Publication: ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การจูงใจ ทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Issued Date
2562
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2562), 29-42
Suggested Citation
นัฏยา สุวลักษณ์, สุปรียา ตันสกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, Nuttaya Suwaluck, Supreya Tansakul, Manirat Therawiwat, Kwanmuang Kaeodumkoeng ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การจูงใจ ทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2562), 29-42. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60266
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การจูงใจ ทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Alternative Title(s)
Effects of an Information – Motivation – Behavioral Skills Program for Preventing Sexual Intercourse among Tenth Grade Students
Other Contributor(s)
Abstract
การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงอายุของวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และนำไปสู่การทำแท้ง เนื่องจากความไม่พร้อม การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การ จูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 63 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการทดลองที่ประยุกต์ใช้แบบจำลอง Information Motivation and Behavioral skills Model นาน 8 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 50 นาที ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติของโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มและ ระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Paired samples t-test และ Independent samples t-test สาหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงไม่ปกติใช้สถิติไร้พารามิเตอร์ ได้แก่ Wilcoxon singed rank test และ Mann Whitney U test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เจตคติต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน แรงจูงใจทางสังคมต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนสูงกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการทดลองนี้มีประสิทธิผลในการเสริมสร้างความรู้ เจตคติ แรงจูงใจทางสังคม ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา การรับรู้ ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียน
This quasi-experimental research aimed to study the effects of information, motivation and behavioral skills program for preventing sexual intercourse among the tenth grade students. The study samples were 63 students, 31 of them were assigned into an experimental group and the other 32 were in a comparison group. The experimental group was required to attend a program based on IMB Model for 8 weeks, 1 session in a week and 50 minutes per session. The comparison group received regular learning activities of the school. Data were collected by self-administered questionnaire developed by the researcher, and were analytical mean scores comparision within groups and between groups by Paired sample t-test and Independent samples t-test. For data not normal distribution Wilcoxon Signed Rank test and Mann Whitney U test were used. Results of the study revealed that after the experiment, the experimental group had significantly better knowledge about preventing sexual intercourse, positive attitude, social motivation, decision making and problem solving skill, perceived self-efficacy and better preventing sexual intercourse than the comparison group (p<0.05). Results of the study showed the effectiveness of the program in enhancing the knowledge, attitude, social motivation, decision making and problem solving skill, perceived self-efficacy, and preventing sexual intercourse of the students. Schools and related organizations could apply the program using learning activities or to add in the health education or guidance in the school curriculum to promote preventing sexual intercourse to students.
This quasi-experimental research aimed to study the effects of information, motivation and behavioral skills program for preventing sexual intercourse among the tenth grade students. The study samples were 63 students, 31 of them were assigned into an experimental group and the other 32 were in a comparison group. The experimental group was required to attend a program based on IMB Model for 8 weeks, 1 session in a week and 50 minutes per session. The comparison group received regular learning activities of the school. Data were collected by self-administered questionnaire developed by the researcher, and were analytical mean scores comparision within groups and between groups by Paired sample t-test and Independent samples t-test. For data not normal distribution Wilcoxon Signed Rank test and Mann Whitney U test were used. Results of the study revealed that after the experiment, the experimental group had significantly better knowledge about preventing sexual intercourse, positive attitude, social motivation, decision making and problem solving skill, perceived self-efficacy and better preventing sexual intercourse than the comparison group (p<0.05). Results of the study showed the effectiveness of the program in enhancing the knowledge, attitude, social motivation, decision making and problem solving skill, perceived self-efficacy, and preventing sexual intercourse of the students. Schools and related organizations could apply the program using learning activities or to add in the health education or guidance in the school curriculum to promote preventing sexual intercourse to students.