Publication: การประเมินความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
ISSN
2350-983x
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 30-57
Suggested Citation
ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล การประเมินความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 30-57. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43944
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การประเมินความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Alternative Title(s)
An Assessment of Preparation for Asian Community of Thai Immigration Police, Royal Thai Police Bureau
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพร้อมการดำเนินงาน
แสวงหาแนวทางการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานและรองรับกับ
การดำเนินการตามหลักสากล และวางแนวทางและยุทธศาสตร์การดำเนิน
การเตรียมการในด้านต่าง ๆ ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจ
แห่งชาติในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ใช้การวิจัยเป็นการ
วิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการสำรวจ
ความคิดเห็น (Survey Research) ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ
สังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทุกระดับชั้น
ทั่วประเทศ โดยการสุ่มหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 371 นาย
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการตรวจคุณภาพ
เครื่องมือทั้งการหาค่าความเที่ยงตรงและค่าความเชื่อมั่นและการสนทนากลุ่ม (Focus Discussion) จากหัวหน้าด่านจำนวน 120 นาย จำนวน 9 ครั้ง และ
จากผู้ใช้บริการงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 50 คน จำนวน 2 ครั้ง วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ANOVA และการประมวลผล
เชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า ด้านปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง อายุระหว่าง 31–40 ปี สมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือ
เทียบเท่า มีชั้นยศชั้นประทวน ระยะเวลาการปฏิบัติงานที่สำนักงานตรวจคน
เข้าเมืองจนถึงปัจจุบัน ระหว่าง 0–5 ปี มีรายได้รวมครอบครัว (เฉลี่ยรวม
ต่อเดือน) 20,000–35,000 บาท และสำหรับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่ปัจจุบัน
ได้แก่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 รองลงมาได้แก่ กองบังคับการตรวจ
คนเข้าเมือง 3 ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความ
พร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียม
ความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ แผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
รองลงมาได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ นโยบาย และ อื่น ๆ เช่น วัฒนธรรมของคน
ต่างชาติ เป็นต้น ตามลำดับ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม
เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นเกี่ยว
กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับปานกลาง ไม่ว่าเป็นด้านประสิทธิผล (Effectiveness) และ ประสิทธิภาพ
(Efficiency) ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ด้านปัจจัยทีส่งผลต่อความสำเร็จ
ของการดำเนินการคือ ผลลัพธ์ (Outcome) และความยั่งยืน (Sustainability)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจคนเข้า
เมือง ปรับเปลี่ยนอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภารกิจงาน จัดทำโครงการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ การประสานกับทางจังหวัดหรือ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือในการดูแลและพัฒนา
การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจ (Ad hoc Center) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นต้น
The objectives of this study were to assessment the preparation of Office of Immigration Police, Royal Thai police, for Asian Community B.E. 2558, to search the developmental approaching for meeting the international standard on immigration work including setting up the strategic operation for such community scheme. Mixed method through the quantitative study through the survey research within all immigration police and from all regions by multiple sampling were the research method. Three hundreds and seventy immigration police were the sample. The qualitative approaching by focus discussion with 120 heads of police immigration stations in all areas of Thailand and with the people who were as the client in immigration police. Data were delineated through mean, standard deviations, ANOVA and descriptive approach. The research of this study had revealed as follows; 1. In terms of personal background, most of the sample were female, aged 31-40 years and got marriage, had a Bachelor’s Degree and had worked in their organizations about 5 years. The income level ranged between 20,000- 35,000 Baht. They are working on Division 2 and 3 respectively. 2. The research found that the immigration police officers had expressed a moderate level of effectiveness, efficiency, outcome and sustainability on such preparation. Be that as it may, they expressed a high level of satisfaction in terms of social service and prestige. 3. As far as factors within the preparation is concerned, most of the immigration police officers expressed the factors concerned with the preparation for Asian economic community depending on clear-cutting plan, understanding for Asian community, policy and others concerned such as culture 4. Recommendations from this study are that there is a need to set up the international immigration operation standard, and provide an appropriative position for the right female and male immigration police jobs. Similarly, integrating the inter-agencies units and develop on physical immigration police stations in some areas and establish the task force or ad hoc center units for corporation approach would also be useful.
The objectives of this study were to assessment the preparation of Office of Immigration Police, Royal Thai police, for Asian Community B.E. 2558, to search the developmental approaching for meeting the international standard on immigration work including setting up the strategic operation for such community scheme. Mixed method through the quantitative study through the survey research within all immigration police and from all regions by multiple sampling were the research method. Three hundreds and seventy immigration police were the sample. The qualitative approaching by focus discussion with 120 heads of police immigration stations in all areas of Thailand and with the people who were as the client in immigration police. Data were delineated through mean, standard deviations, ANOVA and descriptive approach. The research of this study had revealed as follows; 1. In terms of personal background, most of the sample were female, aged 31-40 years and got marriage, had a Bachelor’s Degree and had worked in their organizations about 5 years. The income level ranged between 20,000- 35,000 Baht. They are working on Division 2 and 3 respectively. 2. The research found that the immigration police officers had expressed a moderate level of effectiveness, efficiency, outcome and sustainability on such preparation. Be that as it may, they expressed a high level of satisfaction in terms of social service and prestige. 3. As far as factors within the preparation is concerned, most of the immigration police officers expressed the factors concerned with the preparation for Asian economic community depending on clear-cutting plan, understanding for Asian community, policy and others concerned such as culture 4. Recommendations from this study are that there is a need to set up the international immigration operation standard, and provide an appropriative position for the right female and male immigration police jobs. Similarly, integrating the inter-agencies units and develop on physical immigration police stations in some areas and establish the task force or ad hoc center units for corporation approach would also be useful.