Publication: ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด
dc.contributor.author | อรวรรณ ปรางประสิทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | Orawan Prangprasit | en_US |
dc.contributor.author | สุพร ดนัยดุษฎีกุล | en_US |
dc.contributor.author | Suporn Danaidutsadeekul | en_US |
dc.contributor.author | อรพรรณ โตสิงห์ | en_US |
dc.contributor.author | Orapan Thosingha | en_US |
dc.contributor.author | ภควัฒน์ ระมาตร์ | en_US |
dc.contributor.author | Patkawat Ramart | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | |
dc.date.accessioned | 2018-06-14T08:37:18Z | |
dc.date.available | 2018-06-14T08:37:18Z | |
dc.date.created | 2561-06-14 | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด รูปแบบการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก 3 เดือนขึ้นไปที่ผ่าตัดด้วยกล้องและแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด 88 ราย ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2556 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกาย3) แบบประเมินความรู้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 4) แบบประเมินโรคร่วม 5) แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ที่มีปัญหาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากค่อนข้างสูง(X = 88.8, SD = 10.63) มีระดับการออกกําลังกายที่มีการใช้พลังงานในการมีกิจกรรมทางกายอยู่ระหว่าง 52.36-293.91หน่วยพลังงานมาตรฐาน ชั่วโมง/สัปดาห์ ร้อยละ 58 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ69.3 มีระดับความรุนแรงของโรคร่วมในระดับน้อย และพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = - .22, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรมีการวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ความรู้ไปพร้อมกับการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานก่อนการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก ตลอดทั้งควรมีการติดตามเป็นระยะ เพราะทุกขั้นตอนมีความสําคัญยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: To investigate the relationships among physical activity, knowledge, comorbidity, andquality of life in patients with urinary incontinence following radical prostatectomy.Design: Descriptive correlational research.Methods: The study sample consisted of 88 patients with urinary incontinence following radicalprostatectomy via laparoscopic radical prostatectomy and robotic-assisted laparoscopic radicalprostatectomy, whose postoperative duration was longer than three months. The study period was fromFebruary to May, 2013. The data collection instruments comprised demographic characteristicquestionnaire, physical activity questionnaire, urinary incontinence knowledge scale, comorbidity scale,and incontinence quality of life questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics andPearson’s product-moment correlation.Main findings: The overall quality of life in patients with urinary incontinence following radicalprostatectomy was relatively high (X = 88.8, SD = 10.63). The subjects’ levels of energy exertion in physical activities ranged from 52.36 to 293.91 MET hours/week. Fifty-eight percent of the subjects hada moderate level of knowledge about urinary incontinence. More than two-thirds of the subjects (69.3%)had a low level of comorbidities, and the study findings revealed that there was a statistically significantnegative relationship between knowledge and quality of life in patients with urinary incontinencefollowing radical prostatectomy (r = - .22, p < .05).Conclusion and recommendations: Nursing care plans should be devised so as to provideknowledge simultaneously with pelvic floor muscle exercises before the radical prostatectomy, and thereshould be periodical monitoring and follow-ups. This is because all of these steps are considerablyimportant to enable patients to have a smooth transition to ensure good quality of life when they returnhome. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 31, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค.), 55-65 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/15276 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | กิจกรรมทางกาย | en_US |
dc.subject | ความรู้ | en_US |
dc.subject | โรคร่วม | en_US |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26507 |