Publication: ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเหตุแห่งความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539
dc.contributor.author | ธนาชัย มาโนช | |
dc.contributor.author | อวยชัย อิสรวิริยะสกุล | |
dc.contributor.author | Thanachai Manoch | |
dc.contributor.author | Auaychai Issaraviriyasakul | |
dc.date.accessioned | 2025-05-01T03:16:08Z | |
dc.date.available | 2025-05-01T03:16:08Z | |
dc.date.created | 2568-05-01 | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.date.received | 2563-11-10 | |
dc.description.abstract | เมื่อเกิดความเสียหายกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมีเหตุอันควรเชื่อว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อดำเนินการสอบสวนให้ได้ความว่า ความเสียหายเช่นว่านั้น เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้ใด และการกระทำนั้นเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งทางปกครองให้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน หากเจ้าหน้าที่ไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐชอบที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองดำเนินการยึด อายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่นำมาชำระหนี้ให้กับหน่วยงานของรัฐ แต่หากพบว่าเป็นเพียงการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประเด็นสำคัญที่จะพิจารณาถึงความรับผิดของเจ้าหน้าที่คือ กรณีใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุแห่งความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 ซึ่งถือเป็นประเด็นปัญหาในการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ จากการศึกษาพบว่า เมื่อนำคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมาวิเคราะห์แล้ว การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) จะมีพฤติการณ์และลักษณะ คือ เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่ได้คำนึงสิ่งที่ควรทำในหน้าที่ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งไม่กระทำหรือละเลยที่จะกระทำตามขั้นตอนที่กำหนด และไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเพียงพอ เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ หากได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น ก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการจะพิจารณาว่าพฤติการณ์ใดจะถือว่าเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) อย่างใดจะเป็นเพียงประมาทเลินเล่อ (negligence) ผู้พิจารณาทางปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ควรที่จะศึกษา ค้นคว้า คำพิพากษาศาลปกครอง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หรือแม้แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม นำมาประกอบการใช้เป็นดุลพินิจในการพิจารณา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ | |
dc.description.abstract | When there is a damage occurred in the state agency, and there is a rational evidence which can be proved that the damage was caused by an official, the state agency will set up a committee to investigate the fact of tortious liability in order to investigate who caused the damage no matter with or without intentionally act or negligence which will bring about a wrongful act. If the committee found out that the damage was caused by an intentionally act or gross negligence, the official must be responsible for compensatory damages for the loss of state agency’s property imposed by the administrative order. Failure to comply with the order will result as assets seizure to repay the state agency’s loss. However, if the committee found out that the damage was caused by unintentionally negligence, the official does not have to be responsible for any compensation. The important point is what activities are considering as gross negligence according to the Act on Tortious Liability of Officials B.E. 1996 which is becoming a controversial topic to discuss on the state agency’s consideration.The study found that according to the Supreme Administrative Court’s judgement, gross negligence’s characteristics in the context of government official can be described as willful behavior done with extreme disregard for the duty, safety, caution, related rules and order of the state agency. However, the official who posed with all mentioned characteristic, sometimes has commit with a careful act and somehow could not prevent the damage occurred. Therefore, the study suggests that to consider the case whether or not the act is considered as gross negligence or negligence, the administrative jury who involved in the tortious liability should explore and study the judgement of the Supreme Administrative Court or Court of Justice to support your decision in making judgement with justice to bring about an effective decision in working at state agency. | |
dc.format.extent | 14 หน้า | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 9, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2565), 1-14 | |
dc.identifier.doi | https://doi.org/10.14456/jmu.2022.1 | |
dc.identifier.issn | 2392-5515 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109878 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง | |
dc.subject | gross negligence | |
dc.subject | กฎหมาย | |
dc.subject | พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 | |
dc.title | ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเหตุแห่งความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 | |
dc.title.alternative | Gross Negligence as the Cause of Liability in the Context of Act on Tortious Liabilityof Officials B.E. 1996 | |
dc.type | Article | |
dcterms.accessRights | open access | |
dcterms.dateAccepted | 2564-07-29 | |
dspace.entity.type | Publication | |
oaire.citation.endPage | 14 | |
oaire.citation.issue | 1 | |
oaire.citation.startPage | 1 | |
oaire.citation.title | วารสาร Mahidol R2R e-Journal | |
oaire.citation.volume | 9 | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย |
Files
Original bundle
1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
- Name:
- op-ar-thanachai-2565.pdf
- Size:
- 399.92 KB
- Format:
- Adobe Portable Document Format