Publication: การศึกษาลักษณะสมบัติและความเป็นพิษต่อพืชของกากตะกอนนํ้าเสียชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการเกษตร
Issued Date
2009-06
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ. ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 (2552), 25-35
Suggested Citation
อุษณีย์ อุยะเสถียร, สิริพร เอกวรานุกูลศิริ, ปพิชญา ศรีเทพ การศึกษาลักษณะสมบัติและความเป็นพิษต่อพืชของกากตะกอนนํ้าเสียชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการเกษตร. วารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ. ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 (2552), 25-35. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3203
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การศึกษาลักษณะสมบัติและความเป็นพิษต่อพืชของกากตะกอนนํ้าเสียชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการเกษตร
Alternative Title(s)
Characteristics and phototoxic effects of Sewage Sludge for agricultural uses
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของกากตะกอนน้ำเสียชุมชนที่จะนำไปใช้ในการเกษตร
โดยทำการวิเคราะห์ลักษณะสมบัติทางเคมีของกากตะกอนและทดสอบการงอกของเมล็ดพืช กากตะกอน 3 ชนิด
ที่ได้มาจากโรงบำบัดน้ำเสียหนองแขม ได้แก่ กากตะกอนที่ไม่ได้ย่อยสลาย กากตะกอนที่ย่อยสลายแล้ว และปุ๋ย
หมักที่ผลิตจากกากตะกอน ลักษณะสมบัติทางเคมีของกากตะกอนที่ศึกษา ได้แก่ ค่าพีเอช ค่าการนำไฟฟ้า
ความชื้น อินทรียวัตถุ อินทรียคาร์บอน อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ปริมาณธาตุอาหารหลัก และปริมาณ
โลหะหนัก ในการทดสอบการงอกของเมล็ด ใช้น้ำสกัดจากกากตะกอนทั้ง 3 ชนิดและใช้น้ำกลั่นเป็นชุดควบคุม
มาเพาะเมล็ดผัก 2 ชนิด คือเมล็ดกวางตุ้งต้น และเมล็ดผักกาดขาวปลี ผลการศึกษาพบว่าลักษณะสมบัติทางเคมี
ของกากตะกอนทั้ง 3 ชนิดที่วิเคราะห์ได้ ยังมีสมบัติบางประการ เช่น ปริมาณโพแทสเซียมต่ำกว่ามาตรฐาน
ปุ๋ยอินทรีย์ และปริมาณทองแดงและนิกเกิล สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกากตะกอนที่นำไปใช้เพื่อการเกษตร สำหรับ
การทดสอบการงอกของเมล็ด พบว่าการงอกของเมล็ดและความยาวรากเฉลี่ยของกวางตุ้งต้นและผักกาดขาวปลีที่
เพาะในน้ำสกัดจากปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอน เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญ จึงสรุปได้ว่าปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสียชุมชน น่าจะใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ ถ้าสามารถ
ควบคุมปริมาณปุ๋ยหมักที่ใช้ หรือแก้ปัญหาเรื่องความเข้มข้นของโครเมียมและทองแดงที่สูงได้ โดยอาจใช้วิธีการ
ตรึงด้วยสารเคมี เพื่อลดการปนเปื้ อนสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งควรจะทำการศึกษาต่อไป
The objective of this study was to assess the suitability of utilizing sewage sludge in agriculture. Sewage sludge samples, namely non digested sludge, digested sludge and composted sludge were taken from the wastewater treatment plant at “Nongkham”. Chemical characteristic analysis and seed germination testing were carried out. Chemical characteristics analyzed were pH, electrical conductivity, moisture content, organic matter, organic carbon, C/N ratio, macronutrient and heavy metals. In seed germination, Pak-choi (Brassica camprestris L. var. parachinensis Bailey) and Chinese cabbage ( Brassica rapa L. subsp. pekinensis var. cylindrical ) seeds were tested in the 3 extracted sewage sludges and distilled water for control. The results showed that some parameters such as K was below the standards of organic fertilizer and concentrations of Cu and Ni were above the maximum permitted of sewage sludge for agriculture. For seed germination test with Pak-choi and Chinese cabbage seeds in composted sludge extract, no significant differences were observed in seed germination and in mean root length when compared with control (distilled water). Composted sludge might be used as soil conditioner, if the amount of composted sludge used can be controlled or the problem of high concentrations of Cr and Cu can be solved. Immobilization of Cr and Cu to reduce environmental contamination is recommended for further study.
The objective of this study was to assess the suitability of utilizing sewage sludge in agriculture. Sewage sludge samples, namely non digested sludge, digested sludge and composted sludge were taken from the wastewater treatment plant at “Nongkham”. Chemical characteristic analysis and seed germination testing were carried out. Chemical characteristics analyzed were pH, electrical conductivity, moisture content, organic matter, organic carbon, C/N ratio, macronutrient and heavy metals. In seed germination, Pak-choi (Brassica camprestris L. var. parachinensis Bailey) and Chinese cabbage ( Brassica rapa L. subsp. pekinensis var. cylindrical ) seeds were tested in the 3 extracted sewage sludges and distilled water for control. The results showed that some parameters such as K was below the standards of organic fertilizer and concentrations of Cu and Ni were above the maximum permitted of sewage sludge for agriculture. For seed germination test with Pak-choi and Chinese cabbage seeds in composted sludge extract, no significant differences were observed in seed germination and in mean root length when compared with control (distilled water). Composted sludge might be used as soil conditioner, if the amount of composted sludge used can be controlled or the problem of high concentrations of Cr and Cu can be solved. Immobilization of Cr and Cu to reduce environmental contamination is recommended for further study.