MT-Proceeding Document

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 9 of 9
  • ItemOpen Access
    ผลกระทบของการเตรียมพลาสม่าโดยการปั่นเหวี่ยงแบบเร่งด่วนต่อผลตรวจวิเคราะห์การแข็งตัวของเลือด
    (มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์, 2024-05-30) ทัศนียา ชัยสถิตย์; ชุติกาญจน์ ศุภรัตน์ภิญโญ; ศยามล จรรยาไพศาล
    การอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มสมองเป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มสมองชั้นดูราทั้งแบบจำกัดเฉพาะที่หรือแบบกระจาย ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ ส่วนที่ทราบสาเหตุเกิดได้จาก autoimmune disease ได้แก่ IgG4 related disease การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ติดเชื้อวัณโรค หรือเกิดจากเนื้องอกได้แก่ เนื้องอกเยื่อหุ้มสมองเองหรือจากการกระจายจากอวัยวะอื่นมาที่เยื่อหุ้มสมอง และภาวะอื่น ๆ อาการและอาการแสดงสัมพันธ์กับตำแหน่งกายวิภาคและความรุนแรงของระบบประสาทที่ถูกกดเบียด ที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะ อัมพาตของเส้นประสาทสมอง เช่น ใบหน้าอ่อนแรง การมองเห็นภาพผิดปกติ เป็นต้น ผู้ป่วยต้องได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็ว และ ให้การรักษาที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและทุพพลภาพ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาสารควบคุมคุณภาพภายในทที่ผลิตขึ้นเองสำหรับการวิเคราะห์ระดับทองแดงในซีรัม
    (2564) ฐิตาพร ตุ๊ทราย; เจริญพร จุลชู; มยุรี ชนะสกุลนิยม; ประสงค์ แคน้้ำ; ธันยมัย อินทร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    ห้องปฏิบัติการพิษวิทยา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาประสิทธิภาพของสารควบคุมคุณภาพภายในที่ผลิตขึ้นเองสำหรับ วิเคราะห์ระดับทองแดงในซีรัม โดยอ้างอิงมาตรฐาน ISO GUIDE 80 :2014 Guidance for the in-house preparation of quality control materials โดยข้อมูลจากการประเมินค่าความเข้มข้นพบว่าสารควบคุมคุณภาพภายในทั้ง 2 ระดับความเข้มข้นที่ผลิตขึ้นมีค่าเท่ากับ 73 และ 143 μg/dL ซึ่งครอบคลุม ช่วงค่าอ้างอิง ส่วนผลการศึกษาความเป็นเนื้อเดียวกันด้วยการคำนวณทาง สถิติ (F test) พบว่าค่า F มีค่าน้อยกว่า Fcritical และค่า p-value > 0.05 และผลการศึกษาความคงตัวตลอดระยะเวลา 6 เดือนด้วยการคำนวณทาง สถิติ (Regression) พบว่ามีค่าความชันของสมการเชิงเส้นอยู่ในช่วงความ เชื่อมั่น 95% และค่า p-value > 0.05 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผล การประเมินประสิทธิภาพผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน ISO Guide 80: 2014 และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการควบคุมคุณภาพภายในของ ห้องปฏิบัติการฯ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพภายใน และช่วยลดต้นทุนในการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการได้
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ทวนสอบ MT_PLOs ออนไลน์ ฝ่าความท้าทายวิกฤต COVID-19
    (2564) อาภรณ์ ครองกิจการ; วิจิตร วงค์ล่ำซำ; พัชนี ชูทอง; ศันสนีย์ มาน้อย; Wijit Wonglumsom; Patchanee Chootong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    ในปีการศึกษา 2563 MT4_63 เป็นรุ่นแรกที่จะสำเร็จการศึกษาตาม หลักสูตรที่ปรับเป็น OBE และใช้เกณฑ์ AUN_QA เป็นแนวทางดำเนินการ หลักสูตรจึงกำหนดให้มีกระบวนการทวนสอบสมรรถนะตาม MT_PLOs ผ่าน กิจกรรม 2 รูปแบบ ได้แก ่ Comprehensive Test เพื่อตรวจสอบ PLOsเชิง ความรู้และทักษะทางวิชการ/วิชาชีพ และ Activity-Based Assessment ใน ชุมชน เพื่อตรวจสอบ PLOs ที่เน้น soft skills แต่เนื่องจากวิกฤตการแพร่ ระบาดของ COVID-19 ทำให้ไม่สามารถจัดการทวนสอบตามแนวทางที่ กำหนดไว้ จึงมีการทบทวนและออกแบบกระบวนการใหม่ขึ้นเป็น “ทวนสอบ MT_PLOs ออนไลน์” ซึ่งมุ่งเน้นทวนสอบเฉพาะ PLOs หรือ Sub PLOs ที่มี ความเสี่ยงว่า MT4_63 อาจจะมีสมรรถนะไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ หลักสูตรคาดหวัง ได้แก ่ Sub PLO1.4, PLO2, PLO4, PLO9 และ PLO10 โดยดำเนินการ 3 รูปแบบ คือ Oral Presentation, Q&A (Role Play), Sharing และใช้ rubrics ร่วมกับแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลจากการ ประเมินดังกล่าว พบว่า MT4_63 มีสมรรถนะตาม MT_PLOs ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ ร้อยละ 100 และผู้รับบริการ (Role Play) มีความพึงพอใจมากต่อ การให้บริการความรู้/คำแนะนำของ MT4_63 (mean > 4.0, ร้อยละที่พึง พอใจมาก-มากที่สุด อยู่ในช่วง 90-100 เกือบทุกประเด็น)
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    MTRT Curriculum Design: Change to OBE
    (2561) อาภรณ์ ครองกิจการ; เลิศยศ ตรีรัตนไพบูลย์; วิวัฒน์ โอวศิริกุล; วรนุช เอี่ยมปา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    คณะเทคนิคการแพทย์ นำแนวทางของ EdPEx และ AUN-QA มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี ฉบับปี พ.ศ.2560 ให้มีลักษณะเป็น OBE จึงมีการปรับปรุงกระบวนการออกแบบ/พัฒนาหลักสูตร โดยมีการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับ OBC และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ มีส่วนร่วมในการกำหนด PLOs ของหลักสูตร กอปรกับมีการนำสถานการณ์ต่างๆ เช่น สภาวการณ์การแข่งขัน ทิศทางการพัฒนาหลักสูตรของสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ มาใช้เป็นปัจจัยประกอบการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร ผลจากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้สามารถ กำหนด PLOs และสร้างความเชื่อมโยงจาก PLOs ของหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาเทคนิคการแพทย์ และรังสีเทคนิคสู่รายวิชาได้ชัดเจนขึ้น เป็นผลให้ได้รับอนุมัติการปรับปรุงหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยได้ทันกาล (วงรอบ 5 ปี) ร้อยละ 100 และได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพ เป็นระยะเวลา 5 ปี ตามเป้าหมาย
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบหนังสือเวียน ภาควิชาด้วยระบบ 3E-Doc: Eco-Easy-Electronic Document
    (2561) อัครวัฒน์ อ่อนสดทวีชัย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    การวิเคราะห์ระบบการจัดการหนังสือเวียนภาควิชาพบว่าก่อให้เกิดการสิ้นเปลือง กระดาษ และเวลาในการดำเนินการเฉลี่ยปีละ 302,990 บาท ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้ออกแบบระ บบ 3E- Doc: Eco-Easy-Electronic Document โดยจัดเก็บเอกสารจาก MUSIS ใน google drive เชื่อมต่อเอกสารกับ Google Sheets นำเสนอหัวหน้าภาควิชาเพื่อสั่งการในระบบ จากนั้นธุรการภาคฯ จะบริหารจัดการคำสั่งเพื่อส่งต่อเอกสารไปยังบุคลากรแต่ละคนโดยใช้ตัวกรอง และจัดทำ Google Sheets ใหม่เพื่อจัดส่ง link ให้บุคลากรแต่ละคนผ่าน Application Line หรือ E-mail ทำให้บุคลากรสามารถเข้าถึงเอกสารได้รวดเร็ว หลากหลายช่องทาง และลงชื่อรับทราบเอกสารได้ทันทีในระบบ ธุรการภาควิชาสามารถติดตามการดำเนินการได้รวดเร็ว จากการวิเคราะห์พบว่าระบบ 3E-Doc ทำให้ลดปริมาณกระดาษได้ 3.5 เท่า ลดเวลาในการดำเนินการได้ร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิมและหากนำระบบนี้ไปใช้ในทุกหน่วยงานของคณะเทคนิคการแพทย์ จะทำให้ลดต้นทุนในการบริหารจัดการได้ปีละ 146,590 บาท ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่าร้อยละ 70 ของบุคลากรในภาควิชามีความพึงพอใจในระดับสูงสุด
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    สัมฤทธิผลของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่ ร่วมโครงการฝึกงานทางวิชาชีพ ณ ต่างประเทศ
    (2561) ธัญญานันท์ วราภิพงศ์; อาภรณ์ ครองกิจการ; สุขสม สภานุชาต; เกวลิน นุ่นทอง; นภัสกร พิศาลายน; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    การศึกษาสัมฤทธิผลของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ที่ร่วมโครงการฝึกงานทางวิชาชีพ ณ ต่างประเทศ เป็นการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกงานและความพึงพอใจต่อแหล่งฝึกงานในต่างประเทศปัญหาและอุปสรรคตลอดระยะเวลาการฝึกงานในต่างประเทศ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่เคยเดินทางไปฝึกปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ในปีการศึกษา 2557 – 2560 ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมในมิติของมาตรฐานวิชาชีพนักศึกษาสามารถพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพได้ตรงตามวิชาชีพมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงยังสามารถพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ด้วย โดยค่าเฉลี่ยสัมฤทธิผลสูงกว่าเป้าหมายทุกปีในทุกมิติ (ช่วงระดับ 4 จาก 5) รวมถึงนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจต่อแหล่งฝึกงาน ณ ต่างประเทศในภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (ช่วงระดับ 4 จาก 5)
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การประเมินผลการเรียนการสอน โดยใช้ Google Application
    (2561) พัชรี อินทะขันธ์; พรรษชล สมิติวัณฑิกุล; Patcharee Intakhun; Patshachon Samitiwantikul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    รายงานผลการดำเนินการรายวิชา (มคอ.5) เป็นการแสดงผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนอย่างครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งต้องให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการสอน ผลการประเมินรายวิชา รวมทั้งความคิดเห็นของผู้ใช้เพื่อปรับปรุงรายวิชา ในการทำ มคอ. 5 พบว่ามีปัญหาในการเก็บข้อมูลการประเมินผล ความร่วมมือของนักศึกษามีจำนวนน้อยข้อมูลที่ได้รับไม่ครบถ้วน และการประมวลผลมีความล่าช้า รวมถึงความคลาดเคลื่อนจากการแปลผลที่ใช้วิธีการนับคะแนนแบบ Manual ทำให้ไม่สามารถส่ง มคอ.5 ได้ตามกำหนด ภาควิชาจึงได้พัฒนาการประเมินผลการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยได้นำ Google Application มาใช้ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น นักศึกษาสามารถเข้าถึงและให้ข้อมูลการประเมินผลการสอนได้ง่าย โดยผลจากการปรับปรุงพบว่า Google Application ทำให้นักศึกษาเข้าถึงแบบประเมินได้สะดวก สามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วนมากขึ้น สามารถประมวลผลการจัดการเรียนการสอนได้รวดเร็วถึง 1 ใน 3 ของระยะเวลาเดิมส่งผลให้สามารถส่ง มคอ.5 ได้ทันเวลา ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษลง และไม่เสียค่าใช้จ่ายการทำสำเนาเอกสารประเมินผล
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    เกมเพื่อเรียนรู้การป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับอุปกรณ์แอนดรอยด์
    (2561) ยุทธพล วิเชียรอินทร์; ขวัญชัย งามดอกไม้; ฐิติพร กังวานสุระ; Yudthaphon Vichianin; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    เพื่อช่วยนักศึกษารังสีเทคนิคทบทวนหลักการเรื่องการป้องกันอันตรายจากรังสีและสร้างเกมสำหรับอุปกรณ์แอนดรอยด์ อุปกรณ์ : คอมพิวเตอร์, สมาร์ตโฟน, โปรแกรม Unity3D, โปรแกรม Photoshop, แอปพลิเคชัน ibis Paint X, โปรแกรม Android Studio, นักศึกษารังสีเทคนิคปีที่ 4 จำนวน 64 คน วิธีการ : 1) วางโครงเรื่อง 2) ออกแบบฉากภายในเกม 3) โปรแกรม Unity3D 4) ทดสอบการทำงาน 5) ประเมินความรู้และความพึงพอใจในการใช้งาน ผล: เกมที่สร้างขึ้นสามารถใช้งานได้จริง โดยได้ผลการทำแบบทดสอบประเมินความรู้เปรียบเทียบก่อนการเล่น( 1= 8.56, SD = 2.27) และหลังการเล่น ( 2= 11.34, SD =1.66) พบว่าคะแนนสอบมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ p=0.000 ผลการสำรวจความพึงพอใจเรื่อง สีพื้นหลัง, ขนาดและรูปแบบตัวอักษร, องค์ประกอบโดยรวม,ความน่าสนใจ, ความสะดวกในการใช้งาน มีความพึงพอใจทุกรายการดีมาก สรุป: เกมสื่อการเรียนรู้สามารถใช้งานได้จริงบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นและมีความพอใจในการใช้งานเกมในระดับดีมาก
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Model ข้อสอบพยากรณ์อนาคต
    (2561) เกวลิน นุ่นทอง; อาภรณ์ ครองกิจการ; ระพีพร ใหญ่เจริญ; พรรณพัชร กองชัย; Kewalin Nunthong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์
    ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ สาขาเทคนิคการแพทย์ เป็นตัวชี้วัดสำคัญของการผลิตบัณฑิต ในรอบปีการศึกษา 2554-2558 ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ มีแนวโน้มไม่ชัดเจนและบางช่วงมีผลลัพธ์ต่ำกว่าเป้าหมาย (ร้อยละ 90) ทางคณะเทคนิคการแพทย์ ได้มีการพัฒนากระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบใบประกอบวิชาชีพ โดยจัดให้มีการสอบ Pre-Test, Post-Test และ Competency Test ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 และหาความสัมพันธ์จากผลสอบดังกล่าวกับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพโดยใช้หลักสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ปีการศึกษา 2558 คะแนนสอบ Pre-Test และ Post-Test ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ แต่ปีการศึกษา 2559-2560 คะแนนสอบ Pre-Test, Post-Test และ Competency Test มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพในระดับต่ำ-ปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ซึ่งจะนำสู่การทดสอบโดยวิธีการถดถอยพหุคูณ เพื่อหาตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ นำไปสู่ Model ที่ใช้ในการพยากรณ์ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาในอนาคต เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่บรรลุเป้าหมายขององค์กร