Publication: องค์ประกอบของทุรเวชปฏิบัติ
dc.contributor.author | เริงฤดี ปธานวนิช | en_US |
dc.contributor.author | Roengrudee Patanavanich | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-12-03T01:50:57Z | |
dc.date.available | 2018-12-03T01:50:57Z | |
dc.date.created | 2561-12-03 | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.description.abstract | การฟ้องร้องคดีความรับผิดทางการแพทย์หรือทุรเวชปฏิบัติเป็นปัญหาสำคัญ แต่ประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการพิจารณาคดีทุรเวชปฏิบัติ ศาลจะใช้หลักการของกฎหมายลักษณะ ละเมิดเป็นหลักในการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากทุรเวชปฏิบัติมีความแตกต่างจากกรณีละเมิดโดยทั่วไป โดยมีปัจจัยร่วมหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความสัมพันธ์และหน้าที่ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย พยาธิ สภาพของโรค รวมทั้งมาตรฐานแห่งการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้นการพิจารณาคดีทุรเวชปฏิบัติ ให้มีความถูกต้องและเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ได้ยึดหลัก องค์ประกอบสำคัญสี่ประการ อันได้แก่ 1) หน้าที่ของแพทย์อันมีต่อผู้ป่วย 2) การกระทำอันผิดไปจาก มาตรฐานแห่งวิชาชีพ 3) ความเสียหายที่เกิดต่อผู้ป่วย และ 4) ความเสียหายนั้นต้องเป็นผลโดยตรงจาก การกระทำผิดจากมาตรฐานแห่งวิชาชีพ กล่าวคือหน้าที่ของแพทย์อันมีต่อผู้ป่วยจะเริ่มจากความสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตามสัญญา หน้าที่ตามกฎหมายและตามวิชาชีพที่แพทย์ จะพึงมีต่อผู้ป่วย เมื่อความสัมพันธ์เกิดขึ้นแล้วแพทย์มีหน้าที่อันจะต้องรักษาผู้ป่วยให้เป็นไปตาม มาตรฐานแห่งวิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานนี้จะมีหลักพิจารณาต่างกันไปตามบริบท หรือวิสัยและพฤติการณ์ของ สภาวการณ์นั้นๆ หากมีการกระทำอันผิดไปจากมาตรฐานและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ป่วยที่เป็นผล โดยตรงจากการละเมิดนี้ ย่อมถือว่าครบองค์ประกอบความผิดทุรเวชปฏิบัติ ซึ่งปัจจุบันแม้ว่ากฎหมาย ไทยยังไม่ได้มีการกำหนดนิยามที่ชัดเจนขององค์ประกอบของทุรเวชปฏิบัติดังกล่าวนี้เป็นการเฉพาะ แต่ เมื่อพิจารณากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบกับการนำตัวอย่างคดีมาศึกษาเปรียบเทียบแล้วจะพบ องค์ประกอบทั้งสี่ประการในการพิจารณาคดีละเมิดทางการแพทย์ในไทย บทความนี้จึงน่าจะทำให้ความ เข้าใจในองค์ประกอบทุรเวชปฏิบัติชัดเจนขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาความรับผิดทางการแพทย์ใน ประเทศไทย | en_US |
dc.description.abstract | There is no specific laws in Thailand that deals with medical malpractice lawsuits. In general, the Thai court applies tort law which is codified and national to medical malpractice claims. However, the characteristics of medical negligence cases are quite different from general negligence cases in terms of the doctor-patient relationship, the nature of diseases and the standard of care. Therefore, the four mandatory elements of medical malpractice: the duty, the breach of the standard of care, the injury, and the causation between the breach of care and the injury should be considered. To be specific, the duty of care starts from a relationship between a patient and a doctor. When the doctor owns a duty of care to the patient, the doctor must follow the standard of care. If the doctor fails to meet the standard of care proven by other doctors under similar circumstances and that failure causes direct harm to the patient, then medical malpractice by negligence is established. Although, Thailand does not have a clear definition of the four elements coded in a specific law, court decisions in many medical malpractice cases tend to follow these elements. This paper should help readers understand the concept of medical malpractice and be beneficial to medical malpractice trials in Thailand. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560), 211-227 | en_US |
dc.identifier.issn | 2408-249X | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/36942 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี | en_US |
dc.subject | ทุรเวชปฏิบัติ | en_US |
dc.subject | มาตรฐานแห่งวิชาชีพเวชกรรม | en_US |
dc.subject | ความรับผิดทางการแพทย์ | en_US |
dc.subject | ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Public Health & Health Laws Journal | en_US |
dc.title | องค์ประกอบของทุรเวชปฏิบัติ | en_US |
dc.title.alternative | Fundamental Elements of Medical Malpractice | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | http://phad.ph.mahidol.ac.th/journal_law/3-2/11-Roengrudee%20Patanavanich.pdf |