Publication: การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลันในโรงพยาบาลรามาธิบดี
Issued Date
2552
Resource Type
Language
tha
ISSN
0858-9739 (Print)
2672-9784 (Online)
2672-9784 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2552), 303-314
Suggested Citation
จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี, สุธีรา จักรกุล เหลืองสุขเจริญ, Jirapee Soonthornkul Na Chonburi, Suteera Chukkul Luengsukcharoen การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลันในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2552), 303-314. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52540
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลันในโรงพยาบาลรามาธิบดี
Alternative Title(s)
Evaluation of Acute Pain Management at Ramathibodi Hospital
Other Contributor(s)
Abstract
คณะอนุกรรมการติดตามประเมินตัวชี้วัดการจัดการความปวดของภาควิชาพยาบาลศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับผิดชอบสร้างระบบการจัดการความปวด กำหนดวิธี
ปฏิบัติเรื่องการจัดการความปวด จัดทำแผ่นพับให้ความรู้ พัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินความปวด
การพัฒนาดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้ทำการประเมินผล
อย่างเป็นทางการ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการติดตามประเมินคุณภาพ
การจัดการความปวดทั้งด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาล
รามาธิบดี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี 11 หอผู้ป่วย
โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยดังนี้ ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดตั้งแต่ 72 ชั่วโมงขึ้นไป
อายุตั้งแต่ 15 ปี ระดับความรู้สึกตัวดีและสามารถสื่อสารได้เข้าใจ เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน
2549 ถึง 30 ธันวาคม 2549 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2. แบบสอบถามตัวชี้วัดเชิงกระบวนการของการจัดการความปวด
3. แบบสอบถามตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ของการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย
ผลการวิเคราะห์เชิงกระบวนการพบว่า ด้านการจัดการความปวด พยาบาลส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือ
ในการประเมินความปวดและมีการบันทึกเกี่ยวกับความปวด ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย ยกเว้นเรื่อง
ความต่อเนื่องในการประเมินความปวด นอกจากนี้ ยังพบว่าในการบริหารยาเพื่อบรรเทาความปวด
ผู้ป่วยได้รับยาฉีดเข้าทางหลอดโลหิตดำเป็นครั้งคราวมากกว่าการฉีดยาตามเวลาที่วางแผนไว้ ส่วน
การบรรเทาความปวดแบบไม่ใช้ยา วิธีที่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเลือกใช้มากที่สุด คือ การจัดท่า ในด้านเชิง
ผลลัพธ์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความปวดที่มากที่สุด และค่าเฉลี่ยของคะแนนการรบกวนการทำ
กิจกรรมและการนอนหลับอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ป่วยร้อยละ 13.6 ไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอาการ
ไม่พึงประสงค์ของยาบรรเทาปวด แต่พบว่าคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดของผู้ป่วย
และญาติอยู่ในระดับดีและดีมาก ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลควรให้ความสำคัญ
กับการประเมินและจัดการความปวดอย่างต่อเนื่องและควรพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดแบบ
ไม่ใช้ยาเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้ร่วมกับการใช้ยาบรรเทาปวด ซึ่งจะส่งผลให้คะแนนความปวดและคะแนน
การรบกวนการทำกิจกรรมและการนอนหลับลดลง
This article presents an evaluation of quality of pain management both process and outcome in post operative patients at Ramathibodi Hospital by the Pain Management Committee. The Pain Management Committee has been established since B.E. 2546. They are responsible for setting the pain management system including developing work instruction and pain quality indicators. The objective of this descriptive study was to evaluate quality of pain management using both process and outcome indicators in postoperative patients admitted to Ramathibodi Hospital. One hundred and sixty nine patients from 11 wards were recruited in the study. The instruments used in this study were 1) the Demographic Questionnaire, 2) the Pain Management Process Indicators, and 3) the Pain Management Outcome Indicators. Data analysis was performed using descriptive statistics. The result of this study showed that most nurses used the numerical rating pain scale and pain document, which met the goal of pain management process. However, they did not continue assessing pain. In addition, most of the patients received pain medication management only when needed rather than around-the-clock. Regarding non-pharmacological management, positioning was most used by these patients. For outcome indicators, mean scores of worst pain, and disturbance of functional activity and sleep were in the moderate level. Of the total sample, 13.6% did not receive information about side effect of analgesics, but their satisfaction levels with pain management were good and very good. Recommendations from this study are that nurses should pay more attention on the continuity of pain assessment and management, as well as develop the non-pharmacological pain management program combined with analgesics to alleviate pain. These may result in decreasing pain intensity, and disturbance of functional activity and sleep.
This article presents an evaluation of quality of pain management both process and outcome in post operative patients at Ramathibodi Hospital by the Pain Management Committee. The Pain Management Committee has been established since B.E. 2546. They are responsible for setting the pain management system including developing work instruction and pain quality indicators. The objective of this descriptive study was to evaluate quality of pain management using both process and outcome indicators in postoperative patients admitted to Ramathibodi Hospital. One hundred and sixty nine patients from 11 wards were recruited in the study. The instruments used in this study were 1) the Demographic Questionnaire, 2) the Pain Management Process Indicators, and 3) the Pain Management Outcome Indicators. Data analysis was performed using descriptive statistics. The result of this study showed that most nurses used the numerical rating pain scale and pain document, which met the goal of pain management process. However, they did not continue assessing pain. In addition, most of the patients received pain medication management only when needed rather than around-the-clock. Regarding non-pharmacological management, positioning was most used by these patients. For outcome indicators, mean scores of worst pain, and disturbance of functional activity and sleep were in the moderate level. Of the total sample, 13.6% did not receive information about side effect of analgesics, but their satisfaction levels with pain management were good and very good. Recommendations from this study are that nurses should pay more attention on the continuity of pain assessment and management, as well as develop the non-pharmacological pain management program combined with analgesics to alleviate pain. These may result in decreasing pain intensity, and disturbance of functional activity and sleep.