OP-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3316

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 70
  • PublicationOpen Access
    การศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดีต่อค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อวางแผนการพัฒนาและปลูกฝังค่านิยมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
    (2556) เกศินี ชาวนา
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ๑) ศึกษาระดับการรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่มีต่อค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดลของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี ๒) ศึกษาพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดลของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี และ ๓) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรม กับกิจกรรมในโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี ยกเว้น ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก วิทยาเขตนครสวรรค์ วิทยาเขตกาญจนบุรี และวิทยาเขตอำนาจเจริญ จำนวน ๕๑๕ คน ที่ผ่านกิจกรรมในโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way AnalysisofVariance) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’sProduct Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรในสำนักงานอธิการบดีที่ผ่านกิจกรรมในโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ มีการรับรู้ค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับปานกลาง มีความเข้าใจค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับปานกลาง มีทัศนคติที่มีต่อค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับสูง และมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร ด้านเพศ อายุ และอายุงาน ไม่มีผลต่อการรับรู้ค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล ความเข้าใจค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล และทัศนคติที่มีต่อค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนอายุงานนั้นมีผลต่อการรับรู้ค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้าใจค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล และทัศนคติที่มีต่อค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
  • PublicationOpen Access
    การพัฒนารูปแบบและระบบการให้คะแนน Popular vote ของโปสเตอร์กลุ่มผลงานนวัตกรรมและงานประจำสู่งานวิจัยในมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
    (2565) ปิยะณัฐ พรมสาร; Piyanat Promsarn
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดกิจกรรมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และดำเนินการตามยุทธศาสตร์เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพันธกิจต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2557 โดยได้เปิดรับผลงานพัฒนาคุณภาพเพื่อพิจารณารางวัลและนำเสนอในวันมหกรรมใน 4 ประเภท ซึ่งในโปสเตอร์กลุ่มผลงานนวัตกรรมและงานประจำสู่งานวิจัยได้มีการตัดสินผลงานในประเภท Popular Vote โดยใช้การให้คะแนนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมและก่อนปี 2561 ได้ให้คะแนนโดยบัตรให้คะแนน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากร พลังงาน มีความผิดพลาด และมีอัตราการได้ผลคะแนนกลับมาต่ำกว่าร้อยละ 30 ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบการให้คะแนนดังกล่าวโดยใช้ระบบ Online (Google Drive & Quick Response Code) ในปี 2561 และ 2562 มีอัตราการได้ผลคะแนนกลับมาเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 26.47 ในปี 2560 เป็น ร้อยละ 67.39 ในปี 2561 และร้อยละ 75.50 ในปี 2562 อีกทั้งลดการใช้ทรัพยากรและบุคลากร แสดงผลข้อมูลที่เป็นเวลาจริง (Real-time) ระยะเวลาการเปิดรับผลคะแนนเพิ่มขึ้น 2 ชั่วโมง เป็นมิตร (User friendly) แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และยังเป็นวิธีการที่ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพิ่มขึ้นด้วย
  • PublicationOpen Access
    A Synthesis of Clinical Research From Mahidol University 2019-2023
    (2025) Chaninart Suriyalungga
    Background: Strategic research funding is a potential avenue for financial support. Consequently, the synthesis of previous clinical research projects was conducted to explore the possibility of receiving funds. Objective: To synthesize the clinical research projects of Mahidol University. Methods: Research data synthesis was performed on clinical research projects in the database of the Research Management and Development Division, Mahidol University, covering the fiscal year 2019-2023. This synthesis was based on the strategic research funding of Thailand for the years 2023-2027 and the announcement of funding from the Program Management Unit (PMU) for the fiscal year 2023-2024. The results are reported by type classification, quantity, and percentage. Results: Clinical trial research conducted by Mahidol University during fiscal years 2019-2023, which met the criteria of the program for strategic research funding and qualified for the PMU’s announcement of research funding in the fiscal year 2023-2024, were as follows: 1) vaccine development and production, F1 (S1P1), 43 projects (81.13%); 2) development and production of advanced therapy medicinal products, F2 (S1P1), 15 projects (23.44%); 3) genomics and precision medicine, N1 (S1P1), 17 projects (94.44%); 4) development and production of medicines and herbal extracts, N2 (S1P1), 430 projects (97.28%); and 5) national epidemics and emerging diseases, N15 (S2P10), 11 projects (40.74%). Conclusions: Clinical trial research according to the program of strategic research funding and eligible for PMU was arranged in descending order as follows: N2 (S1P1), N1 (S1P1), F1 (S1P1), N15 (S2P10), and F2 (S1P1).
  • PublicationOpen Access
    ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเหตุแห่งความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539
    (2565) ธนาชัย มาโนช; อวยชัย อิสรวิริยะสกุล; Thanachai Manoch; Auaychai Issaraviriyasakul
    เมื่อเกิดความเสียหายกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมีเหตุอันควรเชื่อว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อดำเนินการสอบสวนให้ได้ความว่า ความเสียหายเช่นว่านั้น เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้ใด และการกระทำนั้นเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งทางปกครองให้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน หากเจ้าหน้าที่ไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐชอบที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองดำเนินการยึด อายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่นำมาชำระหนี้ให้กับหน่วยงานของรัฐ แต่หากพบว่าเป็นเพียงการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประเด็นสำคัญที่จะพิจารณาถึงความรับผิดของเจ้าหน้าที่คือ กรณีใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุแห่งความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 ซึ่งถือเป็นประเด็นปัญหาในการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ จากการศึกษาพบว่า เมื่อนำคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมาวิเคราะห์แล้ว การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) จะมีพฤติการณ์และลักษณะ คือ เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่ได้คำนึงสิ่งที่ควรทำในหน้าที่ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งไม่กระทำหรือละเลยที่จะกระทำตามขั้นตอนที่กำหนด และไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเพียงพอ เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ หากได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น ก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการจะพิจารณาว่าพฤติการณ์ใดจะถือว่าเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) อย่างใดจะเป็นเพียงประมาทเลินเล่อ (negligence) ผู้พิจารณาทางปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ควรที่จะศึกษา ค้นคว้า คำพิพากษาศาลปกครอง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หรือแม้แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม นำมาประกอบการใช้เป็นดุลพินิจในการพิจารณา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ
  • PublicationOpen Access
    การบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบในภาวะวิกฤตโควิด-19
    (2564) รัชชุดา ชัยสุทธานนท์; ดวงจันทร์ ภูผาลา; Ratchuda Chaisutthanon; Duangchan Phupala
    การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้องค์กรต่าง ๆ ปรับตัว ด้วยการให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การติดต่อประสานงาน จากใช้เอกสารกระดาษเป็นไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนมากขึ้น การส่งและแชร์ข้อมูลถึงกันทำได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการทำงานผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต แต่เนื่องจากทำงานคนละสถานที่ จึงควรบริหารจัดการไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือไฟล์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ การจัดเก็บข้อมูลควรจัดเก็บที่แหล่งเดียวกัน การตั้งชื่อไฟล์ต้องสื่อความหมายชัดเจน และเกี่ยวข้องกับเนื้อความในไฟล์ ไม่ควรทำสำเนาไฟล์ข้อมูล เพื่อช่วยลดความผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน ลดความสับสนและเพื่อสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน นำไปใช้ในการวิเคราะห์ได้แม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจขององค์กร พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกสภาวการณ์อีกด้วย
  • PublicationOpen Access
    การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) พิชามญชุ์ กาหลง; รุ่งนภา จีนโสภา; Pichamon Kalong; Rungnapa Jeensopa
    บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์วิธีการแก้ไขปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จากคำตอบในแบบสอบถามปลายเปิดที่ได้รับจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักวิชาการพัสดุ จำนวน 121 คน จาก 66 ส่วนงาน ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างงานด้านพัสดุของมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เป็นปัญหามากที่สุด คือ วิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e- bidding รองลงมาคือวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ e-Market วิธีเฉพาะเจาะจง และวิธีการคัดเลือก ตามลำดับ โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่กล่าวมาทุกประเภทล้วนพบประเด็นปัญหาสำคัญอยู่ในขั้นตอนของการจัดทำร่างขอบเขตของงาน ซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • PublicationOpen Access
    แบบฟอร์มสัญญาการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) ชนินาถ สุริยะลังกา; Chaninart Suriyalungga
    มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการให้บริการวิจัยทางคลินิกแก่แหล่งทุนภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยกองบริหารงานวิจัยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน การดำเนินการทำวิจัยทางคลินิกจะต้องจัดทำสัญญาการจ้างวิจัย เพื่อเป็นการผูกพันกันทั้งสองฝ่ายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในสัญญา และมีผลบังคับในทางกฎหมาย ดังนั้น สัญญาการจ้างวิจัยจึงต้องมีเนื้อหาที่คลอบคลุม ในการจัดหายาหรืออุปกรณ์ สิทธิในผลงานตีพิมพ์ ทรัพย์สินทางปัญญา การประกันภัยอาสาสมัคร จริยธรรมการวิจัยในคน รวมทั้งการระงับข้อพิพาท เป็นต้น จากการให้บริการวิจัยทางคลินิก พบว่าบางแหล่งทุนไม่มีสัญญาการจ้างวิจัยทางคลินิก ดังนั้น กองบริหารงานวิจัยจึงจัดทำแบบฟอร์มสัญญาการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับใช้เป็นสัญญาการจ้างวิจัยทางคลินิก ในกรณีที่แหล่งทุนไม่มีสัญญาจ้างวิจัย โดยแบบฟอร์มสัญญาฯ ประกอบด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมครบถ้วน อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เนื้อหาในแบบฟอร์มสัญญาฯ จะใช้การเขียนตามสัญญาทางกฎหมายและเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสามารถใช้เป็นสัญญาที่ผูกพันคลอบคลุมทางกฎหมายได้และใช้ภาษากลางที่เข้าใจได้ง่ายกับทุกแหล่งทุน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้จะนำแบบฟอร์มสัญญาฯ ไปใช้เข้าใจได้ยาก โดยบทความนี้จะสรุปเนื้อหาในแต่ละข้อของแบบฟอร์มสัญญาการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล (Clinical Trial Agreement Form, Mahidol University) เพื่อให้ผู้นำไปใช้เข้าใจได้ง่ายและตรงตามวัตถุประสงค์ในแบบฟอร์มสัญญาฯ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) อุษามา แสงเสริม; อรทิพย์ กีรติวุฒิพงศ์; วัชราภรณ์ รัตนจารุ; ตรีศิรินทร์ เฉลิมกิติ; นิรมล รัตนสงเคราะห์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคล
    จากวิกฤติการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังต้องเชื่อมโยงความรู้ทั้งที่อยู่ในตำราเรียนและความรู้ที่ต้องอาศัยประสบการณ์และทักษะในการใช้ชีวิต ดังนั้น การศึกษายุคนี้จึงจำเป็นต้องนำเสนอทั้งโอกาสและทางเลือกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดตามความสนใจของตนเอง โดยที่ยังคงต้องรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานและรับรองคุณภาพการศึกษาอย่างมีระบบเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาและยกระดับการศึกษาของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT ANALYSIS) จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการประเมินศักยภาพของหลักสูตรเพื่อตอบสนองต่อบริบททางสังคมและสภาวะแวดล้อม ความต้องการทางวิชาการและวิชาชีพ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรใหม่ของคณะศิลปะศาสตร์ มีนักศึกษาที่กำลังศึกษาทั้งสิ้น ๒ รุ่น จำนวน ๑๐ คน ได้ให้ความเห็นว่าหลักสูตรฯ มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนและยังเสนอแนวทางการพัฒนา ทั้งในด้านอาจารย์ ด้านเนื้อหา ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการบริหารจัดการ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการวิจัยทางคลินิก
    (2563) ชนินาถ สุริยะลังกา; พัชรีย์ จิตตพิทักษ์ชัย; Chaninart Suriyalungga; Patcharee Chittaphithakchai; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองบริหารงานวิจัย; กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม
    กองบริหารงานวิจัย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการประสานงานและบริหารจัดการโครงการวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนโครงการในแต่ละปีงบประมาณมีจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณขึ้น โดยการจัดการข้อมูลการวิจัยทางคลินิกเดิมใช้โปรแกรมระบบตารางคำนวณ (Microsoft Excel) ซึ่งพบปัญหา ดังเช่น การบันทึก สืบค้นและติดตามผล ซ้ำซ้อนและล่าช้า เป็นต้น ดังนั้น ผู้จัดทำจึงต้องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลการวิจัยทางคลินิก เพื่อให้การดำเนินงานด้านข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Microsoft Access) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารฯ ขอบเขตข้อมูลเป็นการดำเนินงานการวิจัยในทุกขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก การขึ้นทะเบียนโครงการ การเบิกจ่าย การรายงานความก้าวหน้า และการปิดโครงการ โดยทดสอบการบันทึกข้อมูลและการสืบค้นข้อมูลระหว่างโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และโปรแกรมระบบตารางคำนวณ พบว่า โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เวลารวมในการการบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 43.71 และการสืบค้นข้อมูลมากกว่าร้อยละ 86.29 โดยในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานการวิจัยเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ ดังนี้ ขั้นตอนการตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก (การบันทึกข้อมูล) และ การขึ้นทะเบียนโครงการ (การบันทึกข้อมูลและการรสืบค้นข้อมูล) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ ดังนี้ การตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก (การสืบค้นข้อมูล 42.86), การเบิกจ่าย (การบันทึกข้อมูล 55.33, การสืบค้นข้อมูล 99.52), การรายงานความก้าวหน้า (การบันทึกข้อมูล 88.22, การสืบค้นข้อมูล 93.81) และการปิดโครงการ (การบันทึกข้อมูล 65.2, การสืบค้นข้อมูล 88.57) ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลวิจัยคลินิกโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลการวิจัยทางคลินิก ที่รวดเร็ว ถูกต้อง อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรมีการพัฒนาต่อในด้านการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง ความจุของโปรแกรมในการเก็บและการวางแผนการสำรองข้อมูล (Back up) เพื่อให้ได้ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) อุษามา แสงเสริม; อรทิพย์ กีรติวุฒิพงศ์; วัชราภรณ์ รัตนจารุ; ตรีศิรินทร์ เฉลิมกิติ; นิรมล รัตนสงเคราะห์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคล
    จากวิกฤติการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังต้องเชื่อมโยงความรู้ทั้งที่อยู่ในตำราเรียนและความรู้ที่ต้องอาศัยประสบการณ์และทักษะในการใช้ชีวิต ดังนั้น การศึกษายุคนี้จึงจำเป็นต้องนำเสนอทั้งโอกาสและทางเลือกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดตามความสนใจของตนเอง โดยที่ยังคงต้องรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานและรับรองคุณภาพการศึกษาอย่างมีระบบเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาและยกระดับการศึกษาของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT ANALYSIS) จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการประเมินศักยภาพของหลักสูตรเพื่อตอบสนองต่อบริบททางสังคมและสภาวะแวดล้อม ความต้องการทางวิชาการและวิชาชีพ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรใหม่ของคณะศิลปะศาสตร์ มีนักศึกษาที่กำลังศึกษาทั้งสิ้น ๒ รุ่น จำนวน ๑๐ คน ได้ให้ความเห็นว่าหลักสูตรฯมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนและยังเสนอแนวทางการพัฒนา ทั้งในด้านอาจารย์ ด้านเนื้อหา ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการบริหารจัดการ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัญหาวันที่มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงจากการใช้อำนาจทางปกครอง
    (2563) วัชรพงศ์ พิพิธพรรณพงศ์; อาริยารักษ์ จันทะเขต; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
    การปกครองดูแลบุคลากรของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้อำนาจทางปกครอง มีเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สำคัญคือ วินัย หากบุคลากรผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ยึดถือปฏิบัติตามแล้ว จะต้องถูกลงโทษอันเป็นผลร้ายแก่ตัวบุคลากรผู้นั้นเอง ซึ่งการลงโทษจะต้องทำเป็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยคำสั่งลงโทษมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม คำสั่งลงโทษทางวินัยจะต้องมีผลทางกฎหมายที่เป็นธรรมและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำสั่งลงโทษที่เป็นการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง หากมีความไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อกฎหมายก็อาจถูกยกเลิกเพิกถอนในภายหลังได้ จากการศึกษาพบว่า วันที่มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงควรที่จะต้องเป็นวันที่บุคลากรผู้ถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้รับทราบคำสั่งลงโทษนั้น ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และวันที่ประสงค์ที่จะให้มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงก็จะต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายปกครอง
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ความยินยอมในการทํานิติกรรมกับการก่อหนี้ร่วมระหว่างสามีและภริยา
    (2563) สุธาสินี สัณหรัติ; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การคืนค่าธรรมเนียมการศึกษา
    (2563) กุลวดี ปุณทริกโกทก; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การสั่งย้ายการปฏิบัติงานอย่างไรให้อยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
    (2563) เวียงพร ไกรเกียรติสกุล เภาทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ใบเสนอราคาจ้างใช้บังคับต่อคู่สัญญาได้เพียงใด ?
    (2563) อาริยารักษ์ จันทะเขต; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่ออกมาใช้บังคับในปี พ.ศ.2563 เดือนมกราคม 2563 ถึง เดือนมิถุนายน 2563
    (2563) พัศนาภรณ์ แก้วสัมฤทธิ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การให้สัญลักษณ์ F นักศึกษาที่ทุจริตในการสอบ
    (2563) สุนิสา ปริพฤติพงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    กำหนดระยะเวลาตามบทเฉพาะกาล
    (2563) พัศนาภรณ์ แก้วสัมฤทธิ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตามวาระของผู้ที่แต่งตั้ง
    (2563) พัชร์ ทาสีลา; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การออกคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน
    (2563) สุนิสา ปริพฤติพงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย