการจ้างงาน เพื่อให้อดีตผู้ต้องขังหญิงได้รับการจ้างงาน มีอาชีพ มีรายได้ต่อการครองชีพที่ยั่งยืนต่อไป
- Publicationความรอบรู้ทางสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทํางานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมยางแท่งแห่งหนึ่งในประเทศไทย(2565) ณัฐรัฐ ไมมะหาด; อัมรินทร์ คงทวีเลิศ; เด่นศักดิ์ ยกยอน; สุธรรม นันทมงคลชัย; Nattarat Maimahad; Amarin Kongtawelert; Densak Yogyorn; Sutham Nanthamongkolchai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัวประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก สัดส่วนปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางแท่ง เทียบกับสินค้ายางพาราทั้งหมดในปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 46.43 และมีแนวโน้มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น การส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัย จึงมีความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของคนทำงาน การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านอาชีวอนามัย และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานฝ่ายปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมยางแท่งแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 270 คน เก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลอธิบายตัวแปรโดยสถิติพรรณนา, หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test, สถิติทดสอบความแปรปรวน (One–way ANOVA) และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Correlation) ผลการวิจัยพบว่าพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.56 อายุเฉลี่ย 39.0 ปี (+ 8.7 ปี) โดยรวมมีความรอบรู้ทางสุขภาพด้านอาชีวอนามัยอยู่ในระดับพอใช้ ( = 156.11) ระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับดี ( = 4.14) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านประสบการณ์การทำงาน, ตำแหน่งงาน, กลุ่มสถานที่ทำงาน และการทำงานล่วงเวลา มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) และพบว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านอาชีวอนามัยทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์เชิงบวก (r = 0.488) กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ดังนั้นจึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านอาชีวอนามัย เพื่อให้พนักงานมีทักษะในการเข้าถึง เข้าใจ ซักถาม ประเมิน ตัดสินใจ ปรับใช้ และบอกต่อ ในการดูแลสุขภาพทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้ง แนวทางในการปรับปรุงระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น โดยเพิ่มเติมโปรแกรมส่งเสริมทางสุขภาพด้านอาชีวอนามัย และปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การให้คำปรึกษาและอบรมพนักงานโดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของพนักงาน การส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของคนทำงานทุกคน เป็นต้น
- Publicationอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ(2565) วามริน คีรีวัฒน์; อัมรินทร์ คงทวีเลิศ; จุฑาธิป ศีลบุตร; เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์; Wamarin Keereewat; Amarin Kongtawelert; Jutatip Sillabutra; Petcharatana Bhuanantanondh; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบําบัดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็นโรคจากการทำงานที่พบมากในพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยสาเหตุของการเกิดอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดจากสาเหตุทางการยศาสตร์เป็นหลัก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 75 คน ทั้งพนักงานฝ่ายผลิตและพนักงานฝ่ายสำนักงาน ที่เข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด บริเวณคลินิกที่อยู่ภายในโรงงาน โดยใช้แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือคำถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะการทำงาน และอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่พนักงานฝ่ายผลิตมีลักษณะการทำงานคือเป็นงานที่หลังอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติและยกของหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม มีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างมากที่สุดบริเวณหลังส่วนล่าง (65.4%) และพนักงานฝ่ายสำนักงาน ลักษณะการทำงานที่โดยใช้คอมพิวเตอร์มีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างมากที่สุดคือบริเวณคอ (51.4%) มีระดับความเจ็บปวดอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ็บปวดกับการออกกำลังกาย พบว่าระดับความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย และ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ็บปวดกับดัชนีมวลกาย พบว่าระดับความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย สรุปได้ว่า การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่าปัจจัยเสี่ยงทั้งทางด้านการยศาสตร์ และปัจจัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกันทำให้เกิดโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน ดังนั้นควรจะมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องลักษณะการทำงาน จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร เพื่อนำไปสู่การทำงานที่ปลอดภัยท่าทางการทำงานที่ดีขึ้นเพื่อเพิ่มสถานะด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่ดีของพนักงาน
- Publicationการพัฒนางานบริการบำบัดระยะสั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ หน่วยบำบัดระยะสั้นโรคข้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี(2556) ณิชาภา เดชาปภาพิทักษ์; สมชาติ โตรักษา; สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์; Nizchapha Dchapaphapeaktak; Somchart Torugsa; Suwanna Ruangkanchanaseart; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์การวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัด ก่อน-หลัง การทดลองนี้ เพื่อพัฒนางานบริการบำบัดระยะสั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการดำเนิินงานบริการบำบัดระยะสั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบที่พัฒนาขึ้น นำไปทดลองที่หน่วยโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่าง 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ใช้เวลา 1 ปี กลุ่มตัวอย่าง คือ "งาน" การให้บริการบำบัดระยะสั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ตั้งแต่ผู้รับบริการมาถึง จนกระทั่งกลับออกไป ในช่วง 1 เดือน ก่อนการทดลอง และในช่วง 1 เดือน หลังการทดลอง รวมทั้งสิ้น 66 ครั้ง ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร 2 คน ผู้ปฏิบัติงาน 6 คน และผู้รับบริการ 66 คน เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่างก่อน กับ หลัง การทดลอง ในด้านปริมาณงาน คุณภาพงาน ระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ในการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง และต้นทุนต่อหน่วยในการให้บริการ ด้วยค่าสถิติพรรณนา ค่าสถิติ-ที, Mann Whitney U และ Wilcoxon Match-Paired Signed-Ranks ที่ระดับแอลฟ่า 0.05 พบว่า หลังการทดลอง อัตราความถูกต้องและความครบถ้วนของการปฏิบัติตามมาตรฐานกิจกรรมการให้บริการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเพิ่มขึ้น (P < 0.05) ผลการดำเนินงานทั้ง 5 ด้านดีขึ้น (P < 0.05) รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนทั้งด้านหลักการ โครงสร้าง และวิธีการนำรูปแบบไปใช้ โดยใช้เพียงทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ ด้วยกระบวนการพัฒนาที่ไม่ยุ่งยาก สามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนางานทั้งหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่างของการทำงานประจำให้เป็นผลงานวิจัย เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานทุกระดัับในการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น
- Publicationความเป็นธรรมของการให้บริการกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครนายก(2557) มิ่งขวัญ เทียนธนานุรักษ์; สุคนธา คงศีล; สมชาติ โตรักษา; Mingkhwan Tientananuruk; Sukhontha Kongsin; Somchart Torugsa; โรงพยาบาลสายไหม. แผนกกายภาพบำบัด; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุขการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความเป็นธรรมของการให้บริการทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครนายก จำนวน 137 ราย โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ดูแล ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีสมมติฐานว่าผู้ที่มีความเจ็บป่วยระดับเดียวกัน จะได้รับการรักษาที่เท่ากัน จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์พบว่า การให้บริการกายภาพบำบัดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในจังหวัดนครนายก ไม่มีความเป็นธรรมในแนวราบทั้ง 3 มิติ (มิติด้านชนิดของการให้บริการ มิติด้านเวลา และมิติของความถี่ในการรักษาทางกายภาพบำบัด) โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างระดับความเจ็บป่วย (ระดับความสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว) กับ 1) จำนวนของชนิดการรักษาทางกายภาพบำบัด (P = 0.001) และ 2) ระยะเวลาและความถี่ในการรักษาทางกายภาพบำบัด (P = 0.045) แสดงถึง ผู้ป่วยที่มีระดับความเจ็บป่วยระดับเดียวกัน จะได้รับจำนวนของชนิดการรักษาและระยะเวลาการรักษาในหนึ่งสัปดาห์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จากผลการวิจัย ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารคือ การนำผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติงาน หรือพิจารณาจัดโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีระดับความเจ็บป่วย (สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว) โดยนักกายภาพบำบัดที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวมาก ควรได้รับการฝึกกายบริหารเคลื่อนไหวข้อ ฝึกการเคลื่อนย้ายตัวเองบนเตียง โดยใช้เวลาการรักษาครั้งละ 30 - 45 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นอย่างน้อย และสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวน้อย ควรเน้นการฝึกการทรงตัวในท่านั่ง ยืน เดิน หรือขึ้นลงบันได โดยใช้เวลาการรักษาครั้งละ 45 – 90 นาที จำนวน 4 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย เป็นต้น
- Publicationความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนทั่วไป ใน Generation Y ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี(2561) ผกาทิพย์ สัจจามั่น; จารุวรรณ ธาดาเดช; วิริณธิ์ กิตติพิชัย; สุวรรณี แสงมหาชัย; Pakathip Satjaman; Charuwan Tadadej; Wirin Kittipichai; Suwannee Sangmahachai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว; มหาวิทยาลัยรามคำแหง. คณะรัฐศาสตร์. ภาควิชาการบริหารรัฐกิจบทนำ: บุคลากรสายสนับสนุนทั่วไปในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การ เพื่อพัฒนาสู่สถาบันทางการแพทย์ชั้นนำในระดับสากล วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนทั่วไปในกลุ่ม Generation Y คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการศึกษา: การสำรวจแบบภาคตัดขวางในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสายสนับสนุนทั่วไปในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 258 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ t test และ Pearson product moment correlation ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 86.4 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.1 อยู่ในกลุ่ม Generation Y (อายุ 25 - 39 ปี) ร้อยละ 46.5 สถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 65.2 ปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 84.9 ได้รับเงินเดือน 10,001 - 30,000 บาท และร้อยละ 79.8 เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ คือ ความรู้สึกว่าองค์การพึ่งพิงได้ ความท้าทายของงาน โอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ขนาดขององค์การ และการกระจายอำนาจ สรุป: ปัจจัยที่ส่งผลต่อบุคลากรสายสนับสนุนทั่วไปในกลุ่ม Generation Y คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คือ ปัจจัยด้านลักษณะงาน ลักษณะองค์การ และประสบการณ์ในการทำงาน ผู้บริหารควรมุ่งเน้นการบริหารจัดการในประชากรกลุ่มนี้ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของบุคลากรสายสนับสนุนทั่วไป คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และนำปัจจัยดังกล่าวมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อสร้างความผูกพันให้กับกลุ่ม Generation Y ทำให้บุคลากรกลุ่มนี้เกิดความผูกพันและอยู่กับองค์การเพื่อสานวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกันต่อไป
- PublicationPre-exposure prophylaxis uptake for HIV infection prevention among young men who have sex with men and transgender women in Bangkok, Thailand(2021) Naruemon Auemaneekul; Sirirat Lertpruek; Pratana Satitvipawee; Nik AA Tuah; Mahidol University. Faculty of Public Health. Department of Public Health Nursing; New York. MetroPlus Health Plan; Universiti Brunei Darussalam, Bandar Seri Begawan, Brunei Darussalam. PAPRSB Institute of Health SciencesPurpose – The purpose of this study aimed to assess factors associated with the intention to take pre-exposure prophylaxis (PrEP) among Thai young men who have sex with men (YMSM) and transgender women (TGW) in Bangkok. Design/methodology/approach – The study surveyed 350 sexually active Thai YMSM and TGW aged between 18 and 24 years registeredwith a nongovernmental organization (NGO)workingwith theMSMcommunity. Data were collected using snowball sampling from four venues. Participants completed a self-administered questionnaire. Logistic regression was used to evaluate factors associated with the intention to take PrEP daily. Findings – The results showed that of all those surveyed, n5310 (88%) participated. The median age was 21 years. In all, 18% of participants had heard about PrEP, and 36% correctly identified that PrEP is used for prevention. After receiving information, 31% intended to take daily PrEP and the Voluntary Counseling and Testing (VCT) rate was 35.5%. Factors significantly associated with intention to take daily PrEP were history of HIV testing (adjusted odds ratio (AOR), 2.3, 95% CI, 1.3–4.1), and high perceived behavioral control of PrEP adherence scores (AOR 3.0, 95% CI, 1.8–5.2). Originality/value – This study showed that intention to take and knowledge of daily PrEP among YMSM and TGW was low. Promoting health education to YMSM and TGW about PrEP and MSM-friendly VCT services are needed to effectively implement PrEP in HIV prevention programs.
- Publicationการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคกลุ่่มบุคลากรสาธารณสุข(2564) ขวัญเมือง แก้วดำเกิง; นิรันตา ไชยพาน; สุจิตรา บุญกล้า; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์; กรมควบคุมโรค. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรคกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข ใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสาน (mixed methods research) การ วิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง พัฒนาโปรแกรมฯ ได้แก่ (1) ศึกษาทบทวนโปรแกรมสร้างเสริมฯ (2) สร้าง กรอบแนวคิด และ (3) ออกแบบกระบวนการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานสถาบันการศึกษา และ สมาคมวิชาชีพ คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบแสดงความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สอง ประเมินโปรแกรมฯ ได้แก่ (1) ประเมินความสอดคล้อง และ (2) ทดสอบการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) บุคลากรสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และคู่มือการจัดโปรแกรมฯ (2) วิทยากรกระบวนการ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย 6 กิจกรรม พบว่า มีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ มีค่า IOC เท่ากับ 0.81 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสาธารณสุขที่ตอบกลับร้อยละ 75.3 จำนวน 41 คน ปฏิบัติงานในสำนักงานป้องกันควบคุม โรค (สคร.) ร้อยละ 61 และสำนัก/กอง ของกรมควบคุมโรค ร้อยละ 39 อายุงานเฉลี่ย12 ปี ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างประเมินความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ รูปแบบการจัดกิจกรรม กลวิธีที่ใช้ สื่อและอุปกรณ์ ระยะเวลา ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม และวิธีประเมินผลในรายกิจกรรม พบว่า มีความสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ โดยปรับปรุงโปรแกรมตามข้อเสนอแนะของวิทยากรกระบวนการ สำหรับการวิจัยในระยะต่อไปสามารถพัฒนาต่อ ยอดในการวิจัยกลวิธีและผลของการเพิ่มทักษะรอบด้านและเฉพาะด้าน