Publication: ปัจจัยทำนายด้านความรู้ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่อความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2564), 64-76
Suggested Citation
พัชราวรรณ เครื่่องแก้ว, วรรณา พาหุวัฒนกร, ฤดี ปุงบางกะดี่, Phatcharawan Kruangkaew, Wanna Phahuwatanakorn, Rudee Pungbangkadee ปัจจัยทำนายด้านความรู้ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่อความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2564), 64-76. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61981
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยทำนายด้านความรู้ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่อความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก
Alternative Title(s)
Predictability of Knowledge, Attitude, Subjective Norm and Perceived Behavioral Control on Intention to the Use of Long - Acting Reversible Contraception among Primipara Pregnant Adolescents
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของความรู้ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกจำนวน 134 รายที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์ จังหวัดพิษณุโลก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดระยะยาว แบบสอบถามทัศนคติในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาว แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาว แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการคุมกำเนิดระยะยาว และความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย: ความรู้ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกได้ร้อยละ 19 (R2 = .19) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงสามารถทำนายความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .302, p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีผลต่อความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ควรเสริมสร้างความตั้งใจในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยให้สามีและสมาขิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการคุมกำเนิดระยะยาว เพื่อที่จะเป็นแรงสนับสนุนในการใช้การคุมกำเนิดระยะยาวให้แก่วัยรุ่น
Purpose: This study aimed to investigate the predictability of knowledge, attitude, subjective norm and perceived behavioral control on intention to the use of long - acting reversible contraception among primipara pregnant adolescents. Design: Correlation predictive design. Methods: The sample consisted of 134 adolescent pregnant women receiving antenatal care at tertiary hospital in Phitsanuloke province. Instruments included the demographic characteristic questionnaire, the knowledge about use of long - acting reversible contraception questionnaire, the attitude towards the use of long - acting reversible contraception questionnaire, the subjective norm towards the use of long - acting reversible contraception questionnaire and the perceived behavioral control towards the use of long - acting reversible contraception questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and Multiple Linear Regression. Main findings: The finding revealed that knowledge, attitude, subjective norm and perceived behavioral control could explain the variances in intention to the use of long - acting reversible contraception among primipara pregnant adolescents by 19% (R2 = .19). Only Subjective norm could predict intention to use long - acting reversible contraception among primipara pregnant adolescents with statistical significance (β = .30, p < .05). Conclusion and recommendations: Subjective norm could predict intention to the use of long - acting reversible contraception in primipara pregnant adolescents. Therefore, it is suggested that midwives and nurse should promote the intention by encouraging husbands and family members as the supporters of adolescent pregnant women to plan together with the adolescents for using long - acting reversible contraception.
Purpose: This study aimed to investigate the predictability of knowledge, attitude, subjective norm and perceived behavioral control on intention to the use of long - acting reversible contraception among primipara pregnant adolescents. Design: Correlation predictive design. Methods: The sample consisted of 134 adolescent pregnant women receiving antenatal care at tertiary hospital in Phitsanuloke province. Instruments included the demographic characteristic questionnaire, the knowledge about use of long - acting reversible contraception questionnaire, the attitude towards the use of long - acting reversible contraception questionnaire, the subjective norm towards the use of long - acting reversible contraception questionnaire and the perceived behavioral control towards the use of long - acting reversible contraception questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and Multiple Linear Regression. Main findings: The finding revealed that knowledge, attitude, subjective norm and perceived behavioral control could explain the variances in intention to the use of long - acting reversible contraception among primipara pregnant adolescents by 19% (R2 = .19). Only Subjective norm could predict intention to use long - acting reversible contraception among primipara pregnant adolescents with statistical significance (β = .30, p < .05). Conclusion and recommendations: Subjective norm could predict intention to the use of long - acting reversible contraception in primipara pregnant adolescents. Therefore, it is suggested that midwives and nurse should promote the intention by encouraging husbands and family members as the supporters of adolescent pregnant women to plan together with the adolescents for using long - acting reversible contraception.
Sponsorship
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนบางส่วนจากบัณฑิตวิทยาลัย และสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล