Publication: ผลของการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อการรับรู้ สมรรถนะในการมีส่วนร่วมดูแลบุตร และความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของมารดาในหออภิบาลทารกแรกเกิด
dc.contributor.author | ปาริชาติ ดํารงค์รักษ์ | en_US |
dc.contributor.author | Parichat Damrongrak | en_US |
dc.contributor.author | ทัศนี ประสบกิตติคุณ | en_US |
dc.contributor.author | Tassanee Prasopkittikun | en_US |
dc.contributor.author | ฟองคํา ติลกสกุลชัย | en_US |
dc.contributor.author | Fongcum Tilokskulchai | en_US |
dc.contributor.author | โสภาพรรณ เงินฉ่ำ | en_US |
dc.contributor.author | Sopapan Ngerncham | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-02-28T09:23:45Z | |
dc.date.available | 2018-02-28T09:23:45Z | |
dc.date.created | 2018-02-28 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีส่วนร่วมดูแลบุตร และความพึงพอใจในบริการพยาบาลของมารดาทารกเกิดก่อนกําหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลศิริราช รูปแบบการวิจัย:เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาทารกเกิดก่อนกําหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด จํานวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแนวคิดการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางเป็นเวลา 4 วัน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลของมารดาและทารกแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีส่วนร่วมดูแลบุตรในหออภิบาลทารกแรกเกิด และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อบริการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมโดยให้คะแนนก่อนการทดลองเป็นตัวแปรร่วม และการทดสอบทีผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีส่วนร่วมดูแลบุตรภายหลังการทดลอง และคะแนนความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .664 และ p = .551 ตามลําดับ) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีส่วนร่วมดูแลบุตรรายด้านภายในแต่ละกลุ่ม พบว่า ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกด้าน ยกเว้นด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่พบว่าภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .001) เฉพาะในกลุ่มทดลองเท่านั้น สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรนํากิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการมีส่วนร่วมดูแลบุตรด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการพยาบาล และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อนํามาพัฒนากิจกรรมการพยาบาลให้มีลักษณะของการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางมากขึ้น | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: To study the effects of family-centered care on self-efficacy in participatory involvementin newborn care and maternal satisfaction towards nursing service in the NICU, Siriraj Hospital,Thailand.Design: Quasi-experimental research, two groups with pretest and post-test.Methods: The study subjects included 40 mothers with preterm newborns in the NICU, who weredivided into a control group and an experimental group with 20 mothers each. The control groupreceived routine nursing care only while the experimental group received nursing care according to thefamily-centered care concept over a period of 4 days. Data was collected by using the personal datarecord form, the self-efficacy in participatory involvement in newborn care, and the satisfaction towardsnursing service questionnaires. Data were analyzed by using analysis of covariance (ANCOVA) withpretest scores as covariate, and t-test.Main findings: The average scores of perceived self-efficacy in participatory involvement in newborn care and the average scores of satisfaction towards nursing service of both study groups werenot significantly different (p = .664 and p = .551, respectively). Compared to that at pretest, eachdimension of the perceived self-efficacy was significantly higher at posttest in both groups with theexception of an information sharing dimension which was found to be higher in the experimental grouponly.Conclusion and recommendations: The activities promoting perceived self-efficacy in information sharing should be implemented to improve routine nursing care. For a further study, unmetneeds of patients and families should be examined for improving nursing care activities towards morefamily-centered care. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 30, ฉบับที่ 2 (เม.ย. -มิ.ย. 2555), 70-79 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/9912 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง | en_US |
dc.subject | ความพึงพอใจ | en_US |
dc.subject | การรับรู้สมรรถนะของตนเอง | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.title | ผลของการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อการรับรู้ สมรรถนะในการมีส่วนร่วมดูแลบุตร และความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของมารดาในหออภิบาลทารกแรกเกิด | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Family-centered Care on Self-efficacy in Participatory Involvement in Newborn Care and Satisfaction Towards Nursing Service of Mothers in NICU | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10294 |