IPSR-Proceeding Document
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/143
Browse
Recent Submissions
Item Metadata only COVID-19 : การฟื้นตัวและโอกาสของประชากรและสังคม(2565) เฉลิมพล แจ่มจันทร์; นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์; ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ; กัญญา อภิพรชัยสกุล; พอตา บุนยตีรณะ; อรวรรณ คำดี; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมItem Open Access การใช้สื่อออนไลน์ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตจดหมายข่าวฯ “ประชากรและการพัฒนา”(2561) จีรวรรณ หงษ์ทอง; กฤติญา สำอางกิจ; Jeerawan Hongthong; Krittiya Samarngkit; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มค่าใช้จ่ายเพื่อการ ผลิตและเผยแพร่จดหมายข่าวประชากรและการพัฒนาด้วยสื่อสิ่งพิมพ์และ คาดประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิตจดหมายข่าวประชากร เพื่อการพัฒนาและ การเผยแพร่ผ่านระบบสื่อออนไลน์ โดยใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการ ผลิตจดหมายข่าวประชากรและการพัฒนา ระหว่างพ.ศ.2556-2560 จาก ใบเสร็จที่เรียกเก็บจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และแบบตอบรับที่ส่งให้กับสมาชิกจดหมายข่าวประชากรและการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผล การศึกษาพบว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์มาเป็นสื่อออนไลน์ จากการคาด ประมาณจะเห็นได้ว่าค่าจัดพิมพ์จดหมายข่าวเมื่อใช้ระบบออนไลน์ เปรียบเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์คาดว่าในปี 2561 จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์แบบ ฉบับพิมพ์สูง ร้อยละ 60.8 ถ้าจัดทำระบบออนไลน์จะมีค่าจัดพิมพ์เพียง ร้อย ละ 39.5 ดังนั้นค่าใช้จ่ายเพื่อเผยแพร่บทความในจดหมายข่าวฯ เมื่อปรับมา ใช้ระบบออนไลน์ค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์จะลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์ คนวัยทำงานสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ง่ายและสะดวก รวดเร็ว และผลการวิจัยนี้ยังสามารถมองเห็นแนวโน้มค่าใช้จ่ายเพื่อการผลิต และเผยแพร่ แต่อย่างไรก็ตามการเข้าถึงของผู้สูงอายุก็ยังสะดวกกับการรับ เป็นสิ่งพิมพ์Item Open Access การวิเคราะห์การใช้งบประมาณสมดุลกรณีศึกษา : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2559(2561) ภาสกร บุญคุ้ม; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมการวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้งบประมาณ และค่าใช้จ่ายงบดำเนินงาน หมวดค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และค่าวัสดุ จาก งบประมาณเงินรายได้ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2559 โดยรวบรวมข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ จากระบบ MUERP (Mahidol University Enterprise Resource Planning ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 -2559 มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อย ละ การใช้จ่ายงบดำเนินงานของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พบว่า การตั้งงบประมาณมีวงเงินมากกว่าการเบิกจ่ายจริงราวร้อยละ 50 ทั้งสอง ปีงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2558 ค่าร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณ งบดำเนินงาน ในหมวดค่าใช้สอยมากที่สุด รองลงมา คือ ค่าตอบแทน และค่า ร้อยละของการเบิกจ่ายที่น้อยที่สุด คือ ค่าวัสดุ ส่วนปีงบประมาณ 2559 ค่า ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณงบดำเนินงานในหมวดค่าใช้สอยมากที่สุด เช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2558 รองลงมาคือ ค่าวัสดุ และค่าร้อยละของการ เบิกจ่ายที่น้อยที่สุด คือ ค่าตอบแทน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการเบิกจ่ายงบประมาณโดยภาพรวม ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 พบว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และ 2559 มีการเบิกจ่ายงบประมาณในจำนวนที่ไม่ แตกต่างกันมากนัก แต่เมื่อพิจารณาตามหมวดพบว่า ในหมวดค่าวัสดุ มีการ เบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ ค่าตอบแทน ส่วนหมวดค่า ใช้สอยมีการเบิกจ่ายลดลง นอกจากนี้ ในประเด็นความสอดคล้องของการขอตั้งงบประมาณ และการใช้จ่ายงบประมาณของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าในปี พ.ศ. 2558 – 2559 ไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ การตั้งงบประมาณของปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ในหมวดค่าตอบแทน และ ค่าวัสดุน้อยลงซึ่งสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 แต่ ตรงข้ามกับหมวดค่าใช้สอย จำนวนงบประมาณที่ขอตั้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพิ่มสูงกว่าจำนวนงบประมาณที่ขอตั้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ซึ่ง ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ใช้เพียงประมาณร้อยละ 61 ของ งบประมาณที่ขอตั้งเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างงบประมาณ ที่ขอตั้งและการใช้จ่ายจริงในงบดำเนินงาน สิ่งสำคัญของการขอตั้ง งบประมาณในปีถัดไปจำเป็นต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายจริงของปีงบประมาณก่อน หน้าด้วยItem Open Access โครงการพัฒนาระบบจองเสวนาใต้ชายคาประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) พอตา บุนยตีรณะ; วราวรรณ ฐาปนธรรมชัย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้มีเสวนาวิชาการ “ใต้ชายคาประชากร” มากว่า 20 ปีแล้ว ทุกวันพุธ เวลา 12.30 –13.30 น. ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ อันเป็นการเพิ่มศักยภาพผลงานวิชาการด้านต่างๆ ของสถาบันฯ โดยผู้ที่ต้องการนำเสนอต้องจองวันนำเสนอที่คณะทำงานฯ โดยตรง เช่น ผ่านทางอีเมล์ หรือทางโทรศัพท์ ซึ่งเกิดปัญหาว่าทั้งผู้นำเสนอ และคณะทำงานฯ เสียเวลาสำหรับการตรวจสอบตาราง และการบันทึกข้อมูล เนื่องจากผู้นำเสนอไม่สามารถตรวจสอบตาราง และบันทึกข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขการจองได้เอง รวมถึงการส่งข้อมูลประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของสถาบันฯ ก็ต้องรอข้อมูลจากคณะทำงานฯ การพัฒนาระบบจองเสวนาใต้ชายคาประชากรออนไลน์จึงเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของข้อมูล และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเสนอ และคณะทำงานฯ อีกทั้งช่วยรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งItem Metadata only ศตวรรษิกชนในประเทศไทย(2556) ปราโมทย์ ประสาทกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. ศูนย์ศตวรรษิกชนItem Open Access รายงานการสัมมนาไตรภาคีระดับชาติเรื่องแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์(2543) กุศล สุนทรธาดา; จิรกิต บุญชัยวัฒนา; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมItem Open Access การประชุมปฏิบัติการเรื่อง จินตนาการใหม่ทางสังคมวิทยา(2554) คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา; กฤตยา อาชวนิจกุล; กุลภา วจนสาระ; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม