Publication:
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

dc.contributor.authorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
dc.contributor.authorChardsumon Prutipinyo
dc.date.accessioned2025-04-09T09:22:30Z
dc.date.available2025-04-09T09:22:30Z
dc.date.created2568-04-09
dc.date.issued2568
dc.description.abstractความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กรณีพิพาทที่นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง มี 3 กรณี; 1) กรณีละเมิดที่เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย 2) กรณีละเมิดที่เกิดจากการออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ซึ่งการออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลใด ก็เป็นการกระทำละเมิดได้และผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ 3) กรณีละเมิดอันจากการละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ล่าช้าเกินสมควร ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ตัวอย่าง คดีทางสิ่งแวดล้อม ศาลจะพิจารณาว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานมีความประมาทในการอนุมัติโครงการหรือไม่ เช่น การละเลยการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือการละเลยการตรวจสอบมลพิษที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ หากศาลเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความประมาทหรือทำผิดหน้าที่จนทำให้เกิดความเสียหาย ผู้ฟ้องสามารถได้รับการชดเชยตามกฎหมาย อายุความการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ผู้ได้รับผลกระทบต้องฟ้องคดี ภายใน 1 ปี นับแต่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี กรณีการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ซึ่งมิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ หรือที่ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดในทางส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเอง ซึ่งก็คือ กรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว หน่วยงานของรัฐไม่ต้องรับผิดเพื่อละเมิดที่เกิดขึ้นนั้น ซึ่งถือเป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายปกครอง หรือละเมิดที่จากการออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือ คำสั่งอื่น หรือละเมิดนั้นมิได้เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายล่าช้าเกินสมควร ผู้ได้รับผลกระทบสามารฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันกระทำละเมิด
dc.description.abstractThe Liability for wrongful act of officials can be classified into three scenarios when disputes are brought before the Administrative Court: 1) Tort cases resulting from government officials exercising their powers under the law. 2) Tort cases caused by the issuance of unlawful regulations, administrative orders, or other directives. If such orders cause harm, the affected party can file a lawsuit with the Administrative Court. 3) Tort cases resulting from neglecting duties required by law, or performing them with excessive delay, causing damage to others. For example, in environmental cases, the court will determine whether officials failed to conduct an environmental impact assessment (EIA), or neglected to inspect pollution caused by a project. If negligence is found, the plaintiff may receive compensation. Statute of limitations for filing a lawsuit: The affected party must file within 1 year from the time they became aware of the cause of action, but not more than 10 years from when the violation occurred. In cases where officials' actions are not part of their official duties, or if the tort is personal, the official is personally liable. The government agency is not liable for personal torts unrelated to official duties, or the exercise of administrative power. In such cases, the injured party must file a lawsuit with the court of justice within 1 year from the time the violation occurred and knew of the responsible party, or not more than 10 years from the time of violation.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2568), 209-217
dc.identifier.issn2697-6285 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109412
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectTort Liability of Officials
dc.subjectGovernment agency
dc.subjectกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
dc.subjectหน่วยงานรัฐ
dc.titleพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
dc.title.alternativeAct on Liability for Wrongful Act of Officials B.E. 2539
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/278262/185130
oaire.citation.endPage217
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage209
oaire.citation.titleวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข
oaire.citation.volume11
oaire.versionAccepted Manuscript
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ph-ar-chardsum-2568-2.pdf
Size:
2.36 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections