CR-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
- Publicationการดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนเรื่องทิศหกในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ(2560) สมบูรณ์ วัฒนะ; Somboon Watana; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยศาสนศึกษางานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมการดูแลบิดามารดาสูงอายุ ตามหลักคำสอนเรื่องทิศหก ในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ รูปแบบ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาคือ ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ที่มีอายุ 18-59 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเลือก เขตพื้นที่ศึกษา 5 เขต เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้นับถือพระพุทธศาสนา จำนวน 632 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า การดูแลบิดามารดาตามแนวคำสอนเรื่องทิศหก (มารดาบิดาเปรียบดังทิศเบื้องหน้า) ในพระพุทธศาสนายังได้รับความนิยมสูง เพราะจากการสำ รวจ ความคิดเห็นจาก กลุ่มตัวอย่างจำ นวน 632 ตัวอย่าง ได้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 98.9 ที่ยอมรับว่า ได้ปฏิบัติตนในการดูแลบิดามารดาสูงอายุสอดคล้องกับคำสอนเรื่อง ทิศหก เฉพาะทิศเบื้องหน้า คือ บิดามารดา
- Publicationผลสัมฤทธิ์การเรียนรายวิชาการฝึกสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา(2558) สมบูรณ์ วัฒนะ; Somboon Watana; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยศาสนศึกษางานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรายวิชาปฏิบัติสมาธิตาม แนวพระพุทธศาสนา ก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ และ 2) ศึกษาข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนรายวิชา ภาคปฏิบัติ : การฝึกสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา ในภาคการศึกษาที่ 2/2556 จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบสมมติฐานด้วย Paired Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรายวิชาปฏิบัติสมาธิตามแนว พระพุทธศาสนา ก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าผลสัมฤทธิ์ของการเรียนหลังการเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วม โครงการ (t = 12.718) 2) การศึกษาข้อคิดเห็นและเสนอแนะ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แสดง ความเห็นชื่นชมต่อโครงการ ว่าเป็นโครงการที่พัฒนาจิตใจให้มีสติ ทำให้จิตใจสงบ จิตใจมีสมาธิมากขึ้น เกิดความสงบสุขภายในจิตใจมากขึ้นกว่าเดิม และกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความเห็นเพื่อการพัฒนาต่อ โครงการ ว่า ควรปรับระยะเวลาการนั่งสมาธิและเดินจงกรมในช่วง 2-3 วันแรกให้มีจำนวนลดลง และ ปรับเพิ่มเวลาให้มากขึ้นในวันต่อไป เพื่อผู้เข้าร่วมโครงการจะได้มีเวลาปรับตัว และควรเพิ่มช่วงเวลา สนทนาสอบถามอารมณ์จากประสบการณ์การฝึกสมาธิ