SS-Proceeding Document

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 3 of 3
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กรณีศึกษา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2557) ยมนา ไพศาลพัฒนสกุล; ประภาภรณ์ แก้วสาหลง; อรวรรณ เจริญผล; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การวิจัยคร้้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรกรณีศึกษา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาวิทยาลัยฯให้ บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์กร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย บุคลากรของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีการกีฬาจ านวน 97 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1.บุคลากรส่วนใหญ่เพศชาย ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อายุการ ทำงาน ระหว่าง 1-5 ปี เป็นบุคลากรสายสนับสนุน ไม่ได้ดำรงตำแหน่งบริหาร ปฏิบัติงานใน ตำแหน่ง ช่างเทคนิค / พนักงานขับรถยนต์ / พนักงานทั่วไป / พนักงานสถานที่ / คนสวน สังกัด สำนักงานคณบดี งานบริหารและทรัพยากรบุคคลในระดับมากที่สุด 2.บุคลากรมีความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานในค่าเฉลี่ย 3.37 ระดับความพึงพอใจปานกลาง ความผูกพันองค์กร มีค่าเฉลี่ย 4.26 ระดับความผูกพันองค์กรในระดับดีมากและปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรกับความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานในด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติกับความพยายามทำงาน ส่งผลต่อความผูกพันองค์กร ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อการฝึกงานของนักศึกษา
    (2557) สัณห์สินี กันโอภาส; พิกุลแก้ว คลื่นสุวรรณ; รุ้งเพชร มาน้อย; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การวิจัยคร้ังนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวม ของสถานประกอบการ และจำแนกตามประเภทของหน่วยงานระหว่าง เอกชน รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ที่มีต่อการ ฝึ กงานของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ในองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ทาง วิชาการ ด้านทักษะทางวิชาชีพ ด้านความรับผิดชอบ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านวินัยและเจตคติในตนเอง โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงาน ในภาคการศึกษา ที่ 2/2555 จำนวน 45 หน่วยงาน โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนท้ังหมด คิดเป็นร้อยละ 100 จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการที่เป็นหน่วยงานเอกชน รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ มีความพึงพอใจต่อการฝึกงานของนักศึกษาวิทยาลัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ตามองค์ประกอบท้ัง 5 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยเฉพาะด้าน มนุษยสัมพันธ์ มีความพึงพอใจเป็ นอันดับ 1 ด้านวินัยและเจตคติในตนเอง มีความพอใจเป็นอันดับ 2 ด้านความ รับผิดชอบ และด้านความรู้ทางวิชาการ ตามลำดับ ส่วนด้านทักษะทางวิชาชีพ มีความพอใจอยู่ในระดับ มาก จาก ข้อมูลที่พบแสดงให้เห็นว่านักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทาง วิชาการ มีวินัยและมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะด้านมนุษยสัมพันธ์ ที่ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจภาพรวมใน ระดับ มากที่สุด แต่สำหรับด้านทักษะทางวิชาชีพ ซึ่งได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุด ซึ่งถือเป็นจุดด้อยที่ สามารถปรับปรุง พัฒนา ทักษะทางวิชาชีพ เช่น ด้านภาวะผู้นำ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การ ส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
  • Item
    How to control ankle joint in various directions of one leg jump-landing: frontal plane moment and EMG study
    (2013) Komsak Sinsurin; Roongtiwa Vachalathiti; Wattana Jalayondeja; Weerawat Limroongreungrat; Mahidol University. Faculty of Physical Therapy; Mahidol University. College of Sports Science and Technology
    The variation of jump-landing directions would challenge muscular control around ankle joint. The purposes of this study were to assess the frontal plane moment of ankle and EMG of tibialis anterior (TA), peroneus longus (PL), and medial head of gastrocnemius (GAS) muscles. Eighteen male athletes participated in the study. Subjects performed the one leg jump-landing test from a 30 cm height platform in four directions; forward (0°), 30° diagonal, 60° diagonal, and lateral (90°) directions. The finding exhibited that peak evertor moment significantly increased from forward to lateral direction. The need for increased muscle activity of PL was highlighted. The landing needed more co-contraction between TA and PL for maintaining balance. It seems that the awareness around ankle during jump-landing in diagonal and lateral direction should be more focused comparing to forward direction