Publication: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ. เพิ่มเติม 2), ฉบับที่ 3 (ก.ค - ก.ย. 2554), 84-92
Suggested Citation
ศิริอร สินธุ, Sirion Sindhu, รสสุคนธ์ วาริทสกุล, Rotsukon Varitsakul, อรวมน ศรียุกตศุทธ, Aurawamon Sriyuktasuth ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ. เพิ่มเติม 2), ฉบับที่ 3 (ก.ค - ก.ย. 2554), 84-92. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8765
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง
Alternative Title(s)
Factors Associated with Depression in Elderly Peritoneal Dialysis Patients
Abstract
วัตถุประสงค์: ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพทางด้านอารมณ์ที่สําคัญของผู้สูงอายุซึ่งทําให้เกิดข้อจํากัดทั้งด้านร่างกายและจิตสังคมที่เชื่อว่าเป็นอุปสรรคสําคัญในการล้างไตทางช่องท้อง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับปัจจัยส่วนบุคคล ระยะเวลาในการล้างไตทางช่องท้อง การนอนโรงพยาบาล ภาวะโรคร่วม และระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันในผู้สูงอายุที่ล้างไตทางช่องท้อง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายแบบภาคตัดขวาง
วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ล้างไตทางช่องท้องที่ได้จากการคัดเลือกแบบสะดวกจํานวน 100 รายที่มารับบริการที่หน่วยไตเทียม 20 แห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2553 โดยใช้เครื่องมือแบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะโรคร่วม แบบประเมินระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน และประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคร์สแควและสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย: ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ล้างไตทางช่องท้อง เป็นร้อยละ 31 ปัจจัยอาชีพ และการมีญาติผู้ดูแลในการล้างไตทางช่องท้องมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (X2 = 12.011, p = .001, X2 = 6.840, p = .009 ตามลําดับ) ส่วนปัจจัยด้านอายุ ภาวะโรคร่วม และระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .386, p < .001, r = .339, p < .001, r = - .467, p < .001 ตามลําดับ)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลนําไปสู่การวางแผนลดและป้องกันภาวะซึมเศร้า เพื่อให้บริการล้างไตทางช่องท้องที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยสูงอายุต่อไป
Purpose: Depression is a common emotional problem of elderly patients whose their physical and psychosocial limitations would obstacle the peritoneal dialysis (PD) performance. This study was aimed to investigate the prevalence of depression and the relationships between depression and socio-demographic factors, dialysis time, hospitalization, comorbidity, and level of activity in daily living of elderly PD patients. Design: A cross-sectional descriptive study.Methods: A convenient sample of 100 participants was recruited from 20 Dialysis units located in Central and Northern east region during June-December 2010. The patient’s demographic data assessment, the Charlson’s Comorbid Index, the Katz Index, and 9-Item Thai Patient Health Questionnaire were used in the study. Data were analyzed by using the Chi-square and Pearson’s correlation statistics. Main findings: The results found that the prevalence of depression in elderly PD patients was 31%. There were significant relationships between depression and occupation factor and having a PD caregiver factor (X2 = 12.011, p = .001, X2 = 6.840, p = .009 respectively). Moreover, age, comorbidity and level of activity in daily living were moderately associated with depression in elderly PD patients (r = .386, p < .001, r = .339, p < .001, r = - .467, p < .001 respectively). Conclusion and recommendations: These results provide information used to reduce and prevent depressive symptoms in order to effectively deliver the PD service to the patients.
Purpose: Depression is a common emotional problem of elderly patients whose their physical and psychosocial limitations would obstacle the peritoneal dialysis (PD) performance. This study was aimed to investigate the prevalence of depression and the relationships between depression and socio-demographic factors, dialysis time, hospitalization, comorbidity, and level of activity in daily living of elderly PD patients. Design: A cross-sectional descriptive study.Methods: A convenient sample of 100 participants was recruited from 20 Dialysis units located in Central and Northern east region during June-December 2010. The patient’s demographic data assessment, the Charlson’s Comorbid Index, the Katz Index, and 9-Item Thai Patient Health Questionnaire were used in the study. Data were analyzed by using the Chi-square and Pearson’s correlation statistics. Main findings: The results found that the prevalence of depression in elderly PD patients was 31%. There were significant relationships between depression and occupation factor and having a PD caregiver factor (X2 = 12.011, p = .001, X2 = 6.840, p = .009 respectively). Moreover, age, comorbidity and level of activity in daily living were moderately associated with depression in elderly PD patients (r = .386, p < .001, r = .339, p < .001, r = - .467, p < .001 respectively). Conclusion and recommendations: These results provide information used to reduce and prevent depressive symptoms in order to effectively deliver the PD service to the patients.