IPSR-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/142

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 150
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษาความรู้ความเข้าใจและความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของนักวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) ดวงวิไล ไทยแท้; Duangwilai Thaitae; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
    ในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้น นักวิจัยต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยเป็นสำคัญ ซึ่งการอบรมจริยธรรมการวิจัยนับเป็นกระบวนการหนึ่งในการส่งเสริมเรื่องดังกล่าว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจที่ผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับจากการอบรม รวมถึงการศึกษาระดับความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรม ประชากรในการศึกษา คือ ผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 154 คน จากการอบรมทั้งหมด 3 ครั้ง โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติความถี่ ร้อยละ ความทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่สัมพันธ์กัน (paired t-test), การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน (independent t-test), การทดสอบ ANOVA และสหสัมพันธ์ ผลการทดสอบ Paired t-test พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นตามสถานภาพการทำงานด้วยการทดสอบ One-way ANOVA พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มนักวิจัยหน้าใหม่ ได้แก่ นักศึกษา นักวิจัยผู้ช่วย และเจ้าหน้าที่ มีค่าคะแนนความรู้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่กลุ่มอาจารย์ และ นักวิจัย ซึ่ง ชี้ให้เห็นว่า การอบรมฯ ช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมให้มากขึ้น ดังนั้นการจัดอบรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการให้ความรู้ความเข้าใจประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยเฉพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งนี้การศึกษานี้สะท้อนรูปแบบของหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรในระดับพื้นฐานที่เหมาะกับนักวิจัยรุ่นใหม่ และสะท้อนแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในอนาคต โดยควรมีการจัดอบรมเนื้อหาเชิงลึก (intensive) เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับกลุ่มนักวิจัยที่มีประสบการณ์สูงร่วมด้วย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่น
    (2558) พจนา หันจางสิทธิ์; กาญจนา เทียนลาย; Pojjana Hunchangsith; Kanchana Thianlai; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
    โรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย วัยรุ่น ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่น ที่ได้รับการสอนหลักสูตรเพศศึกษารอบด้านจำนวน 16 คาบขึ้นไปต่อปีการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีการดำเนินการจัดการสอนเพศศึกษารอบด้าน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือตอนปลาย จำนวน 954 คน สำรวจใน 5 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร อุดรธานี เพชรบุรี นครสวรรค์ และพัทลุง สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มชนิด 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สุ่มโรงเรียนในแต่ละจังหวัด และขั้นตอนที่ 2 สุ่มห้องเรียนจากโรงเรียนที่สุ่มได้ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2557 ผลการสำรวจพบว่า นักเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี มีความรู้ที่ถูกต้องตามตัวชี้วัดของ Global AIDS Response Progress Reporting ในระดับต่ำมาก ถึงแม้ว่าจะมีทัศนคติต่อถุงยางอนามัยในเชิงบวก แต่ไม่ได้ช่วยให้นักเรียนใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย เฉลี่ย 14.5 ปี และมีจำนวนคู่นอนเฉลี่ย 1.8 คน และเมื่อทำการทดสอบไคสแควร์ พบว่า การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) กับการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่น โดยมีโอกาสมากกว่าถึง 8.4 เท่า (OR = 8.4; 95% CI: 1.9-37.7) ที่จะใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับวัยรุ่นที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.005) ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า หลักสูตรเพศศึกษารอบด้าน ควรได้รับการพิจารณาขยายให้ครบทุกโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเน้นเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การสอนและสาธิตการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นได้
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
    (2556) อนุสรณ์ อุดปล้อง; เกรียงศักดิ์ โรจน์คุรีเสถียร; ภาณี วงษ์เอก; Anusorn Udplong; Kreingsak Rojkureesateian; Panee Vong-Ek; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
    การศึกษาเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2555โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมาและหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของชมรมจำนวน 19 คน ร่วมกับการสังเกตุอย่างไม่มีส่วนร่วมระหว่างการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมา ประกอบด้วยปัจจัยภายในชมรม ได้แก่ คุณลักษณะของประธานชมรม การเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม และความสามัคคีของสมาชิกชมรม ส่วนปัจจัยภายนอกชมรมได้แก่ งบประมาณและบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ดังนั้น ชมรมจึงควรมีการเตรียมแผนสำหรับการสรรหาคณะทำงานผู้ที่มีความพร้อมในการเข้ามาบริหารงานต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะตำแหน่งประธานชมรม รวมทั้งกระตุ้นให้สมาชิกชมรมเข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการจัดกิจกรรม ตลอดจนหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านงบประมาณและบุคลากร เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุเป็นไปอย่างราบรื่น
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    สถานการณ์การตีตราทางสังคมของผู้ใช้ยาเสพติด: กรณีศึกษาผู้รับการบำบัดสารเสพติดในโครงการบริการเมทาโดนฐานชุมชนแห่งหนึ่ง
    (2560) ดลชัย ฮะวังจู; อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์; ดุสิตา พึ่งสำราญ; Donlachai Hawangchu; Apichart Chamratrithirong; Dusita Phuengsamran; มูลนิธิโอโซนประเทศไทย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
    การถูกตีตราในผู้ใช้ยาเสพติดเป็นสิ่งปิดกั้นมิให้กลับเข้าสู่สังคมได้ การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องทราบองค์ประกอบและระดับความรุนแรงเสียก่อน การศึกษานี้เพื่อแสดงองค์ประกอบและระดับความรุนแรงของการตีตราที่มีสามลักษณะ คือ 1.การเผชิญสถานการณ์จริง 2.การตีตราตนเอง 3.การถูกตีตราที่คาดว่าจะเกิด โดยมีองค์ประกอบและระดับแตกต่างกันอย่างไรไม่เป็นที่รู้ชัด จึงทำการสำรวจผู้ใช้ยาเสพติดทุกคน ณ สถานบำบัดแห่งหนึ่งในไทย 74 ราย ในปีพ.ศ. 2559 เพื่ออธิบายว่า การตีตราทั้ง 3 ลักษณะมีองค์ประกอบอะไรบ้างและในแต่ละลักษณะฯ องค์ประกอบใดมีความรุนแรงอย่างไร การวิเคราะห์ปัจจัยพบว่า การถูกตีตราจากสถานการณ์จริง คือ ถูกชุมชนเพ่งเล็ง โดยถูกผู้อื่นจ้องจับผิดหรือตรวจสอบ (ร้อยละ50.7) การตีตราตนเอง คือ ต้องการแยกตัวจากสังคมโดยไม่ต้องการพบปะผู้คน (ร้อยละ 54.1) การถูกตีตราที่คาดว่าจะเกิด โดยกลัวจะได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากคนอื่น (ร้อยละ 68.9) สรุปได้ว่า การแก้ไขปัญหาเนื่องมาจากประสบการณ์จริงได้แก่การตีตราตนเองและความกลัวการถูกตีตราทำให้ต้องแยกตัวออกจากสังคม ต้องบูรณาการด้วยการนำปัจจัยทางสังคม ชุมชน ครอบครัว และตัวผู้ใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะด้านจิตวิทยามาร่วมในการแก้ไขให้ตรงประเด็นในทุก ๆ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2560) เอื้อมเดือน แก้วสว่าง; ภคพร พุทธโกษา; Auemduen Kaewsawang; Phakaporn Phuttakosa; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาลักษณะการรับรู้และการมีเข้าร่วมกิจกรรม KAFE 4 ART ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ และมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของบุคลากรสายวิชาการและกิจกรรมการส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เน้นศึกษาเฉพาะบุคลากรสายอาจารย์ นักวิจัย และนักวิจัยโครงการของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและดำเนินการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) จากตัวอย่าง 58 คน ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ และมีการรับรู้หรือได้ยินเกี่ยวกับกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นอย่างมาก รวมทั้งมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1-4 ครั้ง และมีความพึงพอใจกับกิจกรรมนี้ระดับมาก นอกจากนี้ พบว่า สถานการณ์ทำงานมีความสัมพันธ์ต่อการเขียนผลงานทางวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ โดยกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นกิจกรรมเสริมแรงทางบวก ที่มุ่งเน้นสนับสนุนกระบวนการผลิตผลงานวิชาการ ผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้ระหว่างนักวิชาการร่วมกัน ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงรูปแบบความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในเรื่องระยะเวลาในการดำเนินงานของกิจกรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางท่านได้สะท้อนในเรื่องการบริหารจัดการเวลาที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากมีภาระงานที่หนักอยู่ และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม KAFE 4 ART ยังน้อยเกินกว่าที่จะสะท้อนภาพความสำเร็จของกิจกรรมได้ เนื่องจากการเขียนผลงานทางวิชาการต้องใช้ระยะเวลา ในการกลั่นกรองการเขียนและวิเคราะห์ รวมทั้งรอการตอบรับผลงานตีพิมพ์จากวารสารวิชาการอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    โครงการศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้บริการห้องประชุม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2558) สมปรารถนา นามขาน; สมเกียรติ เขียวแก่; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. หน่วยกายภาพและการบริการ
    การศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาใช้บริการห้องประชุม 2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการให้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) เพื่อนำผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการให้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ไปปรับปรุง และเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิในโครงการศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งข้อมูลนี้เก็บตัวอย่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่ขอใช้ห้องประชุมเพื่อจัดกิจกรรมในนามของหน่วยงาน จำนวน 10 คน และบุคคลที่ใช้ห้องประชุมเนื่องจากหน่วยงานผู้จัดกิจกรรมเชิญให้เข้าประชุม จำนวน 531 คน โดยใช้เวลาเก็บข้อมูล จำนวน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามซึ่งมีคำถามปลายเปิดร่วมด้วย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS คำนวณค่าสถิติ เป็นร้อยละ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ห้องประชุมเพื่อจัดกิจกรรม ในนามของหน่วยงาน จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ห้องประชุมเนื่องจากหน่วยงานที่จัดกิจกรรมเชิญให้เข้าร่วมประชุม จำนวน 531 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ความสัมพันธ์ของงบประมาณและการใช้จ่ายจริง: การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม องค์กรสู่การบริหารจัดการงบประมาณของสถาบันการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
    (2558) เอื้อมเดือน แก้วสว่าง; Auemduen Kaewsawang; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
    การบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินขององค์กรการศึกษาต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการ และทิศทางการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้การดำเนินการขององค์กรเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตอบรับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ บทความนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างจำนวนงบประมาณรายจ่ายที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับ และรายจ่ายจริง โดยใช้แบบจำลองสามเหลี่ยมการบริหารจัดการองค์กร (Triangular Design: A New Organizational Geometry)เป็นกรอบในการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการทางด้านงบประมาณ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า สถาบันฯมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงกว่างบประมาณที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านงบประมาณและการใช้จ่ายโดยที่ องค์กรไม่สามารถคาดเดาได้ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก (external shocks) ซึ่งต้องการการปรับตัวในระยะสั้น อย่างไรก็ตามภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในยุคปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาด้านการเงินจะคงอยู่ในระยะยาว จำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบความร่วมมือของสถาบันฯ ช่วยให้เกิดโครงสร้างการทำงานที่วางอยู่บนความร่วมมือร่วมใจ ความรับผิดชอบร่วมกัน ความเป็นเจ้าของร่วมกัน จึงเป็นโครงสร้างที่สนับสนุนให้องค์กรสามารถปรับวัฒนธรรมองค์กรไปสู่ทางออกของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Food Education for Whom?: Perceptions of Food Education and Literacy among Dietitians and Laypeople in Urban Japan
    (2017) Takeda, Wakako; Melby, Melissa K.; Ishikawa, Yuta; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    Despite the growing popularity of food education and food literacy, the diversity and complexity of ideas about food education among people from different backgrounds have not yet been examined. To explore people’s understandings about food education and examine patterns among people of different occupation, gender, age, and household structure, we conducted in-depth interviews with 120 laypeople (divided equally by gender and six decadal age groups from twenties to seventies) and sixty dietitians in two urban areas in Japan. Participants were asked to freelist responses to the question, “What do you associate with the word ‘Shokuiku’ (food education)?” Responses were analyzed by principal component analysis. Dietitians and lay females tended to associate food education with several interconnected aspects including food knowledge, habits, and food system, while lay males tended to view it as school education targeting children only. The results suggest that the current food education framework may lead some lay males in urban Japan to believe food education and food literacy are only for children and not relevant for them. To improve effectiveness of programs for diverse populations, it is necessary to reconsider the current framework which focuses excessively on children as well as food consumption.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2017-08) เอื้อมเดือน แก้วสว่าง; Auemduen Kaewsawang; ภคพร พุทธโกษา; Phakaporn Phuttakosa; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาลักษณะการรับรู้และการมีเข้าร่วมกิจกรรม KAFE 4 ART ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของบุคลากรสายวิชาการและกิจกรรมการส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคร้ังนี้เน้นศึกษาเฉพาะบุคลากรสายอาจารย์ นักวิจัย และนักวิจัยโครงการของสถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและดำเนินการทดสอบไคสแควร์ (ChiSquare Test) จากตัวอย่าง 58 คน ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ และมีการรับรู้หรือได้ยิน เกี่ยวกับกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นอย่างมาก รวมทั้งมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1-4 ครั้ง และมีความพึงพอใจกับกิจกรรมนี้ระดับมาก นอกจากนี้ พบว่า สถานะการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อการเขียนผลงาน ทางวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ โดยกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นกิจกรรมเสริมแรงทางบวก ที่มุ่งเน้นสนับสนุนกระบวนการผลิตผลงานวิชาการ ผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้ระหว่างนักวิชาการร่วมกัน ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงรูปแบบความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในเรื่องระยะเวลาในการดำเนินงานของกิจกรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางท่านได้สะท้อนในเรื่องการบริหารจัดการเวลาที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากมีภาระงานที่หนักอยู่และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม KAFE 4 ART ยังน้อยเกินกว่าที่จะสะท้อนภาพความสำเร็จของกิจกรรมได้เนื่องจากการเขียนผลงานทางวิชาการต้องใช้ระยะเวลาในการกลั่นกรองการเขียนและวิเคราะห์ รวมทั้งรอการตอบรับผลงานตีพิมพ์จากวารสารวิชาการอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Forward to the special section: in an era of transnational migration
    (2017-04) Richter, Kerry; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    This special section includes articles presented at the fourth Mahidol Migration Center Conference held in June 2016. The theme of the conference, In an Era of Transnational Migration, elicited papers on a number of themes. Broadly, these include migrant status and well-being; migrants as distinct demographic groups; and migration policy. The conference also included a number of papers covering cross-cutting issues. Three of the conference papers are presented in this section, representing a cross-section of these pertinent themes.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    The correlates and gender differences of sexual behavior of single young adults in Thailand
    (2017-10) Fuller, Theodore D.; Aphichat Chamratrithirong; Kanya Apipornchaisakul; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    Using a nationally-representative sample of single young adults from the National Sexual Behavior Study of Thailand (N=1,852), we explore individual-, family-, peer-, and community-level factors related to premarital sex. Over 50% of single young males and about 20% of single young females aged 18-24 in Thailand report having engaged in sexual activity the past 12 months. Better education andfrequent consumption of alcohol increases the likelihood of premarital sex. The incidence of sex is higheramong working men than women. Young adults perceive that parents are more tolerant withpromiscuity among their sons rather than daughters. The attitudes of fathers seem particularlyimportant. When parents are more aware of the activities of young adult children, the latter are lesslikely to be sexually promiscuous, which however also appear to be affected by urbanity. The sexualexperience of close friends is closely related to the sexual activity of the focal young adults.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Marriage in Kanchanaburi Province, Thailand: Who delays, Who does not?
    (2017-10) Jidapa Phonchua; Chai Podhisita; Aree Jampaklay; Jongjit Rittirong; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    Delayed marriage is a global phenomenon, but in Thailand studies addressing this issue are limited . This study aims to analyze the factors associated with delayed marriage among Thai men and women in Kanchanaburi province .The analysis is based on a sample of 1,370 men and women aged 18-59 found in the Survey of Family and Household, 2010 .Chi-squared analysis reveals women are more sensitive to ‘modernization variables’ - education, occupation, economic status, migration experience, residential area, and attitudes towards marriage and divorce. This is confirmed by results of the logit model analysis which reveals that only age, occupation, and attitudes towards marriage have a weak- moderate effect on delayed marriage among men, whereas among women, all variables were found to be significant, with the exception of occupation. This result supports the idea that delayed marriage, particularly among women, is sensitive to modernization. It suggests that with continuing development more men and women could delay marriage. Delayed marriage could be an opportunity for more investment in human resource development aimed at preparing young adults for the family life.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Gender equality: moving from policy to actions
    (2017-06) Churnrurtai Kanchanachitra; Wiwat Rojanapithayakorn; Mahidol University. Institute for Population and Social Research; Mahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Differentials in happiness among the young old, the middle old and the very old in Thailand
    (2015-07) Rungthong Kramanon; Rossarin Soottipong Gray; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    This study investigates factors affecting happiness among the young old, the middle old and the very old in Thailand. The sample includes 4,036 people ages 60 and older who are Buddhists and have at least one living child in the demographic surveillance site in Kanchanaburi, Thailand. Face-to-face interviews were conducted from September to December 2011. Older people were classified into young old (60-64), middle old (65-74) and very old (75 and older). Multiple regression was used to analyze these three age categories separately. Results show three factors that significantly contribute to elder happiness in all age categories: perceived trust in family care, the number of people with whom it is pleasant to talk and perceived health. Economic factors were important for the young old and the middle old. Giving help to children/grandchildren and engaging in religious activities were important only among the very old. Policies should promote health, work opportunities for older adults and religious activities, as well as family, friend and community relationships. It is strongly recommended that such policies be implemented before people reach old age.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Marginalization, Morbidity and Mortality: A Case Study of Myanmar Migrants in Ranong Province, Thailand
    (2014-01) Nucharee Srivirojana; Sureeporn Punpuing; Robinson, Courtland; Sciortino, Rosalia; Patama Vapattanawong; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    Marginalizing conditions that migrants face in destination countries or during migratory processes have impacts on migrant morbidity and mortality. This study explores marginalizing conditions contributing to migrant death in Ranong Province, Thailand. Qualitative in-depth interviews with 60 key informants and non-participant observations of working and living conditions were conducted among Burman ethnic group migrants from Myanmar residing in Ranong Province. The results of our study show that migrants face 1) unsafe working conditions, including limited access to proper protective equipment, not being informed of the availability of protective equipment, and a lack of knowledge about hazardous events; 2) limited access to health services, social security and workman’s compensation funds; 3) negative attitudes and xenophobia toward migrants by the local population; and 4) limited access to legal protection. These factors put migrants from Myanmar at risk of marginalization, morbidity and even death. Recommendations based on these findings include improvement of migrant workplace safety standards; greater accessibility to health services, social security and workman’s compensation funds; better access to legal protection for relatives of deceased migrants; encouragement of corporate social responsibility among employers, including respect for the basic rights of migrants; and recognition of the significance of migrant contributions to the Thai economy. These measures would alleviate the marginalization of migrants and reduce mortality. Keywords
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Segmented Assimilation: A Comparison of the Factors Related to the Adjustment of Domestic and International Muslim Migrants to Bangkok
    (2015-01) Ford, Kathleen; Aree Jampaklay; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    This paper uses segmented migration theory to consider differences in demographic characteristics, adjustment and concerns between domestic and international Muslim migrants to Bangkok. Face-to-face individual interviews were conducted with 183 international and 104 domestic male and female migrants. Both the domestic and international migrants adjusted reasonably well to life in Bangkok. Most were employed at the time of the survey and were at least moderately satisfied with their lives in Bangkok. The domestic male migrants were on average younger than the international migrants and most had migrated to Bangkok when they were young adults. Many of the migrants had university education (52% male domestic, 60% female domestic, 40% male international, and 29% female international). The migrants also reported concerns about their future lives and difficulty with language. The Islamic faith and Islamic education were important factors in the adjustment of the migrants to Bangkok.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    How do non genetic factors affect overweight children in Bangkok?
    (2010-01) Narisara Peungposop; Kua Wongboonsin; Kost, Gerald J.; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Rural-urban Migration and Sexual Initiation of Never-married Young Adults from Kanchanaburi, Thailand
    (2014-01) Dusita Phuengsamran; Aphichat Chamratrithirong; Guest, Philip; Vanlandingham, Mark; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    This study examines whether migration has an effect on young adults’ transition to becoming sexually experienced, using longitudinal data from the Migration and Health Project in Kanchanaburi, Thailand from 2005 and 2007. Survival analysis was used to explore the timing of sexual initiation of never married young adults, and Cox regression was used to examine the effect of migration on the hazard function of sexual initiation. Young adults who did not have sexual experience at T0 (2005) were followed up at T1 (2007) to examine whether they had experienced sexual initiation during the interim period. The results show that rural to urban migration was a strong factor in determining sexual initiation for both male and female never married young adults. Working, originating from urban districts and self-perception of being at risk of HIV also increased the likelihood of sexual initiation for males. Attitudes towards sex were found to have an effect as well; young females who were not sure if sex can be refused were more likely to have experienced sexual initiation compared to their male counterparts.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    The ASEAN Economic Community and Beyond: Myths and Realities
    (2016-07) Sakkarin Niyomsilpa; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Does living apart from parents or school enrollment matter to adolescents’ mental health risk?
    (2014-07) Umaporn Pattaravanich; Aphichat Chamratrithirong; Rossarin Gray; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    The objective of this study is to examine the effects of the presence of parents and school enrollment on mental health among youths aged 15 years. The study employs data from a survey on mental health among 5,238 youths aged 15 who applied for an identification card for the first time at district offices of three provinces from the northern and central regions including Bangkok between March 2009 and April 2010. Findings show that youths who are attending school, whether their parents are present or absent from the household, are less likely to have mental health risks than those who are out of school. This implies that schooling is more important for adolescent mental health outcomes than the presence of parents. Hence, educational services need to enhance or convince youth and their families that they should stay in school as long as possible. Moreover, educational services need to find resources to support low-income students so that they are able to remain in school.