Publication:
ประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

dc.contributor.authorสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง
dc.contributor.authorกรกนก เกื้อสกุล
dc.contributor.authorญาดา หงษ์โต
dc.contributor.authorSudaporn Payakkaraung
dc.contributor.authorKornkanok Kuesakul
dc.contributor.authorYada Hongto
dc.date.accessioned2024-10-04T03:37:51Z
dc.date.available2024-10-04T03:37:51Z
dc.date.created2567-10-04
dc.date.issued2567
dc.date.received2567-05-08
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการให้ความหมายประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทย รูปแบบการวิจัย: การศึกษาปรากฎการณ์วิทยาเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: สัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและแบบบอกต่อ ทุกการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้วิจัยทำการมีการบันทึกเสียง ถอดเทปคำต่อคำ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและตีความหมายข้อมูลด้วยวิธีการของโคไลซีร่วมกับการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย: พยาบาลจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 29-59 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 42.80 ปี (SD±8.23) ปฏิบัติงานในคลินิกนมแม่ (ร้อยละ 40, n = 8) อายุงานระหว่าง 5-38 ปี อายุงานเฉลี่ย 19.55 ปี (SD±9.60) ผลการวิจัยนำเสนอประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก 8 ประเด็นย่อย โดย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ปรับวิธีคิดและมุมมองในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) เปลี่ยนวิธีการให้บริการ และ 3) ขับเคลื่อนนโยบายด้านการปฏิบัติด้วยประสบการณ์ ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลที่ติดเชื้อโควิด-19 ยอมรับว่าการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เผชิญกับความท้าทายหลายประการ ประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยโควิด-19 กระตุ้นให้พวกเขาปรับทัศนคติเพื่อให้การพยาบาลที่ดีขึ้น พัฒนาแนวทางใหม่ในการให้บริการด้านสุขภาพ และเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงปฏิบัติด้วยประสบการณ์ ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญด้วยการกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
dc.description.abstractPurpose: To explore the breastfeeding promotion experiences during the COVID-19 pandemic in Thailand of nurses infected with Corona Virus 2019. Design: A descriptive phenomenological study. Methods: In-depth interviews were conducted with 20 nurses infected with COVID-19 and involved in breastfeeding promotion. Participants were selected using purposive and snowball sampling methods. Interviews were guided by a semi-structured format, tape-recorded, and transcribed verbatim. Data were analyzed using Colaizzi’s method of data analysis with thematic analysis to identify emergent themes. Main findings: The study involved 20 nurses aged 29-59 with an average age of 42.80 (SD±8.23) years. Most participants (40%, n = 8) worked in a lactation clinic with work experience ranging from 5-38 years with an average of 19.55 years (SD±9.60). The major findings consist of 3 main themes and 8 sub-themes, of which 3 main themes are: 1) adjusting mindset and perspective in promoting breastfeeding, 2) changing the services approach, and 3) driving practical policies with experience, knowledge, and evidence. Conclusion and recommendations: COVID-19-infected nurses acknowledged that promoting breastfeeding during the COVID-19 pandemic faced several challenges. Experience as COVID-19 patients encouraged them to adjust their attitude to provide better nursing care, develop a novel approach, and be a leader in driving practical policy with experience, knowledge, and evidence. Relevant stakeholders should focus on providing practical policies and developing an effective support system for promoting breastfeeding in pandemic situations.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/101442
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่
dc.subjectไวรัสโคโรน่า 2019
dc.subjectพยาบาล
dc.subjectการวิจัยเชิงคุณภาพ
dc.subjectbreastfeeding
dc.subjectCOVID-19
dc.subjectnurses
dc.subjectqualitative research
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์
dc.subjectJournal of Nursing Science
dc.titleประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
dc.title.alternativeBreastfeeding Promoting Experiences of Nurses Infected with COVID-19
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dcterms.dateAccepted2567-07-11
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/269188
oaire.citation.endPage16
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage1
oaire.citation.titleวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2567), 1-16
oaire.citation.volume42
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ns-ar-kornkano-2567.pdf
Size:
706.36 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections