Publication:
การประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกายด้วยโยคะของนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

dc.contributor.authorณัฐสุภรณ์ โพธิ์โลหะกุลen_US
dc.contributor.authorลักขณา เติมศิริกุลชัยen_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorพิมพ์สุภาว์ จันทนะโสตถิ์en_US
dc.contributor.authorLakkhana Termsirikulchaien_US
dc.contributor.authorTharadol Kengganpanichen_US
dc.contributor.correspondenceลักขณา เติมศิริกุลชัยen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-12T06:01:58Z
dc.date.accessioned2017-06-30T08:40:36Z
dc.date.available2015-06-12T06:01:58Z
dc.date.available2017-06-30T08:40:36Z
dc.date.created2558-06-12
dc.date.issued2555
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบเป็นนักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 2 และ 3 ของวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีกลุ่มละ 35 คน โปรแกรมประกอบด้วยการให้ความรู้ การสร้างการรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์ ใช้วิธีการบรรยาย ดูวีดิทัศน์ สาธิต ฝึกปฏิบัติ อภิปรายกลุ่ม ใช้ตัวแบบการเล่าประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ ใช้คำพูดชักจูง กระตุ้นทางอารมณ์ และฝึกตามคู่มือที่บ้านนาน 4 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 90 นาที รวม 12 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และทดสอบสมรรถภาพทางกายและจิตใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Student’s t-test ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และมีพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยโยคะ ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และสมรรถภาพทางกาย ของกล้ามเนื้อไหล่ และหลังส่วนล่างอ่อนตัวเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ p<0.007 ตามลำดับ) ด้านความเครียด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ p<0.045 ตามลำดับ) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ควรนำไปประยุกต์ใช้กับนักศึกษาสถาบนัต่างๆ เพื่อการมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of a yoga exercise program by applying self-effi cacy theory among female undergraduates. The experimental group was sophomores and the comparison group was third year female students of Faculty of Thai Traditional Medicine, Rajamangala University of Technology, Pathumthani Province. Each group comprised 35 students. The program included; improving yoga knowledge, self-effi cacy and outcome expectancy by lecture, VCD study, demonstration, group discussion, vicarious experiences from modeling, mastery experience, verbal persuasion, emotional motivation and practice with manual at home. The program was conducted for four weeks, three days/week, 90 minutes/day, totaling 12 sessions. The data were collected by using questionnaires and measuring physical and mental fi tness. Paired Sample t-test and Student’s test were used for data analysis. The research showed that after the intervention, the experimental group had a signifi cantly higher level of knowledge, perceived self-effi cacy, outcomes expectation for practicing yoga exercise, and yoga exercise behaviors than before the intervention and the comparison group (p<0.01), physical fi tness, signifi cantly higher fl exibility of shoulder and lower back muscles were found (p<0.001 and p<0.007, respectively) and stress was significantly lower than before (p<0.001 and p<0.045, respectively). These research results suggests that a yoga exercise program applying selfeffi cacy theory should be used for promoting yoga exercise behavior for undergraduates in order to promote physical and mental health.en_US
dc.identifier.citationวารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (2555), 29-43en_US
dc.identifier.issn0125-1678
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2501
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการออกกำลังกายด้วยโยคะen_US
dc.subjectนักศึกษาหญิงen_US
dc.subjectการรับรู้ความสามารถตนเองen_US
dc.subjectYoga Exerciseen_US
dc.subjectFemale Studentsen_US
dc.subjectSelf-Efficacyen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectวารสารสาธารณสุขศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Public Healthen_US
dc.titleการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกายด้วยโยคะของนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeApplication of self efficacy theory in yoga exercise among female students, Rajamangala University of Technology, Pathum Thani Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttp://www.ph.mahidol.ac.th/journal/42_2/03.pdf

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-lakkhana-2555.pdf
Size:
275.71 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections