RA-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/68

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 1076
  • PublicationOpen Access
    ขนาดของ LVOT ในเด็กทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด
    (2564) อุเทน บุญมี; Uthen Bunmee
    เด็กทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะที่กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบหัวใจและหลอดเลือดในร่างกายยังไม่สมบูรณ์การเทียบขนาดอวัยวะของเด็กคลอดก่อนกำหนดด้วยเกณฑ์ของเด็กที่คลอดครบกำหนดเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติจึงอาจมีข้อจำกัดแม้แต่ขนาด Left ventricular out flow tract; LVOT ที่เป็น Echocardiographic parameter สำคัญก็เช่นกัน เพราะการอธิบายความผิดปกติของขนาดของหลอดเลือด และระดับความรุนแรงของรอยโรคบางชนิดจำเป็นต้องใช้ขนาดของ LVOT มาคำนวณ แต่เนื่องจากผลการศึกษาเกี่ยวกับขนาด LVOT ในเด็กคลอดก่อนกำหนดชาวไทยและชาวเอเชียนั้นยังมีไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ใช้ค่า Z score ของประชากรตะวันตกมาใช้อ้างอิงเป็นหลัก จึงเกิดการศึกษาวิจัยนี้ขึ้น โดยอาศัยการทบทวนผลตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจของทารกคลอดก่อนกำหนดชาวไทยทั้งสิ้น 102 ราย อายุไม่เกิน 4 สัปดาห์ เพศชาย ร้อยละ 53.9 เพศหญิงร้อยละ 46.1 ไม่มีพยาธิสภาพชนิดที่ส่งผลต่อโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือด พบว่าเด็กแรกเกิดชาวไทยเพศชายกับเพศหญิงมีขนาด LVOT ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 1,400 กรัม จะมีขนาด LVOT ที่ใหญ่กว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,400 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) โดยที่ระดับ Z score 0-0.5 กลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,400 กรัมจะมีขนาด LVOT 5.10 – 5.50 มิลลิเมตร ส่วนกลุ่มน้ำหนัก 1,400 กรัมขึ้นไป จะมีขนาด LVOT 5.50 – 5.70 มิลลิเมตร ในจำนวนนี้มี 60 ราย ที่ถูกติดตามเพื่อเปรียบเทียบขนาด LVOT ในระยะ Patent ductus arteriosus กับระยะ Ductus arteriosus closed แต่ไม่พบความแตกต่างกันของขนาด LVOT ในทั้งสองระยะ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นองค์ความรู้สำคัญที่สนับสนุนและเป็นตัวเลือกให้ผู้ตรวจวัดสามารถเลือกนำค่าปกติไปใช้เทียบแปลผลในเด็กไทยได้สะดวกเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีกทาง
  • PublicationOpen Access
    แนวทางการเขียนบทความสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์
    (2567) ชมภูนุช ฉัตรนภารัตน์; Chompunuch Chatnaparat
    การจัดทำบทความเรื่อง "แนวทางการเขียนบทความสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์" มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวทางและวิธีการเขียนบทความสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ ในบทความนี้ ผู้นิพนธ์จะกล่าวถึงความหมายของบทความ ประเภทของบทความ ลักษณะเฉพาะของบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ ขั้นตอนการเขียนบทความ ซึ่งประกอบด้วย การเตรียมเนื้อหาบทความสุขภาพ และกระบวนการประชาสัมพันธ์บทความสุขภาพ พร้อมตัวอย่างการเขียนและบทสรุป เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำบทความสุขภาพที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่ต่อไป
  • PublicationOpen Access
    การศึกษาเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินในคนที่มีการได้ยินปกติ โดยใช้สัญญาณเสียง Pure Tone กับเสียง Warble Tone
    (2567) โสภณวิชญ์ คงศิริสวัสดิ์; รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล; อนันต์ ศักดิ์ศรีสุวรรณ; สุนิสา พัฒนวณิชย์กุล; สิริวิมล สุนทรวิภาต; Sophonwit Kongsirisawad; Rattinan Tiravanitchakul; Anan Saksrisuwan; Sunisa Patanawanitkul; Siriwimon Sunthonwiphat
    เสียงบริสุทธิ์ (Pure Tone) เป็นเสียงมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจการได้ยินเพื่อวินิจฉัยชนิดและระดับของการสูญเสียการได้ยิน ปัจจุบันเครื่องตรวจการได้ยินมีเสียงต่าง ๆ ให้เลือกเพื่อใช้ในการตรวจ เช่น เสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ตามเวลา (Warble Tone) เสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงความดังเป็นจังหวะ (Pulsed Tone) สัญญาณเสียงดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยฟังเสียงตรวจได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเสียงดังในหู ถึงแม้ว่ามีหลายการศึกษาที่ผ่านมาเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินโดยใช้เสียง Pure Tone กับ Warble Tone ผลที่ได้ก็ยังไม่สอดคล้องกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินเมื่อตรวจโดยใช้เสียงทั้งสอง และกำหนดว่าสามารถใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ในคนไทย โดยทำการศึกษาในคนที่มีการได้ยินปกติจำนวน 31 หู อายุ 18-28 ปี ตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงทางอากาศที่ความถี่ 250-8000 Hz วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Bland-Altman plot พบว่าที่ความถี่ 250, 500, 2000, 4000 และ 8000 Hz มีค่าความแตกต่างของระดับเริ่มได้ยินจากเสียงทั้งสองชนิดทั้งหมดอยู่ในช่วง limits of agreement ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เมื่อทดสอบด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test มีเพียงความถี่ 3000 Hz มีค่าความต่างของระดับเริ่มได้ยิน 1.29 dB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามค่าความต่างของระดับเริ่มได้ยินที่ได้ มีค่าไม่เกิน 5 dB สามารถนำไปใช้ทางคลินิกได้ ภายใต้เงื่อนไขการปรับความดังเพิ่มครั้งละ 5 dB และเสียง Warble Tone มีค่า Frequency-Modulated ที่อัตราความถี่ 5 Hz และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ +5% จากความถี่กลาง สรุปผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า สามารถใช้เสียง Warble Tone แทนเสียง Pure Tone ในการปฏิบัติงานในคลินิกได้.
  • PublicationOpen Access
    ผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อความรู้ในการดูแลตนเองหลังผ่าตัด พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความพึงพอใจต่อโปรแกรม
    (2567) อัจฉรา พลไชย; สุมลชาติ ดวงบุบผา; กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์; Atchara Ponchai; Sumolchat Duangbubpha; Kusuma Khuwatsamrit
    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง วัตุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronaryarterybypassgraft: CABG)ระหว่างระยะก่อน และหลีงเข้าร่วมโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 2) เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัด CABG หลังเข้าร่วมโปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯ ระหว่างระยะการตรวจตามนัดครั้งที่ 1 และการตรวจตามนัดครั้งที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังผ่าตัด CABG ต่อโปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด CABG ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 26 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนผ่าตัด เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด 2) ระยะหลังผ่าตัด เป็นการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยหลังผ่าตัด CABG ที่หอผู้ป่วย และเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย และ 3) ระยะหลังจำหน่าย เป็นการติดตามเยี่ยมอาการและให้คำปรึกษาผู้ป่วยผ่านทางโทรศัพท์และที่แผนกผู้ป่วยนอก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ในการดูแลตนเองหลังผ่าตัด CABG แบบสอบถามพฤติกรรมการดุแลตนเองหลังผ่าตัด CABG และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทีคู่ และสถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองหลังเข้าร่วมโปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯสูงกว่าระยะก่อนเข้าร่วมโปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ค่าเฉลี่ยอันดับคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองในระยะตรวจตามนัดครั้งที่ 2 สูงกว่าตรวจตามนัดครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ 3) ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อโปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯในระดับมาก ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมวางแผนจำหน่ายฯ สามารถส่งเสริมความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ไม่มีกลุ่มควบคุมอาจมีข้อจำกัดในการสรุปประสิทธิผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงควรมีการทดสอบเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
  • PublicationOpen Access
    การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่ใช้เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ
    (2566) สิวนุุช บุุญยัง; เรณู พุุกบุุญมี; ณัฐชัย อนันตสิทธิ์; จิราภรณ์ ปั้้นอยู่; Sivanut Boonyoung; Renu Pookboonmee; Nattachai Anantasit; Jiraporn Punyoo
    การศึกษานี้เป็นการพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่ใช้เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนตลอดจนสามารถประเมินภาวะการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาคุุณภาพการบริการของโดนาบีเดียนร่วมกับแนวคิดด้านพยาธิสรีรวิทยา ในการพัฒนาแนวปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีงานวิจัยและบทความวิชาการทั้งหมด 31 เรื่อง แนวปฏิบัติมี 3 ระยะ คือ 1) การดูแลระยะก่อนการใส่เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ 2) การดูแลขณะใช้เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ และ 3) การดูแลระยะหลังการถอดเครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ แนวปฏิบัตินี้ได้รับการตรวจสอบความตรงและความถููกต้องเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุุณวุุฒิ การนำแนวปฏิบัติไปใช้กับผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่ ใช้เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ จำนวน 8 ราย ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (venoarterial extracorporeal membrane oxygenation หรือ VAECMO) ร้อยละ 75 จำนวนวันนอนเฉลี่ยในหอผู้ป่วยวิกฤตเท่ากับ 11.75 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ ภาวะเลือดออก แต่เมื่อพยาบาลมีการประเมินและติดตามอย่างใกล้ชิดตามแนวปฏบัติที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที่ พบว่าผู้ป่วยทุุกรายปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน รองลงมาคือ ภาวะมีลิ่มเลือดในวงจรบริวณด้านหน้าปอดเทียมพยาบาลตรวจสอบค่าแรงดันบริเวณด้านหน้าและด้านหลังของปอดเทียม และตรวจสอบลิ่มเลือดในวงจร ผู้ป่วยได้รับการดููแลอย่างใกล้ชิดจึงไม่เกิดอันตรายต่อ ผู้ป่วยสำหรับความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้จากพยาบาล 32 ราย พบว่า ความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบััติการพยาบาลไปใช้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุุด ความพึงพอใจของพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติไปใช้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเด็ก วิกฤิตที่ใช้เครื่องพยุง การทำงานของปอดและหัวใจ ควรมีการติดตามผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติในระยะยาว เพื่อติดตามความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติไปใช้ประโยชน์ของแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
  • PublicationOpen Access
    คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต่อการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมทันทีหลังการตัดเต้านม
    (2567) ปิ่นทอง กิจบุญ; ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์; สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม; ประกาศิต จิรัปปภา; Pintong kitbun; Piyawan Pokpalagon; Suchira Chaiviboontham; Prakasit Chirappapha
    การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเสริมเต้านมทันทีหลังการตัดเต้านม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมทันทีหลังการตัดเต้านมในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 80 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วยความผาสุกทางกาย ความผาสุกทางจิตสังคม ความผาสุกทางเพศ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม (BREAST-Q Version 2.0 © Reconstruction Module Postoperative Scales) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความผาสุกทางกายมีคะแนนมากที่สุด และความผาสุกทางเพศมีคะแนนน้อยที่สุด ความพึงพอใจแบ่งเป็นรายด้านพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการดูแลรักษาได้คะแนนสูงสุด แต่ในด้านการให้ข้อมูลมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าข้อย่อยด้านอื่น ๆ เมื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตตามประเภทของการผ่าตัดทั้ง 4 ชนิด พบว่า ความผาสุกทางกายในส่วนของทรวงอกของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมโดยใช้กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหลังมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความพึงพอใจต่อเต้านมของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมโดยใช้กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยและทีมสุขภาพเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกแผนการรักษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและเป็นข้อมูลในการพัฒนาการดูแลรักษาเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะความผาสุกทางเพศ
  • PublicationOpen Access
    Factors Related to Sleep Duration and Night Waking in Hospitalized Infants with Cyanotic Congenital Heart Disease
    (2024) Porntiwa Sanpawut; Autchareeya Patoomwan; Jariya Wittayasooporn; พรทิวา สรรพาวุฒิ; อัจฉรียา ปทุมวัน; จริยา วิทยะศุุภร
    This study aims to describe factors related to sleep duration and night waking in infants aged 6–12 months old with cyanotic congenital heart disease (CCHD) who were admitted to a pediatric cardiology ward at a tertiary hospital between December 2019 and September 2021. Data were obtained using the Demographic Data Record Form, Sleep-related Factors Questionnaires (the severity of heart failure, temperament,and caregiving activity), and the Infants’ Sleep-wake States Record Form. The record forms were assessed using video recording of the infants during 24 hours, and the data were then analyzed using descriptive statistics, the Pearson product-moment correlation coefficient, and Spearman’s rho correlation. The results revealed that most hospitalized infants with CCHD had a mean total sleep duration during the 24 hours of 770.44 minutes. The average number of night waking was 14.26 times/night. According to the correlation analysis, the severity of heart failure did not show a statistically significant correlation with sleep duration or night waking. Temperament was moderately and significantly correlated with sleep duration but not with night waking. Caregiving activities were moderately and significantly correlated with sleep duration and night waking. These results demonstrate that nurses and healthcare professionals should be aware of sleep problems in infants with cyanotic congenital heart disease and plan interventions to manage sleep disturbance to ensure good sleep quality.
  • PublicationOpen Access
    บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ได้รับการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง (Holter monitor) : กรณีศึกษา
    (2567) ณัฐฐิรา ชาญไววิทย์; อุมาวรัทย์ สาริสาย; จันทรา แก้วภักดี; Nattira Chanviavit; Umawarat Sarisai; Jantra Keawpugdee
    ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) เป็นอาการที่หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ไม่เหมาะสมกับสภาพของร่างกายในขณะนั้นซึ่งอาจมีจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติร่วมด้วย การตรวจค้นหาความผิดปกติของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram: EKG) ซึ่งตรวจได้ง่ายและรวดเร็วที่สุดด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สามารถให้คำตอบเบื้องต้นได้ แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นครั้งคราวช่วงระยะเวลาสั้นๆ อาจไม่สามารถตรวจพบได้ในขณะที่มาพบแพทย์จึงมีการนำเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง มาใช้ทำให้สามารถตรวจจับความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้มากขึ้น บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจบทบาทของพยาบาลในการประเมิน ดูแล และให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงทั้งก่อน ขณะ และหลังการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง การให้การพยาบาลที่ถูกต้องและเหมาะกับผู้ป่วยในแต่ละราย จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องนำมาสู่การวินิจฉัยที่แม่นยำรวดเร็ว
  • PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 4 เดือน
    (2566) สุมาลี ปิงวัง; ทิพวัลย์ ดารามาศ; จริยา วิทยะศุภร; Sumalee Pingwung; Tipawan Daramas; Jariya Wittayasooporn
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อากรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 4 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดที่มาตรวจสุขภาพตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึง สิงหาคม 2564 จำนวน 77 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด แบบสอบถามความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 4 เดือนได้ คือ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 เดือนในทารกเกิดกำหนดได้ร้อยละ 25 ดังนั้น พยาบาลควรให้คำแนะนำและส่งเสริมให้มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีความเชื่อมั่นในสมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยให้มารดามีความมั่นใจและสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
  • PublicationOpen Access
    Factors Influencing Self-Concept of Adolescents with Epilepsy
    (2024) Chuthathip Mongkholkham; Autchareeya Patoomwan; Apasri Lusawat; จุฑาทิพย์ มงคลคำ; อัจฉรียา ปทุมวัน; อาภาศรี ลุสวัสดิ์
    This cross-sectional descriptive study was designed to investigate the self-concept of adolescents with epilepsy and its influencing factors of gender, severity of epilepsy, and family functioning on the self-concept of adolescents with epilepsy guided by Bracken’s Self-Concept Model. A total of 82 adolescents with epilepsy, 12-18 years of age,were selected by purposive sampling from pediatric neurology outpatient clinics from three tertiary care medical centers, who had a minimum standard score above 70 on the Peabody Picture Vocabulary Test, Fourth Edition. Participants completed the Demographic Questionnaire, Epilepsy Severity Scale, Piers-Harris Self-Concept Scale,3rd Edition, and General Functioning 12-item Subscale. Neurology clinic charts were reviewed for the type and frequency of seizures, and the number of antiepileptic drugs.The data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression. The findings revealed that the participants had an average level of self-concept overall and in most domains. However, they had a low level in two domains of self-concept: happiness and satisfaction, and intellectual and school status. Epilepsy severity and family functioning could co-predict overall self-concept by 7.10 % significantly, while there was no correlation between gender and self-concept. Based on the study findings, nursing implications should screen individuals' self-concept (particularly happiness and satisfaction, intellectual and school status), and emphasize the severity of epilepsy and family functioning to promote adolescents with epilepsy for a positive self-concept.
  • PublicationOpen Access
    ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ
    (2566)
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อศึกษาอัตราและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยพิเศษและหอผู้ป่วยวิกฤตศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม พ.ศ 2563 จำนวน 994 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และแบบเก็บข้อมูลการใส่สายสวนปัสสาวะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรนาและ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า อัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะเท่ากับ 5.67 ครั้งต่อ 1,000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะ พบอัตราการติดเชื้อที่หอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรมและหอผู้ป่วยวิกฤต คิดเป็น 21.11 และ 4.39 ครั้งต่อ 1,000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะ ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก พบว่า ปัจจัยทำนายการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้แก่เพศ โรคหัวใจวายการติดเชื้อบริเวณอื่นของร่างกาย และจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะ โดยสามารถอธิบายความผันแปรของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ร้อยละ 39.2 ซึ่งการติดเชื้อบริเวณอื่นของร่างกายและจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะสามารถทำนายโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้อย่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ที่มีการติดเชื้อบริเวณอื่น มีโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 14.46 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อ เมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยเพศ โรคหัวใจวาย และจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะโดยจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะที่เพิ่มขึ้น 1 วัน มีโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 เมื่อควบคุุม อิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ ในโมเดล ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรเพิ่มการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะในกลุ่มผู้ป่วยที่มี การติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกาย และจำเป็นต้องคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานการทบทวนเพื่อถอดสายสวนปัสสาวะเมื่อหมดความจำเป็นสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
  • PublicationOpen Access
    พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการใช้ยาและปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุวัยปลายกลุ่มโรคเรื้อรัง
    (2566) สุุรีย์ภรณ์ แสนทวีสุข; พรทิพย์ มาลาธรรม; นุชนาฏ สุุทธิ; Sureeporn Santaweesook; Porntip Malathum; Nuchanad Sutti
    การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการใช้ยาและปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุวัยปลายกลุ่มโรคเรื้อรัง โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 107 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งใช้บริการและรับยาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมากกว่าแหล่งบริการอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82 สามารถบริหารยาได้ด้วยตนเองโดยจดจำลักษณะและสีของเม็ดยา บรรจุภัณฑ์ ชื่อยา และวิธีรับประทานยา และมีวิธีการบริหารยาโดยการอ่านซองยา การเขียนชื่อยา หรือทำสัญลักษณ์ไว้บนหน้าซองยา แต่กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด คือร้อยละ 90 ไม่ได้ตรวจสอบวันหมดอายุของยา กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้สถานที่หรืออุปกรณ์แตกต่างกัน ตามที่ใช้ในชีวิตประจำวันในเก็บรักษายา ในด้านการจัดการเมื่อมีคำสั่งแพทย์ให้หยุดใช้ยา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นำยาที่ไม่ได้ใช้ไปคืนโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 20 ลืมรับประทานยาและใช้ยาไม่ตรงตามคำสั่งการรักษาทั้งมื้อยาขนาด และชนิดของยาในกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีอาการข้างเคียงจากยา น้อยกว่าครึ่งหนึ่งไปพบแพทย์ก่อนนัด ส่วนที่เหลือมักสังเกตอาการผิดปกติของตนเองหากไม่มีอาการ ผิดปกติร้ายแรง มักรอไปพบแพทย์ตามนัดเดิม ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในด้านการใช้ยาที่เหมาะสมและลดอาการไม่พึงประสงค์จากยาในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง
  • PublicationOpen Access
    Factors Related to Sleep Duration and Night Waking in Hospitalized Infants with Cyanotic Congenital Heart Disease
    (2024) Porntiwa Sanpawut; Autchareeya Patoomwan; Jariya Wittayasooporn; พรทิวา สรรพาวุฒิ; อัจฉรียา ปทุมวัน; จริยา วิทิยะศุุภร
    This study aims to describe factors related to sleep duration and night waking in infants aged 6–12 months old with cyanotic congenital heart disease (CCHD) who were admitted to a pediatric cardiology ward at a tertiary hospital between December 2019 and September 2021. Data were obtained using the Demographic Data Record Form, Sleep-related Factors Questionnaires (the severity of heart failure, temperament,and caregiving activity), and the Infants’ Sleep-wake States Record Form. The record forms were assessed using video recording of the infants during 24 hours, and the data were then analyzed using descriptive statistics, the Pearson product-moment correlation coefficient, and Spearman’s rho correlation. The results revealed that most hospitalized infants with CCHD had a mean total sleep duration during the 24 hours of 770.44 minutes. The average number of night waking was 14.26 times/night. According to the correlation analysis, the severity of heart failure did not show a statistically significant correlation with sleep duration or night waking. Temperament was moderately and significantly correlated with sleep duration but not with night waking. Caregiving activities were moderately and significantly correlated with sleep duration and night waking. These results demonstrate that nurses and healthcare professionals should be aware of sleep problems in infants with cyanotic congenital heart disease and plan interventions to manage sleep disturbance to ensure good sleep quality.
  • PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลัง
    (2566) ดลิน รัตนสุุข; วรางคณา สาริพันธุ์; Dalin Rattanasuk; Warangkana Saripan
    การศึกษาเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังโดยใช้แบบจำลองPRECEDE-PROCEED เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังจำนวน150 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ชุด เพื่อประเมินข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนาสถิติสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่อายุและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลัง การสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังได้ร้อยละ 23 โดยที่การสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรทำนายที่มีอิทธิพลมากที่สุด จากผลการศึกษานี้พยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และส่งเสริมให้ครอบครัวผู้ดูแลร่วมส่งเสริมให้ผู้ป่วยพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง
  • PublicationOpen Access
    ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลปริญญาตรี
    (2566) ชื่นจิตร จันทร์สว่าง; สุนทรี เจียรวิทยกิจ; Chuenjit Junsawang; Soontaree Jianvitayakij
    การวิจัยเชิงบรรยายหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบออนไลน์เพียงอย่างเดียวในช่วงการระบาดของโควิด-19 จำนวน 179 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และแบบสอบถามพฤติกรรมสุุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับเพียงพอและมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีค่าคะแนนเฉลี่ย ค่อนข้างสูง ผลการศึกษายังพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลโดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์รวมทั้งการรู้เท่าทัันสื่อ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
  • PublicationOpen Access
    ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมผู้ดูแลในการจัดการดูแลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและผลข้างเคียงระยะยาว ในเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ภายหลังสิ้นสุดการรักษา
    (2566) พจนีย์ ด่านด่ารงรักษ์; เรณูู พุกบุญมี; สามารถ ภคกษมา; จิราภรณ์ ปั้้นอยู่; Potchanee Dandamrongrak; Renu Pookboonmee; Samart Pakakasama; Jiraporn Punyoo
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมผู้ดูแลในการจัด การดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ชนิดลิมโฟบลาสต์ภายหลังสิ้นสุดการรักษา และนำมาทดลองใช้โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ชนิดลิมโฟบลาสต์ ก่อนและหลังได้รับการสนับสนุนการจัด การดูแลเด็ก และติดตามผลข้างเคียงระยะยาวภายหลังสิ้นสุดการรักษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ตั้งแต่อายุ 1 ปี ถึง 12 ปีจำนวน 20 ราย ได้รับการสนับสนุนตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาจากแนวคิดการจัดการตนเองของเครียร์ ประกอบด้วยการตั้งเป้าหมาย การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการประเมินผลการตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติและการสะท้อนกลับ ตนเอง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินการ และระยะติดตาม รวมเวลา 4 เดือน เครื่องมือที่ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล (สำหรับ ผู้ดูแล) แบบ ประเมินผลข้างเคียงระยะยาว (สำหรับ ผู้ดูแล) และแบบสอบถามพฤติกรรมดูแลสุุขภาพเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับ การสนับสนุนตามแนวปฏิบัติ การพยาบาล กลุ่มตัว อย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ชนิดลิมโฟบลาสต์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังดำเนินการ 1 เดือน พบมีอาการซีด 2 ราย หลังดำเนินการ 4 เดือน เด็กทั้งหมดไม่พบอาการหรืออาการแสดงความผิดปกติในทุกระบบจ ากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พยาบาลสามารถนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้กับ ผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ชนิดลิมโฟบลาสต์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กภายหลังสิ้นสุดการรักษาให้ เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ มีสุขภาพดีขึ้น
  • PublicationOpen Access
    การพัฒนาอุปกรณ์ยึดสายนำเลือดชนิดปรับขนาดได้สำหรับการผ่าตัดหัวใจ
    (2565) สุุเมธี จิระรัตน์กุุล; พิมพ์ณดา พิชัยภาณุพัฒน์; Sumethee Jiraratkul; Pimnada Pichaiphanupatt
    สายนำเลือดแดงและสายนำเลือดดำเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับวงจรการทำงานของเครื่องหัวใจและปอดเทียม เปรียบเสมือนหลอดเลือดใหญ่ของผู้ป่วย ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผููกยึดสายเหล่านั้นให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญ เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุุดในขณะผ่าตัดหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ข้อจำกัดของอุุปกรณ์ยึดสายชนิดเดิม คือ ขาดความคล่องตัว เพิ่มระยะเวลาการเตรียมสาย และเสี่ยงต่อผ้าซับเลือดสููญหาย จุดเด่นของอุุปกรณ์ยึดสายนำเลือดชนิดปรับขนาดได้ คือ ประดิษฐ์จากวัสดุที่หาได้ง่าย ราคาประหยัด และอุปกรณ์สามารถปรับเปลี่ยนขนาดสายที่ถูกยึดได้ตลอดเวลาสามารถยึดสายได้ปลอดภัย ช่วยลดขั้นตอนในการเตรียมสายต่าง ๆ ส่งผลให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยการประเมินความพึงพอใจหลังจากทดลองใช้อุปกรณ์โดยศัลยแพทย์ พยาบาลห้องผ่าตัด และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก พบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ระดับพึงพอใจมากที่สุดอุปกรณ์ยึดสายนำเลือดชนิดปรับขนาดได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิก ช่วยเพิ่่มความปลอดภัยให้กับทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี
  • PublicationOpen Access
    ผลของการนวดปากสองวิธีต่อความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด
    (2566) เจนจิรา แม้นประเสริฐ; จริยา วิทยะศุภร; ทิพวัลย์ ดารามาศ; Janjira Manprasert; Jariya Wittayasooporn; Tipawan Daramas
    การค้นหาระยะเวลาและจำนวนวันการนวดปากกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่น่าสนใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด ระหว่างกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับการนวดปากตามวิธีที่พัฒนามาจากเทคนิคของฟูไซด์และคณะ และกลุ่มที่ 2 ตามวิธีของ เลสเซน ซึ่งใช้ระยะเวลาและจำนวนวันในการนวดปากแตกต่างกัน ความสามารถในการดูดนมมารดา ได้แก่ พฤติกรรมการดูดนมมารดา ปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ใน 5 นาทีแรก และจำนวนวันที่เปลี่ยนผ่านจากการได้รับนมทางสายยางไปเป็นการดูดนมได้เอง กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุุหลังปฏิสนธิ 28-32 สัปดาห์เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 34 ราย โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละเท่ากันโดยวิธีการจับสลากแบบไม่แทนที่กลุ่มตัวอย่างฉลากเลขคี่ได้รับการนวดปากวิธีที่ 1 วันละ 1 ครั้ง ๆละ15 นาที ติดต่อกัน 10 วัน กลุ่มตัวอย่างฉลากเลขคู่ ได้รับการนวดปากวิธีที่ 2 วันละ 1 ครั้ง ๆละ 5 นาที ติดต่อกัน 7 วัน เมื่อทารกได้รับการกระตุ้น ครบตามกำหนดและแพทย์ทารกแรกเกิดลงความเห็นให้ทารกดููดนมจากเต้ามารดา ดูแลให้ทารกดูดนมมารดาเป็นเวลา 5 นาที ขณะเดียวกันสังเกตุพฤติกรรมการดูดนมมารดโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังดูดนมมารดาเพื่อใช้คำนวนปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ใน 5 นาทีแรก และนับจำนวนวันที่เปลี่ยนผ่านจากการได้รับนมทางสายยางไปเป็นการดููดนมได้เอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney Test ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการนวดปากกระตุ้น การดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์ โดยวิธีที่ 2 ซึ่งใช้ระยะเวลาและจำนวนวันสั้นกว่า เป็นวิธีการกระตุ้น ที่ไม่มากเกินจำเป็น
  • PublicationOpen Access
    ผลของสถานการณ์จำลองทางคลินิกต่อความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
    (2565) สุุมลชาติ ดวงบุุบผา; สุุนทรี เจีียรวิทยกิจ; พรศิิริ พิพัฒนพานิช; ธีีรวัฒน์ ช่างปัด; Sumolchat Duangbubpha; Soontaree Jianvitayakij; Pornsiri Phipatanapanit; Teerawat Changpad
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้หลักการการดููแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับพยาบาล (Quality and Safety Education for Nurses—QSEN) มีวัตถุุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยของนักศึกษาพยาบาลขณะเข้าเรียนรู้ในสถานการณ์จำลองทางคลินิก 2) เปรียบเทียบคะแนนความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ระหว่างก่อนและหลังเข้าเรียนรู้ในสถานการณ์จำลองทางคลินิก และ 3) ศึกษาการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลจาก การสอนด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ สถานการณ์จำลองทางคลินิก 3 สถานการณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาล แบบสอบถามความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย และ แบบสอบถามการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทีคู่ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลในการดููแลผู้ป่วยทั้ง 3 สถานการณ์ ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100 ในหัวข้อการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือ และปฏิบัติได้ถูกต้องร้อยละ 50–66.67 ในหัวข้อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการพัฒนาคุณภาพ 2) นักศึกษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยในช่วงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยสถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) การสอนด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิกส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักศึกษาพยาบาลในระดับสููง รูปแบบการจัดสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่่มีคะแนนเฉลี่ยสููง 3 อันดับแรกคือ การสะท้อนคิด การเข้าร่วมในสถานการณ์จำลองและการเป็นผู้สังเกตการณ์ ผลการวิจัยนี้สะท้อนผลของการสอนด้วยสถานการณ์จำลองทางคลินิกต่อความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการดููแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย อาจารย์ผู้สอนสามารถใช้สถานการณ์จำลองทางคลินิกในการจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ ในการดูแลผู้ป่วยและส่งเสริมความตระหนักต่อการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยก่อนขึ้นฝึกในภาคปฏิบัติ
  • PublicationOpen Access
    การเปรียบเทียบอัตราการปฏิบัติของบุคลากรทีมสุขภาพตามแนวทางการแยกผู้ป่วยแบบสัมผัสระหว่างกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงสูงในการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน
    (2565) มุขพล ปุนภพ; พรทิพย์ มาลาธรรม; กําธร มาลาธรรม; Mukkapon Punpop; Porntip Malathum; Kumthorn Malathum
    การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการปฏิบัติของบุคลากรโรงพยาบาลตามแนวทางการแยกผู้ป่วยแบบสัมผัสระหว่างกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงสูงในการสัมผั สสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน แนวทาง การแยกผู้ป่วยแบบสัมผัสครอบคลุุมด้านการทำความสะอาดมือ การใช้กาวน์ การใช้ถุุงมือคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกโดยผู้เข้าร่วมวิจัยคือ บุคลากรแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ที่่ปฏิบัติงาน และนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุุรกรรมของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจำนวน 560 ครั้งของการดูแลผู้ป่วยที่ได้จากการการสุ่ม แบ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสููงและความเสี่ยงต่ำต่อการสัมผัสสารคัดหลั่ง 330 ครั้งและ 230 ครั้งตามลำดับ การแบ่งกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำหรือสููง พิจารณาจากการที่บุคลากรสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อต่อยาฯ มากน้อยเพียงใด วิเคราะห์ข้อมููลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบไคสแควร์ พบว่า บุคลากรทีมสุขภาพ มีอัตราการปฏิบัติตาม แนวทางการแยกผู้ป่วยแบบสัมผัสในด้านการทำความสะอาดมือ การใช้กาวน์ และการใช้ถุงมือในกิิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสัมผัสสารคัดหลั่งน้อยกว่ากิจกรรมที่่มีความเสี่ยงสููงในผู้ป่วยที่่มีเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะหลายขนานอย่างมีนััยสำคัญทางสถิติทั้งในระยะก่อนและหลังการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสนใจในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสัมผัสสารคัดหลั่งด้วยเพื่อป้องกันการละเลยช่องว่างนี้ และจะทำให้การควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาหลายขนานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น