Publication: การวิเคราะห์ทางเลือกในการพัฒนาพระราชบัญญัตัวิชาชีพการสาธารณสุข : กรณีศีกษาจังหวัดสระบุรี
dc.contributor.author | สมาน คงสมบูรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | สงครามชัย ลีทองดี | en_US |
dc.contributor.author | สมชาติ โตรักษา | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-05-20T16:46:46Z | |
dc.date.available | 2022-05-20T16:46:46Z | |
dc.date.created | 2565-05-20 | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.description.abstract | การสาธารณสุขเป็นการดำเนินงานที่กระทำเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน และควบคุมโรค เพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บป่วย ในช่วงที่ผ่านมาได้มีความพยายามผลักดัน ให้มี กฎหมายวิชาชีพด้านสาธารณสุข ของผู้เกี่ยวข้องในสาขานี้แต่ปรากฏว่าร่างกฎหมายไม่ผ่านการ พิจารณาของสภานิติบัญญัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เพื่อวิเคราะห์ทางเลือกใน การพัฒนา พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข ทำการศึกษาในกลุ่มบุคลากรในหน่วยงานสาธารณสุข ของจังหวัดสระบุรี จำนวน345 คน โดยมุ่งวิเคราะห์ 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท 2) สาระของกฎหมาย 3) กระบวนการผลักดัน และ 4) ผู้มีบทบาทผลักดัน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way anova) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วยที่จะให้มี พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข โดยมีความคิดเห็นสอดคล้องกับร่างกฎหมายที่ได้มีการยกร่างไว้แล้ว ทั้งในประเด็นนิยามและหลักการ ควบคุมกันเอง โดยอาจใช้ชื่อว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขหรือการสาธารณสุขชุมชนก็ได้ และในประเด็นเกี่ยวกับบทบาทด้านการรักษาเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรกำหนดไว้ เป็นส่วนหนึ่งของนิยามการประกอบวิชาชีพ ส่วนความเห็นต่อองค์กรวิชาชีพอื่นส่วนใหญ่เห็นว่าควรเข้า มามีส่วนร่วมในการผลักดันและมีการรวมตัวกันอย่างเป็นระบบโดยมีองค์กรที่ขบั เคลื่อนโดยเฉพาะ โดยการประสานกับองค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่ได้มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นแล้ว และประเด็นความ ขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการขับเคลื่อนเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขควรเข้ามามีส่วนร่วม สำคัญในการผลักดันกฎหมายด้วย เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความเห็นของกลุ่มผู้มีกฎหมายวิชาชีพ และกลุ่มผู้ประสงค์จะมีกฎหมายวิชาชีพ พบว่ามีความแตกต่างกันในทุกด้าน โดยกลุ่มผู้ประสงค์จะมี กฎหมายวิชาชีพมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาครั้งนี้ ควรที่จะผลักดันอย่างเป็นระบบ โดยการผ่านกลุ่มองค์กรทางวิชาชีพเป็นหลัก เช่น ชมรมหรือสมาคมด้านวิชาชีพ โดยให้สถาบันทางการศึกษาที่เปิดสอนในสาขานี้ เป็นแกนหลักผลักดัน ในขณะเดียวกันควรมีการศึกษาวิจัยอย่างรอบด้านในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล | en_US |
dc.description.abstract | Public Health is the process of health promotion, prevention and diseases control which aim to decrease illness. From way back, there were many attempts to launch the Public Health Profession Act. This research used the combination method to study and analyze the alternatives for developing the Public Health Profession Act. The target group of this study was the concerned officials in Saraburi Health Office. The objectives of this study were to analyze cortex, the Act details, the process of law driven. The sample group for this study was 345 health personnel. The structured questionnaires were used to collect data during the month of November to December 2008. The statistics used for data analysis were percentage, average, standard deviation. One-way Analysis of Variance was also used for comparing the differences of average value of comments. The research result meets that, sample, the group person have vocation side health law. The majority will agree to have Act public health vocation by think correspond bill at lift the body has kept already. Both of in the issue defines and the principle control intimately by might use the name that act of vocation public health legislation or public community health all right. And in the issue about side first aid role majority think the specification to one of define assembling vocation. Vocation other organization should come in to participate in the push and get guide have combination systematically by have the organization where propels especially. Which correspond opinion issue will of person purpose to have vocation law that agrees by the integration and vocation organization that set up. And the issue opposes all that happen in the procedure propels, think Ministry of Public Health should come in to participate in important in the push. When analyse compare with points opinion value of the group person have vocation law and the group will person purpose to have vocation law, meet that. There is the difference in every a side by the group will person purpose to have. Vocation law is valuable point tall average more implily important statistics that way at p-value 0.05. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 31, ฉบับที่ 109 (พ.ค.- ส.ค. 2551), 24-37 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64765 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ทางเลือกในการพัฒนาพระราชบัญญัตัวิชาชีพการสาธารณสุข : กรณีศีกษาจังหวัดสระบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Optional Analysis for Public Health Professional Law Development: A Case Study in Saraburi Province | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |