GR-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
Now showing 1 - 4 of 4
- Publicationต้นทุนการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนไตในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กรณีศึกษาโรงพยาบาลรามาธิบดี ปีงบประมาณ 2552(2555) ปิยนุช สุขสำราญ; สุคนธา คงศีล; สุขุม เจียมตน; วิชช์ เกษมทรัพย์; Piyanut Suksamran; Sukhontha Kongsin; Sukhum Jiamton; Vijj Kasemsup; มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนไตในผู้ป่วยวายระยะสุดท้ายภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กรณีศึกษาโรงพยาบาลรามาธิบดี ปีงบประมาณ 2552 ในมุมมองของผู้ให้บริการเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนในมุมมองผู้ให้บริการแบบย้อนหลังของปีงบประมาณ 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม MS Excel ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนรวมการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนไตในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย จำนวน 14 คน เพศชาย 12 คน เพศหญิง 2 คน มีต้นทุนรวมทั้งสิ้น 5,436,576.64 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนที่ไม่ได้เก็บค่าบริการทางการแพทย์ (Routine Service Cost: RSC) 1,598,062.90 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.39 ต้นทุนการให้บริการทางการแพทย์ (Medical Care Cost: MCC) 3,665,310.95 คิดเป็นร้อยละ 67.42 และต้นทุนค่าลงทุน (Capital Cost: CC) 173,202.79 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.19 ในส่วนของอัตราส่วนของต้นทุนพบว่า ต้นทุนที่ไม่ได้เก็บค่าบริการทางการแพทย์: ต้นทุนการให้บริการทางการแพทย์: ต้นทุนค่าลงทุน คือ 9.23: 21.16: 1 และเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของต้นทุนการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนไต ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ต่อค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บในการให้บริการรักษาผู้ป่วย (Cost change ratio) พบว่าโรงพยาบาลมีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงถึงร้อยละ 71.4 จากการศึกษานี้ทางผู้บริหารควรนำข้อมูลไปใช้ เพื่อเสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาระค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลต้องแบกรับ และเสนอให้มีการปรับการจ่ายเงินค่าผ่าตัดเปลี่ยนไตให้หน่วยบริการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเป็นแนวทางในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนต่างที่ทางโรงพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบอยู่
- Publicationความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ระดับปริญญาโท กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2560) นฤดล คงทน; Narudol Kongton; มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย. งานวิเทศสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนระดับปริญญาโท กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังปละความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน (3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาโท ชั้นปีที่ 2 กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 181 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาพรวมผลการวิเคราะห์ระดับความคาดหวังของนักศึกษามีค่าฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.30) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หมวดวิชาทฤษฎีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.34) รองลงมาคือ หมวดวิชาประยุกต์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.28) และหมวดวิจัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.30) ภาพรวมผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หมวดวิชาทฤษฎี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.02) รองลงมาคือ หมวดวิจชาวิจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (3.98) และหมวดวิชาประยุกต์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3.97) (2) ภาพรวมผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หมวดวิชาทฤษฎีมีความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน (t=4.49) หมวดวิชาประยุกต์ มีความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน (t=4.39) และหมวดวิชาวิจัยมีความคาดหวังและความพึงพอใจแตกต่างกัน (t=4.71) และ (3) รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหมวดวิชาทฤษฎี ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ และรูปแบบการสอนแบบซักค้าน รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหมวดวิชาประยุกต์ ได้แก่รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง และรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหมวดวิชาวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง และรูปแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์
- Publicationการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล(2560) วรัญชัย พนานุรักษา; วิไล ศรีปัญญาวุฒิคุณ; Varanchai Pananuraksa; Wilai Sripunyawuttikun; มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย. งานระบบสารสนเทศและการจัดการฐานข้อมูลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์เสมือนและนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 2) วิเคราะห์ข้อมูลการใช้ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำหลักของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระบบงานเดิม 3) วิเคราะห์ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของระบบงานเดิมและระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระบบงานเดิมและระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่อง Web Server เครื่อง Application Server และ เครื่อง File Server ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) Microsoft SQL Server 2014 2) Microsoft Visual Studio 2010 3) ชุดคำสั่ง WMI และ 4) ซอฟต์แวร์ Hyper-V ซึ่งงานวิจัยนี้จะพัฒนาโปรแกรมเก็บข้อมูลการใช้งานฮาร์ดดิสก์ และหน่วยความจำหลักของระบบเดิมเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานเป็นค่าเฉลี่ยและร้อยละ รวมถึงการวิเคราะห์ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ลดลงได้กว่าระบบงานเดิมโดยคิดเป็นร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำหลักของเซิร์ฟเวอร์กลุ่มตัวอย่างมีการใช้งานน้อยมากในแต่ละวัน โดยขนาดฮาร์ดดิสก์ 60 GB มีค่าเฉลี่ยการใช้งานต่อวันเท่ากับ 29.64 MB คิดเป็นร้อยละ 0.048 ของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด หน่วยความจำหลักขนาด 2 GB มีค่าเฉลี่ยการใช้งานต่อวันเท่ากับ 0.31410 GB คิดเป็นร้อยละ 15.705 ของหน่วยความจำหลักทั้งหมด 2) ถ้าระบบมีอายุการใช้งาน 3 ปี จะทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เสมือนลดลงได้ประมาณ 1.28 จากระบบงานเดิม 3) จากข้อมูลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพพบว่าระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนจะประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความยืดหยุ่นกว่าระบบงานเดิม
- Publicationความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล(2560) วีรชาติ พนาวิวัฒน์; ลลิตา อดุลย์กิตติไพศาล; เจษฎาภรณ์ วิริยะสกุลธรณ์; สุภาพร จตุรภัทร; มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการและความคาดหวัง ของนักศึกษาไทยและต่างชาติที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) เปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังระหว่างนักศึกษาไทยและ นักศึกษาต่างชาติที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,309 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และความถี่ (Frequency) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษา ไทยและต่างชาติที่มีต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวม อยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการเรียนการสอน อยู่ในระดับ มากที่สุดทุกข้อ ด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษา อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกราย ข้อพบว่า นักศึกษาไทย มีความต้องการและความคาดหวังในระดับมากที่สุด ได้แก่ มีสวัสดิการรักษาพยาบาล มีทุนสนับสนุนการศึกษา และมีประเภททุน ตรงตามความต้องการของนักศึกษา ส่วนนักศึกษาต่างชาติมีความต้องการและ ความคาดหวัง มากที่สุด เรื่อง ระบบการดูแลการต่ออายุวีซ่าในระหว่างที่ศึกษา ด้านการให้บริการ และ ด้านการพัฒนานักศึกษา พบว่า นักศึกษาไทยมีความ ต้องการและความคาดหวัง ในระดับมากที่สุด แตกต่างจากนักศึกษาต่างชาติ ที่มีความต้องการและความคาดหวังในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความต้องการ และความคาดหวังระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีต่อบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ด้านการเรียนการสอน นักศึกษาที่มีสัญชาติ แตกต่างกัน มีความต้องการและความคาดหวังด้านการเรียนการสอนไม่ แตกต่างกัน ด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษา นักศึกษาที่มีสัญชาติแตกต่างกัน มีความต้องการและความคาดหวังด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษาไม่แตกต่างกัน ด้านการให้บริการ นักศึกษาที่มีสัญชาติแตกต่างกันมีความต้องการและ ความคาดหวังด้านการให้บริการไม่แตกต่างกัน และด้านการพัฒนานักศึกษา นักศึกษาที่มีสัญชาติแตกต่างกันมีความต้องการและความคาดหวังด้านการ พัฒนานักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05