Publication: ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Journal Title
วารสารพยาบาลศาสตร์
Volume
40
Issue
4
Start Page
49
End Page
64
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค. 2565), 49-64
Suggested Citation
แสงระวี สุทัศน์, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, Saengrawee Sutas, Wanida Sanasuttipun, Arunrat Srichantaranit ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค. 2565), 49-64. 64. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99210
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด
Alternative Title(s)
Relationships between Health Literacy, Self Efficacy, Social Support and Care Behavior of Caregivers of Children with Leukemia Undergoing Chemotherapy
Author's Affiliation
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด อายุ 1-5 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคเลือดและมะเร็ง และหอผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 4 แห่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 85 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแล 3) แบบสอบถามความแตกฉานทางสุขภาพ 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการวิจัย: ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับเคมีบำบัด มีพฤติกรรมการดูแลอยู่ในระดับมาก ความแตกฉานทางสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .45, p < .01, r = .31, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล (r = .13, p > .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแตกฉานทางสุขภาพและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพโดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล ควรส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีความแตกฉานทางสุขภาพและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดเมื่ออยู่ที่บ้านให้ดีขึ้น
Purpose: To examine relationships between health literacy, self-efficacy, social support and care behavior of caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy. Design: Correlational descriptive design. Methods: The study sample included 85 caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy aged 1-5 years attending at the pediatric hematology, oncology clinics and pediatric wards in four tertiary hospitals in Bangkok, The subjects were selected by convenience sampling, Questionnaires were used in collecting data including 1) demographic data questionnaire 2) care behavior questionnaire 3) health literacy questionnaire 4) social support questionnaire, and 5) self-efficacy questionnaire. Data analysis used were descriptive statistics and Spearman’s rank-order correlation. Main findings: Care behavior of caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy was at high level. Health literacy and self-efficacy were significantly and positively correlated with care behavior of caregivers (r = .45, p < .01, r = .31, p < .01), respectively. However, social support was not correlated with care behavior of these caregivers (r = .13, p > .05). Conclusion and recommendations: According to the study findings, care behavior of caregivers was at a high level, and care behavior was correlated with heath literacy and self-efficacy. Therefore, healthcare team, especially physicians and nurses should enhance health literacy and self-efficacy of these caregivers. These strategies would improve care behavior of caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy at home.
Purpose: To examine relationships between health literacy, self-efficacy, social support and care behavior of caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy. Design: Correlational descriptive design. Methods: The study sample included 85 caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy aged 1-5 years attending at the pediatric hematology, oncology clinics and pediatric wards in four tertiary hospitals in Bangkok, The subjects were selected by convenience sampling, Questionnaires were used in collecting data including 1) demographic data questionnaire 2) care behavior questionnaire 3) health literacy questionnaire 4) social support questionnaire, and 5) self-efficacy questionnaire. Data analysis used were descriptive statistics and Spearman’s rank-order correlation. Main findings: Care behavior of caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy was at high level. Health literacy and self-efficacy were significantly and positively correlated with care behavior of caregivers (r = .45, p < .01, r = .31, p < .01), respectively. However, social support was not correlated with care behavior of these caregivers (r = .13, p > .05). Conclusion and recommendations: According to the study findings, care behavior of caregivers was at a high level, and care behavior was correlated with heath literacy and self-efficacy. Therefore, healthcare team, especially physicians and nurses should enhance health literacy and self-efficacy of these caregivers. These strategies would improve care behavior of caregivers of children with leukemia receiving chemotherapy at home.