Publication: กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมในภาคประชาชน
Issued Date
2552-10
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-2437
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
Bibliographic Citation
วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ปีที่ 29, ฉบับที่ 4 (2552), 22-40.
Suggested Citation
ปกรณ์ สุวานิช, Parkorn Suwanich กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมในภาคประชาชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ปีที่ 29, ฉบับที่ 4 (2552), 22-40.. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48703
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมในภาคประชาชน
Alternative Title(s)
Development Process of Community-Based Environmental Public Policy in People Sector
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
นโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมในที่นี้จะหมายถึงนโยบายที่เกิดขึ้นมาจากส่วนล่างของสังคมหรือ
จากประชาชน เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยชุมชนและเพื่อ
ชุมชนเอง มิใช่การให้นโยบายจากภาครัฐลงสู่ภาคสาธารณะหรือภาคประชาชนซึ่งมักไม่ตรงกับความ
ต้องการ ปัจจุบันการเกิดขึ้นมาของนโยบายสาธารณะสิ่งแวดล้อมภาคประชาชนตามที่กล่าวมานี้
มีจำนวนมากขึ้น สาเหตุที่มีการก่อตัวและดำเนินการจนหลายโครงการยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ คือ ปัจจัยที่
ทำให้เกิดกระบวนการจะเริ่มมาจากสิ่งแวดล้อมที่เสียไปก่อนไม่ว่าจะมาจากนโยบายภาครัฐหรือการใช้
อย่างฟุ่มเฟือยของภาคประชาชนเอง ทำให้ผู้นำหรือกลุ่มผู้นำในชุมชนมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของ
สิ่งแวดล้อมที่เลวลง ต่อมาเริ่มเคลื่อนไหวในการปกป้องการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและรักษา
สิ่งแวดล้อมในทันที จากนั้นมีการรวมกลุ่ม มีการสร้างการมีส่วนร่วมและขยายกลุ่มให้ใหญ่มากขึ้น
จนเกิดเครือข่ายต่างๆ แบ่งแยกกันทำหน้าที่ ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างกลุ่ม
มีการสร้างองค์ความรู้จากหลากหลายสาขา จากมหาวิทยาลัยและจากองค์กรทางด้านวิชาการอื่นๆ
มีการเรียนรู้จากการกระทำรวมถึงการผนวกความรู้เข้ากับภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิม มีการสร้างกฎระเบียบง่ายๆ แต่เข้มแข็งออกมาบังคับใช้ร่วมกัน แต่จะไม่ขัดกับตัวกฎหมายหลัก เมื่อเข้มแข็ง
เพียงพอก็จะเกิดการก่อตั้งในลักษณะเป็นทางการที่ใช้ตามหลักกฎหมายเช่นตั้งเป็นมูลนิธิ นอกจากนั้น
ยังมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อในแต่ละชุมชนและ
ที่สุด คือ การสืบทอดความรู้และอุดมการณ์ของผู้ดำเนินการในปัจจุบันสู่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในชุม
ชนนั้นๆ เพื่อความยั่งยืนจนกลายเป็นการดำเนินการที่เปรียบเป็นนโยบายที่มาจากความต้องการของ
ภาคประชาชน
ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองสร้างวงจรนโยบายตามลักษณะของนโยบายศาสตร์ โดยสร้างรูปแบบที่
ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนเมื่อเกิดปัญหานโยบาย ทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือการก่อ
ตัวนโยบาย การตัดสินทางเลือกหรือการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ ผลลัพธ์นโยบาย
การประเมินผลนโยบาย หรือความสำเร็จของนโยบาย และการย้อนกลับของนโยบาย แล้วนำวงจร
นโยบายดังกล่าวมาวิเคราะห์กับกรณีปรากฏการณ์จริงในสังคมไทย รวม 5 กรณี คือ กลุ่มฮัก
เมืองน่าน จ.น่าน โครงการศึกษาฟื้นฟูและจัดการลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่ โครงการพัฒนาที่สูง
ไทย-เยอรมัน จ.เชียงราย กลุ่มวนเกษตรบ้านนาอีสาน จ.ฉะเชิงเทรา การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
ทะเล จ.ตรัง โดยศึกษากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมในภาคประชาชนว่า
มีการเกิดขึ้น การขับเคลื่อนและสืบทอดอย่างต่อเนื่องอย่างไร ตามวงจรนโยบายอย่างไรจนทำให้เกิด
นโยบายสาธารณะในภาคประชาชนขึ้นได้และเป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปใช้ประกอบเป็นแนวทาง
ในการพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมในภาคประชาชนในพื้นที่อื่น ผลการ
ศึกษา พบว่า นโยบายสาธารณะสิ่งแวดล้อมภาคประชาชนเกิดขึ้นตามวงจรนโยบายจริง รวมทั้งมี
ปัจจัยต่างๆ ที่ประกอบกัน ได้แก่ (1) การตระหนักเรื่องสภาพแวดล้อมถูกทำลาย (2) มีผู้นำหรือกลุ่ม
ผู้นำเป็นแกนสร้างความสำนึกรู้ (3) ผู้นำหรือกลุ่มผู้นำจัดเวทีสาธารณะให้เกิดการพูดคุยกันอย่าง
ไม่เป็นทางการ (4) เริ่มต้นปฏิบัติการในทันที (5) ทบทวนและหาองค์ความรู้ในระหว่างปฏิบัติการ
(6) ติดต่อแล้วหาเครือข่ายในพื้นที่อื่น (7) ขยายตัวออกสู่นอกเครือข่ายเดิม (8) ระดมทรัพยากรมา
ดำเนินการ (9) กระจายความรับผิดชอบให้กลุ่มอื่นๆ ในเครือข่ายดำเนินการ (10) สร้างผู้สืบทอด
เจตนารมณ์การรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม หากการดำเนินโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อ
สิ่งแวดล้อมภาคประชาชนดำเนินไปได้ด้วยดีจะต้องมีเงื่อนไขบางประการต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่น
(1) ผู้นำหรือกลุ่มผู้นำจะต้องเป็นผู้มีกระบวนทัศน์ด้านการพัฒนาแนวใหม่ (2) ผู้นำกลุ่มจะต้องมี
จิตสำนึกสาธารณะ (3) ผู้นำหรือกลุ่มผู้นำยินดีที่จะให้บุคคลหรือเครือข่ายอื่นมาร่วมกระบวนการ
(4) สร้างความถูกต้องให้เกิดการยอมรับจากสาธารณะ เช่น ตั้งมูลนิธิ ฯลฯ (5) สิ่งที่ดำเนินการต้อง
ไม่ขัดกับแนวนโยบายแห่งรัฐโดยตรงอย่างชัดเจน
Environmental Public Policy in this research is defined as the bottom-up policy that is builded by local people for people in community to protect and conserve their local natural resources and manage environment. It is so different from the common public policy that created from top-down or by the government sector. Currently, this kind of public policy is created and managed in many local places in Thailand. The research found that the first factor is the local resources were destroyed tremendously and the result is the worse environment. The local people who are leaders or group of leaders can observe a worse environment and try to protect natural resources from damage and conserve the environment immediately. After that the people in community will participate and join together as network both inside and outside area. The development process to protect the local resources is beginning. At last the network is expanded and need more knowledge from higher technicians both in the government and private sectors. They are learning by doing together until they can create simple local regulations to control each other but not obstruct the main law. There is management by participation such as a foundation. Finally, the local public policies such as knowledge and ideology are inherited to the community descendants. This operation becomes to be public policies in the people sector. In this research, a Policy Cycle has been developed according to policy science to analyze. The Public Policy Cycle is composed of seven steps which the researcher synthesized from many theoretical concepts. There are policy problem, policy formation, policy formulation, policy implementation, policy outcome, policy evaluation and policy feedback and have been used to analyze five specific community-based environmental policy cases of Hak Muang Nan Group; Nan Province, Mae Ta Chang Drainage Basin Project; Chiang Mai Province, Thai-German Upland Development Project; Chiang Rai Province, Wana Kaset Banna Isan Group; Chachoengsao Province, and Coastal Resource Administration; Trang Province. The result can explain according to the policy cycle theory. According to this analysis, elements of an effective growth of community-based environment public policy are 1) an awareness of the destroyed environment; 2) a leader or leader group who thinks about social awareness; 3) a leader or leader group which starts initiate local community discussion informally; 4) ability to initiate work immediately; 5) ability to revise and seek knowledge; 6) effective networks; 7) sharing the knowledge to outside networks; 8) seeking for resources to manage the policy; 9) spreading knowledge and responsibility to other networks and 10) building new generation to learn the environmental knowledge. However, prerequisites for a community-based environmental public policy development are that leaders 1) must have new paradigm; 2) must have a public consciousness attitude; 3) willing to invite external assistance for help; 4) develop local regulation and 5) the regulation and rule of the community should be not contrary to state policy law.
Environmental Public Policy in this research is defined as the bottom-up policy that is builded by local people for people in community to protect and conserve their local natural resources and manage environment. It is so different from the common public policy that created from top-down or by the government sector. Currently, this kind of public policy is created and managed in many local places in Thailand. The research found that the first factor is the local resources were destroyed tremendously and the result is the worse environment. The local people who are leaders or group of leaders can observe a worse environment and try to protect natural resources from damage and conserve the environment immediately. After that the people in community will participate and join together as network both inside and outside area. The development process to protect the local resources is beginning. At last the network is expanded and need more knowledge from higher technicians both in the government and private sectors. They are learning by doing together until they can create simple local regulations to control each other but not obstruct the main law. There is management by participation such as a foundation. Finally, the local public policies such as knowledge and ideology are inherited to the community descendants. This operation becomes to be public policies in the people sector. In this research, a Policy Cycle has been developed according to policy science to analyze. The Public Policy Cycle is composed of seven steps which the researcher synthesized from many theoretical concepts. There are policy problem, policy formation, policy formulation, policy implementation, policy outcome, policy evaluation and policy feedback and have been used to analyze five specific community-based environmental policy cases of Hak Muang Nan Group; Nan Province, Mae Ta Chang Drainage Basin Project; Chiang Mai Province, Thai-German Upland Development Project; Chiang Rai Province, Wana Kaset Banna Isan Group; Chachoengsao Province, and Coastal Resource Administration; Trang Province. The result can explain according to the policy cycle theory. According to this analysis, elements of an effective growth of community-based environment public policy are 1) an awareness of the destroyed environment; 2) a leader or leader group who thinks about social awareness; 3) a leader or leader group which starts initiate local community discussion informally; 4) ability to initiate work immediately; 5) ability to revise and seek knowledge; 6) effective networks; 7) sharing the knowledge to outside networks; 8) seeking for resources to manage the policy; 9) spreading knowledge and responsibility to other networks and 10) building new generation to learn the environmental knowledge. However, prerequisites for a community-based environmental public policy development are that leaders 1) must have new paradigm; 2) must have a public consciousness attitude; 3) willing to invite external assistance for help; 4) develop local regulation and 5) the regulation and rule of the community should be not contrary to state policy law.