Publication:
โปรแกรมการให้ข้อมูลเสริมแรงจูงใจและทักษะการรับประทานยาเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

dc.contributor.authorภัทราวดี จินตนาen_US
dc.contributor.authorPattarawadee Jintanaen_US
dc.contributor.authorอรวมน ศรียุกตศุทธen_US
dc.contributor.authorAurawamon Sriyuktasuthen_US
dc.contributor.authorคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมลen_US
dc.contributor.authorKanaungnit Pongthavornkamolen_US
dc.contributor.authorเนาวนิตย์ นาทาen_US
dc.contributor.authorNaowanit Nataen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. กองอายุรกรรม. หน่วยไตen_US
dc.date.accessioned2018-08-24T08:49:52Z
dc.date.available2018-08-24T08:49:52Z
dc.date.created2561-08-24
dc.date.issued2559
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเสริมแรงจูงใจ และทักษะการรับประทานยาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟต และระดับฟอสเฟตในเลือดในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดการให้ข้อมูล เสริมแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะ เพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรม เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยและการพัฒนาโปรแกรม ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 70 ราย ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมจากผู้วิจัยเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติและได้รับคู่มือการรับประทานยาจับฟอสเฟตไปศึกษาด้วยตนเองประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 5 และประเมินระดับ ฟอสเฟตในเลือดก่อน และหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 13 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ independent t-test ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดการทดลองมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 69 ราย ก่อนการทดลองพบว่าทั้งสองกลุ่มมีลักษณะไม่แตกต่างกันหลังการทดลองพบ ค่าเฉลี่ยความสม่ำเสมอในการรับ ประทานยาจับฟอสเฟตของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นนี้ จาก 20.82 (SD = 2.93) เป็น 24.55 (SD = 1.46) ส่วนกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นจาก 21.60 (SD = 2.13) เป็น 22.37 (SD = 2.43) โดยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.535, p < .05) อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยระดับฟอสเฟตในเลือดหลังการทดลองของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p > .05) สรุป และข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการให้ข้อมูลเสริมแรงจูงใจและทักษะการรับประทานยาจับฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยามากขึ้นควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีความไม่สมํ่าเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟต รวมทั้งศึกษาติดตามระดับฟอสเฟตในเลือดเพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมต่อการลดระดับฟอสเฟตต่อไปen_US
dc.description.abstractPurpose: To study the effect of Information-Motivation-Behavioral Skills (IMB) Program on phosphate binder adherence and serum phosphate level in hemodialysis patients. Design: A randomized controlled trial. Method: The IMB Model was employed to develop the study intervention. Seventy hemodialysis patients were randomly assigned into the experimental group (N = 35) and the control group (N = 35). The experimental group received the IMB program in addition to usual care for 4 weeks, while the control group received usual care and the phosphate binder user guide for self-study. Phosphate binder adherence was measured at baseline and at week 5. Serum phosphate level was measured at baseline and at week 13. The data were analyzed with descriptive statistics and independent t-test. Main findings: Sixty nine subjects completed the study. At baseline, the experimental group and the control group were not significantly different. After the trial, the mean adherence score in the experimental group increased from 20.82 (SD = 2.93) to 24.55 (SD = 1.46), in the control group increased from 21.6 (SD = 2.13) to 22.37 (SD = 2.43). The findings showed that the level of adherence was significantly higher in the experimental group compared to the control group (t = 4.535, p < .05). However, the serum phosphate levels after the trial between the two groups showed no significant difference (p > .05). Conclusion and recommendations: The program improved adherence to phosphate binder. Thus, it should be implemented in hemodialysis patients who have non-adherence to phosphate binder. Levels of serum phosphate should be followed up to assess the effectiveness of the program to reduce serum phosphate.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 34, ฉบับที่ 2 ( เม.ย. - มิ.ย. 2559), 92-101en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25174
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการให้ข้อมูลen_US
dc.subjectเสริมแรงจูงใจและทักษะความสม่ำเสมอในการรับประทานยาen_US
dc.subjectจับฟอสเฟตen_US
dc.subjectการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleโปรแกรมการให้ข้อมูลเสริมแรงจูงใจและทักษะการรับประทานยาเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมen_US
dc.title.alternativeInformation-Motivation-Behavioral Skills Program Improved Phosphate Binder Adherence in Patients with Chronic Hemodialysisen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/62169

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-aurawamo-2559.pdf
Size:
185.11 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections