Browse
Recent Submissions
Now showing 1 - 10 of 42
- Itemรายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพัน: มุมมองผู้เรียนหรือลูกค้าที่มีต่อหลักสูตรสังคมศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล(2558) รุ่งอรุณ สิงคลีประภา; เบญจมาส เจริญสุขพลอยผล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพันในมุมมองของผู้เรียนหรือลูกค้าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่มีต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลช่วงปีการศึกษา 2557 ประชากรทั้งหมดที่เป็นผู้เรียนจาก 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้เรียนในอดีตที่สำเร็จการศึกษาย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2554-2556) 2) ผู้เรียนปัจจุบันชั้นปีที่ 1-3 (รหัสปี 2555-2557) และ 3) ผู้เรียนหรือลูกค้าอนาคตที่คาดหวัง เป็นนักศึกษาหลักสูตรอื่นชั้นปีที่ 1 รวมทั้งสิ้น 12 หลักสูตร จานวน 276 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามขณะที่นักศึกษามาเรียน และส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมล์ถึงผู้เรียนในอดีตที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับแบบสอบถามคืนมาจำนวน 236 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการตลาด ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของหลักสูตร พบว่า ผู้เรียนหรือลูกค้าอนาคต มีความเห็นด้วยระดับมากสูงสุด ได้แก่ 1) ความมีชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในและต่างประเทศ 2) มหาวิทยาลัยมีหอประชุมห้องเรียนที่เหมาะสมเพียงพอ สะอาดและทันสมัย 3) อาจารย์ผู้สอนมีความรู้มีคุณธรรมและจริยธรรมเหมาะสมกับวิชาชีพ 2. ปัจจัยการจัดการศึกษาของหลักสูตร พบว่า ผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน มีความเห็นด้วยระดับมากสูงสุด ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสังคมทั้งในและต่างประเทศ 2) ให้อิสระในการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาหลักเพื่อความเหมาะสม 3. ปัจจัยความผูกพัน พบว่า ผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน มีความผูกพันสูงระดับมากที่สุด ได้แก่ 1) รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทั้งยินดีในอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่ว่าให้ ‘มุ่งผลเพื่อผู้อื่น’ 2) รู้สึกดีใจและภูมิใจได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ในหลักสูตร และ 3) รู้สึกพอใจได้พูดคุยและมีมิตรภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ สมการพยากรณ์ปัจจัยการจัดการศึกษาหลักสูตร ได้แก่ ทัศนคติต่อสถาบัน และความสัมพันธ์มิติทางสังคม ส่งผลทางบวกต่อความผูกพันของผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน ทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกันอธิบายความผูกพันของผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 และอธิบายความแปรปรวนได้ 51.1% โดยตัวแปรความสัมพันธ์มิติทางสังคมมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือ ทัศนคติต่อสถาบัน ตามลำดับ
- Itemงานวิจัย การประเมินการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2560) ภานุการณ์ สนใจ; ชลธิชา ดิษฐเกษร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์ 2)เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์ และ 3)นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่ทุกหลักสูตรในภาควิชาสังคมศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี-โท-เอก รวมทั้งหมด 268 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม พบว่าความคาดหวังของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์ พบว่าความคาดหวังและความพึงพอใจในภาพรวมและในทุก ๆ ด้าน ของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสังคมศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และควรประชาสัมพันธ์ความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และพัฒนาแนวทางการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และแนวทางขั้นตอนการขอรับบริการ
- Itemงานวิจัย เรื่อง ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการของงานธุรการคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2559) พัชรา กลิ่นเปี่ยม; ธนวัน ธงวรรณฉัตร; รัตนาภรณ์ ปานยิ้ม; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- Itemรายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาในวิชาการศึกษาทั่วไป มมศท 102 หัวข้อสุขภาพและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล(2557) รุ่งอรุณ สิงคลีประภา; เบญจมาส เจริญสุขพลอยผล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนการสอน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาในวิชาการศึกษาทั่วไป มมศท 102 หัวข้อสุขภาพและสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ภาคการศึกษาที่ 2/2554 โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด จำนวน 3,620 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักศึกษาขณะที่มาเรียนทุกคน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 1,380 ชุด คิดเป็นร้อยละ 38 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านกระบวนการเรียนการสอนที่มีค่าเฉลี่ยระดับสูงสุด ได้แก่ ปริมาณของทฤษฎีที่นำมาสอน การอำนวยความสะดวกในห้องเรียนของผู้ช่วยสอน ความน่าสนใจของคลิปวีดีโอที่ใช้เป็นสื่อการสอน การมีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกับเพื่อนจากการทำงานกลุ่มของนักศึกษา เอกสารการสอนที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องใกล้ตัวสอดคล้องกับชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ และด้านการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งโดยรวมและรายข้อมีค่าเฉลี่ยระดับมาก 2. การพยากรณ์ตัวแปรสองชุด คือ ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสม บทบาทในงานกลุ่ม และปัจจัยด้านกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ การอำนวยความสะดวกของผู้ช่วยสอน วิธีการสอนของอาจารย์ ทั้ง 4 ปัจจัยสามารถนำมาร่วมกันอธิบายการเรียนรู้ของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .05 และอธิบายความแปรปรวนได้ 34.2% (R-Square=.342, F=178.610, p-value=.000) โดยวิธีการสอนของอาจารย์เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด (Beta=.484) รองลงมาคือ ผู้ช่วยสอน (Beta=.172) บทบาทในงานกลุ่ม (Beta=.071) และเกรดเฉลี่ยสะสม (ความรู้เดิม) (Beta= -.056) ตามลำดับ
- Itemรายงานการวิจัย แนวทางการสร้างความผูกพันของศิษย์เก่า คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) ชัยพร รองทอง; ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพัน ระดับค่านิยมองค์กร และระดับ การมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความผูกพันของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3) นำเสนอแนวทางการสร้าง ความผูกพันของศิษย์เก่า คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mix-Methods Research) ประชากร คือ ศิษย์เก่า และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือผู้แทนจาก คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการและวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 351 คน อัตราตอบกลับ 324 คน (92.30%) และกลุ่ม ตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Person) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความผูกพันมากที่สุดในด้านความเชื่อมั่นและยอมรับ ในเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ 2) ระดับการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านการมีส่วนร่วมในการรับ ผลประโยชน์ 3) ระดับพฤติกรรมและการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กรของศิษย์เก่าคณะสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตามค่านิยม องค์กรมากที่สุดในด้าน Harmony: กลมกลืนกับสรรพสิ่ง แนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) จัดตั้งกลุ่ม Facebook ศิษย์เก่า เพื่อใช้ ติดต่อสื่อสาร ระหว่างคณะฯ และศิษย์เก่า รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างศิษย์เก่าด้วยกัน 2) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่า หรือเชิญศิษย์เก่า เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดโครงการหรือกิจกรรมของคณะฯ หรือการจัดกิจกรรมโดยการแบ่งกลุ่มตามความ สนใจ 3) จัดตั้งสมาศิษย์เก่า เพื่อเข้ามาบริหารจัดการและดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเกี่ยวกับศิษย์เก่า ภายใต้ การบริหารงานที่สอดคล้องกับแนวทางของคณะฯ
- Itemรายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบาย สาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method) ประชากร คือ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า และผู้ใช้ บัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 95 คน อัตราตอบกลับ 89 คน (93.68%) และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 14 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Persons) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การประเมินบริบทของนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก โดยมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านวัตถุประสงค์มากที่สุด 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า ของนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักศึกษาปัจจุบันมีความคิดเห็นต่อการประเมิน ด้านเจ้าหน้าที่มากที่สุด สำหรับศิษย์เก่ามีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านอาจารย์ผู้สอนมากที่สุด 3) การประเมินกระบวนการของนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็น ต่อการประเมินด้านการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด 4) การประเมินผลผลิตของนักศึกษาปัจจุบันในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และศิษย์เก่าอยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนและ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความทันสมัย 3) การจัดประชุม คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 4) ควรจัดสัมมนาวิทยานิพนธ์เพื่อติดตาม ความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา และจัดกิจกรรมเพื่อแนะนำขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์
- Itemแผนแม่บทด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน กลุ่มที่ 2 สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท(2548) นักรบ ระวังการณ์; สุรีย์ กาญจนวงศ์; ละเอียด ศิลาน้อย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์; สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
- Itemรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำแบบประเมินความพร้อมก่อนปล่อยตัวของเด็กและเยาวชน(2564) วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- Itemการประเมินผลโครงการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พ.ศ.2530-2536(2537) เนาวรัตน์ พลายน้อย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- Itemรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การจัดการระบบสุขภาพชายแดนไทย(2559) เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล; ศรินญา เพ็งสุก; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์