IL-Research Report
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54411
Browse
Recent Submissions
Item Metadata only การผลิตโปรแกรมการพัฒนาครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์(2554) ทัศนียา รัตนฤาทัย นพรัตน์แจ่มจำรัส; สุชัย นพรัตน์แจ่มจํารัส; กานต์ยุพา จิตติวัฒนา; ภิญโญ พานิชพันธ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการ 1) ศึกษาความต้องการการพัฒนาวิชาชีพของครู วิทยาศาสตร์ประจําการที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษา สงเคราะห์เดิม 2)ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารในการสนับสนุนด้านการพัฒนาวิชาชีพของครู วิทยาศาสตร์ประจําการที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษา สงเคราะห์เดิม 3) พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจําการ ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์เดิม และ 4) ประเมินผลการพัฒนาโปรแกรมการ พัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจําการ ซึ่งข้อมูลด้านความต้องการในการพัฒนาครู ได้รับจากการส่ง แบบสอบถามไปยังโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์เดิมจํานวน 50 แห่ง ผลปรากฏว่าแบบสอบถามที่ได้รับจากครูวิทยาศาสตร์ประจําการทั่วประเทศที่มีครบถ้วนมี จํานวน 53 ฉบับ และแบบสอบถามผู้อํานวยการโรงเรียน จํานวน 21 ฉบับ ผู้บริหารโรงเรียนและครูระบุ ว่าครูได้รับการพัฒนาด้าน การจัดการเรียนการสอนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านพัฒนาหลักสูตร ด้านการ จัดทําและการใช้สื่อการเรียนการสอน และ ด้านการวัดและประเมินผล แม้ว่าผู้บริหารโรงเรียนจะต้องการ ให้ครูไปพัฒนาตนเองเพิ่มเติมในทุกหัวข้อดังที่กล่าวมา แต่ต้องการให้พัฒนาในด้านการจัดการเรียนการ สอนมากที่สุด รองลงมาคือด้านพัฒนาหลักสูตร และด้านการจัดทําและการใช้สื่อการเรียนการสอน ตามลําดับ แต่ครูกลับต้องการพัฒนาตนเองเพิ่มเติมในด้านการจัดทําและการใช้สื่อการเรียนการสอนมาก ที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจําการประกอบด้วยเนื้อหาวิทยาศาสตร์และด้าน ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร, วิธีการสอน, จิตวิทยา, การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน,การผลิตและ การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล) ได้นําไปใช้กับครูวิทยาศาสตร์ประจําการจาก โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ผู้เข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ จํานวน 8 คนในการอบรมครั้งที่ 1 และจํานวน 12 คนในการอบรมครั้งที่สอง ข้อมูลการประเมินโปรแกรมวิเคราะห์จากแบบสังเกตการเข้าร่วมอบรมของ ครูวิทยาศาสตร์ประจําการ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ และแบบบันทึก ความก้าวหน้าของครูวิทยาศาสตร์ประจําการ ผลปรากฏว่าโปรแกรมการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ประจําการที่คํานึงถึงด้านเนื้อหาที่ใช้ กระบวนการจัดการ และ บริบทของโรงเรียน อีกทั้งคํานึงถึง ช่วงเวลาและระยะเวลาในการจัดอบรมมีความสําคัญ ทําให้ครูที่เข้าร่วมโปรแกรมมีพัฒนาการด้านทักษะ ส่วนบุคคลและทักษะด้านวิชาการ นอกจากนี้ครูที่เข้าร่วมโปรแกรมยังต้องการเผยแพร่แผนการสอน รวมทั้งนวัตกรรมด้านสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นให้แก่ครูท่านอื่นต่อไป