Publication: Knowledge, Self-Efficacy, Self-Management Behavior of the Patients With Predialysis Chronic Kidney Disease
Issued Date
2019
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Ramathibodi School of Nursing Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 42, No. 2 (April-June 2019), 38-48
Suggested Citation
Satchina Moktan, Sirirat Leelacharas, Wonnapha Prapaipanich, แซทชินา มอคแทน, สิริรัตน์ ลีลาจรัส, วรรณภา ประไพพานิช Knowledge, Self-Efficacy, Self-Management Behavior of the Patients With Predialysis Chronic Kidney Disease. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 42, No. 2 (April-June 2019), 38-48. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72257
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Knowledge, Self-Efficacy, Self-Management Behavior of the Patients With Predialysis Chronic Kidney Disease
Alternative Title(s)
ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือด
Abstract
Background: Chronic kidney disease (CKD) is an emerging global public health problem. Control of risk factors and prevention of complications can delay the progression to end-stage renal disease. Self-efficacy and self-management behavior in patients with predialysis CKD has not been investigated in Nepal.
Objectives: To describe knowledge of CKD, self-efficacy, and self-management behavior in patients with predialysis CKD and to determine the relationships between knowledge in CKD and self-efficacy with self-management behavior.
Methods: Ninety-seven predialysis CKD patients visiting nephrology clinic of a tertiary care hospital in Kathmandu, Nepal were recruited from November 2016 to December 2016. Questionnaires comprised of sociodemographic data, CKD knowledge, self-efficacy, and self-management behavior questionnaires were used. Data were analyzed, using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficient.
Results: The mean age of 97 participants was 45.67 years. There were 3 stages of CKD among participants: stage G4 (54.64%), stage G3 (42.27%), and stage G2 (3.09%), respectively. Hypertension was the most common comorbidity (81.44%) followed by diabetes mellitus (30.92%). Predialysis CKD patients had a moderate level of knowledge on CKD and self-efficacy and high level of self-management behavior. There were positive relationships between knowledge in CKD and self-management behavior (r = 0.52; P < .05), and between self-efficacy and self-management behavior (r = 0.39; P < .05).
Conclusions: This study suggested that education, counseling, workshop to increase the knowledge, self-efficacy, and self-management behavior might be helpful for the predialysis CKD patients. Healthcare providers can educate, motivate, and train the patients to practice self-management behavior to delay the progression of CKD.
บทนำ: โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก การควบคุมปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน สามารถชะลอการเป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย ในประเทศเนปาลยังไม่พบการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือด วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายความรู้ของโรคไตเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือด และการหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือด จำนวน 97 คน ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกไตของโรงพยาบาลในกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้โรคไตเรื้อรัง แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson product moment correlation coefficient ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 45.67 ปี ส่วนใหญ่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะ G4 (ร้อยละ 54.64) รองลงมาคือ ระยะ G3 (ร้อยละ 42.27) และระยะ G2 (ร้อยละ 3.09) ตามลำดับ โรคร่วมที่พบส่วนใหญ่คือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 81.44) และเบาหวาน (ร้อยละ 30.92) โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือดมีความรู้โรคไตเรื้อรังและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับสูง โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความรู้โรคไตเรื้อรังกับพฤติกรรมการจัดการตนเอง (r = 0.52, P < .05) และ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรม การจัดการตนเอง (r = 0.39, P < .05) สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การได้รับการศึกษาและคำปรึกษา รวมทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้โรคไตเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเอง จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์สามารถให้ความรู้ แรงจูงใจ และอบรมผู้ป่วยให้ฝึกฝนพฤติกรรมการจัดการตนเอง เพื่อชะลอความก้าวหน้าของโรคไตเรื้อรัง
บทนำ: โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก การควบคุมปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน สามารถชะลอการเป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย ในประเทศเนปาลยังไม่พบการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือด วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายความรู้ของโรคไตเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือด และการหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือด จำนวน 97 คน ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกไตของโรงพยาบาลในกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้โรคไตเรื้อรัง แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson product moment correlation coefficient ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 45.67 ปี ส่วนใหญ่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะ G4 (ร้อยละ 54.64) รองลงมาคือ ระยะ G3 (ร้อยละ 42.27) และระยะ G2 (ร้อยละ 3.09) ตามลำดับ โรคร่วมที่พบส่วนใหญ่คือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 81.44) และเบาหวาน (ร้อยละ 30.92) โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการฟอกเลือดมีความรู้โรคไตเรื้อรังและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับสูง โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความรู้โรคไตเรื้อรังกับพฤติกรรมการจัดการตนเอง (r = 0.52, P < .05) และ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรม การจัดการตนเอง (r = 0.39, P < .05) สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การได้รับการศึกษาและคำปรึกษา รวมทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้โรคไตเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเอง จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์สามารถให้ความรู้ แรงจูงใจ และอบรมผู้ป่วยให้ฝึกฝนพฤติกรรมการจัดการตนเอง เพื่อชะลอความก้าวหน้าของโรคไตเรื้อรัง