SH-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/106
Browse
Recent Submissions
Publication Open Access Factors Associated with Mammograms and Pap Smears Screening: A National Survey in Thailand(2023) Sukanya ChongthawonsatidDuring the COVID-19 epidemic, the accessibility of healthcare facility services was disrupted. This study examined factors associated with having mammograms and Pap smear screenings during the COVID-19 epidemic in Thailand. The study was based on the 2021 Health and Welfare Survey of the Thai National Statistical Office. Skilled interviewers systematically conducted population-based surveys. They polled 11,078,970 women aged 40 or older regarding mammographic screening for breast cancer and 13,460,390 women aged 30 or older about Pap screening for cervical cancer. The independent variables were age, religion, education, occupation, income, healthcare-cost coverage, geographic region, and domicile location. The two dependent variables were mammograms and Pap smears. Univariate and multiple binary logistic regression analyses were performed to identify the factors associated with mammograms for breast cancer and Pap smears for cervical cancer. Results found that cancer screening rates via mammograms and Pap smears decreased during COVID-19 in Thailand. The women who had mammograms and Pap smear screenings were 13.8% and 54.0%, respectively. The primary reason for not undergoing screening was the women’s belief that they did not have any abnormalities in their breasts (64.5%) or cervix (53.1%). Some women were unaware that breast cancer could be screened via mammography (19.2%), while 22.7% believed that Pap smear screening for cervical cancer was unnecessary. Binary logistic regression analyses found that the factors associated with having mammograms and Pap smears were demographic, socioeconomic, geographic, healthcare-cost coverage, and economic status. The Thai government could conduct information campaigns to educate women about the need for breast and cervical cancer screening via mammograms and Pap smears, especially among at-risk populations.Publication Open Access Challenges and Future Tendencies in Thailand’s National Education System(2024) Wichai SiriteerawasuInnovation and technological advancements (e.g., Industry Revolution 5.0, Society 5.0, and Education 5.0) are currently progressing at an extreme rate and scale. These lead to a huge transformation in the educational system worldwide. The educational system of Thailand has been impacted by these advancements as well. However, research investigating the impacts of these advancements on Thailand’s educational system is still scarce. Because of this rationale, this research study was conducted and utilized a qualitative documentary research method to examine the notions of the Industry Revolution 5.0, Society 5.0, and Education 5.0 and their impacts on Thailand’s educational system. The data used in this research were collected from several sources and analyzed using a content analysis. The research findings indicated that it is important for educational institutions in Thailand to grasp the opportunities of these advancements by educating and training current and new generations of educators and students to be competent and cultivating them to be true global citizens. The finding of this research will help educational institutions and stakeholders in formulating policies and plans regarding the development of educational system at the institutional and national levels.Publication Open Access แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โครงการให้บริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ: กรณีศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2566) วาสินี มีวัฒนะ; วราภรณ์ รุจิระวาณิชย์; Wasinee Meewattana; Wraphorn Rujiravanichบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาของระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โครงการให้บริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมโครงการให้บริการรับทำวิจัย และให้บริการทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยได้นำรายการลูกหนี้เงินยืมคงค้าง-การให้บริการวิชาการของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีงบประมาณ 2563-2565 มาเป็นกรณีศึกษา และได้นำแผนผังก้างปลามาใช้วิเคราะห์ข้อมูล บทความนี้พบว่า สภาพปัญหาของระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมฯ ประกอบไปด้วย 4 สาเหตุหลัก คือ บุคลากร วิธีการทำงาน ข้อบังคับฯ/หลักเกณฑ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน จากนั้นได้นำแนวคิด PDCA มาเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมโครงการให้บริการรับทำวิจัย และให้บริการทางวิชาการ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น อาทิ การติดตามลูกหนี้เงินยืม จะทำการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ SMS หรือ แอปพลิเคชัน Line เมื่อครบกำหนดระยะเวลา การจัดทำระบบติดตามและชำระทวงหนี้ที่เป็นระบบ รวมถึงแจ้งขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการส่งใช้ลูกหนี้เงินยืมให้ผู้ปฏิบัติงานทราบอย่างชัดเจนและเป็นระบบ เป็นต้นPublication Open Access แนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา(2566) สราวุธ แพพวก; สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ; Sarawut Paepuak; Somboon Sirisunhirunการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric 2) ปัญหาและอุปสรรค ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล 3) ปัจจัยความสำเร็จ ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 11 ราย ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีการดำเนินงานที่สอดคล้องตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric ครบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) การดำเนินการด้านสถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน 2) การดำเนินการด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การดำเนินการด้านการจัดการของเสีย 4) การดำเนินการด้านการจัดการน้ำ 5) การดำเนินการด้านการขนส่ง และ 6) การดำเนินการด้านการศึกษาและวิจัย สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ 1) การสร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 3) การจัดเก็บข้อมูลที่มีความหลากหลาย 4) ขาดการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินการ และ 5) การสร้างความผูกพันกับชุมชน ด้านปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ 1) ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน 2) การมีส่วนร่วมของทุกคน 3) การสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล 4) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ และ 5) การสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอื่น ในตอนท้ายผู้วิจัยยังได้สังเคราะห์และพัฒนาตัวแบบ U-GREEN เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆPublication Open Access การรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2567) จุฑาทิพย์ ศิรินพวงศ์; ภัทร์ พลอยแหวน; Juthathip Sirinopphawong; Phut Ploywanการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 116 คน ในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา สำหรับวิเคราะห์และอธิบายข้อมูลระดับการรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการหาค่าสถิติแบบ Independent-samples t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุงาน สายงาน รายได้ต่อเดือน สถานภาพครอบครัว และสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการการรักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน จะมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่นที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นบุคลากรที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ อายุงาน รายได้ต่อเดือน สถานภาพครอบครัว และสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการการรักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน จะมีระดับความคาดหวังต่อรูปแบบของสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่นที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นบุคลากรที่มีสายงานที่แตกต่างกันPublication Open Access ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(2567) สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์; Keophouthone Hathalong; Somsak Amornsiriphongการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์ก่อนและหลังปี พ.ศ. 2561 2) เปรียบเทียบนโยบายแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และ 3) เสนอแนวทางเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังปี พ.ศ. 2561 และมีปัญหาหนักในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ประชาชนยังขาดความรู้ในการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 สำหรับนครหลวงเวียงจันทน์ หลังปี พ.ศ. 2563 ปัญหาฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเผาป่าเพื่อการเกษตร ไฟป่า การก่อสร้าง และการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ ส่วนกรุงเทพมหานคร ปัญหาฝุ่น PM2.5 รุนแรงขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการปล่อยควันจากรถยนต์ การเผาขยะและการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรกรรม การเปรียบเทียบนโยบายพบว่า กรุงเทพมหานครมีแผนแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นระบบ โดยมีแผนปฏิบัติการปี 2567 และแผนแม่บทระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) รวมถึงมาตรฐาน Zero Emission และมาตรการทั้งระยะสั้นและยาว ขณะที่นครหลวงเวียงจันทน์ยังไม่มีแผนชัดเจน มีเพียงหน่วยเฉพาะกิจและคำสั่งรัฐบาลในการป้องกันไฟป่าและการเผาจากการเกษตร ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับกรุงเทพมหานคร คือ การบังคับใช้กฎหมายห้ามเผา ศึกษาและเปิดเผยข้อมูลแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 และกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น กลาง และยาว ส่วนข้อเสนอสำหรับนครหลวงเวียงจันทน์คือการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาคเอกชน และประชาสังคมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 อย่างมืออาชีพPublication Open Access An Examining Progress in Research: Cost-effectiveness of Cardiovascular Disease Prevention Using the Markov Model(2024) Mayuree YotawutThis article reviews three-volume collection of previously published articles on cost-effectiveness in cardiovascular disease prevention. Firstly, cost–effectiveness analysis of genetic screening for the Taq1B polymorphism in the secondary prevention of coronary heart disease is conducted. Secondly, a “polypill” aimed at preventing cardiovascular disease could prove highly cost-effective for use in Latin America, and lastly, the cost-effectiveness of intensive atorvastatin therapy in secondary cardiovascular prevention in the United Kingdom, Spain, and Germany is assessed, based on the Treating to New Targets study. All three articles in this paper demonstrate how the Markov model can control strategy in terms of cost savings and increase the mean of quality-adjusted life-years (QALYs). Moreover, the Markov model can be used to demonstrate how healthcare systems can control the cost-effectiveness of drug use in terms of cardiovascular disease related to health benefits, costs, and quality-adjusted life-years (QALYs). In conclusion, employing the Markov model through other interventions, especially in the case of health benefits, cost savings, and quality-adjusted life-years (QALYs) is the main recommendation of this article.Publication Open Access ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี(2567) ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ; อริศรา เล็กสรรเสริญ; Prasert Leksansern; Arisara Leksansernการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ 1) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงในชีวิต ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม 2) แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านแรงงาน สิ่งของเงินทองและบริการ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และ 3) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและพักอาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 478 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของจังหวัดนนทบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 3) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สวัสดิการผู้สูงอายุด้านสังคม แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านแรงงาน สิ่งของเงินทอง และบริการ มีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเด็นการจัดหาสถานที่เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุด้านแรงงาน สิ่งของเงินทองและบริการโดยเฉพาะในประเด็นการได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงิน โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุด้านสังคม แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านแรงงาน สิ่งของเงินทอง และบริการ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุPublication Open Access The Evaluation of Strategic Development Plans of Samut Sakhon Provincial Administration Organization(2024) Seree WoraphongThis study aims at 1) studying the basic information about the strategic development plans of Samut Sakhon provincial administration organization (PAO), 2) evaluating the results of the strategic development plans of Samut Sakhon PAO, 3) studying the problem and obstacle in the implementation of the strategic development plans of Samut Sakhon PAO, and 4) proposing guidelines for effective developing the strategic development plans of Samut Sakhon PAO. The data were collected by surveying 400 stakeholders of Samut Sakhon PAO and interviewing 10 key informants. The results showed that the local citizen samples were satisfied with Samut Sakhon PAO’s 6 strategic developmental plans, namely (1) education development strategy, (2) quality-of-life enhancement strategy, (3) economic development strategy, (4) infrastructure development strategy, (5) environmental conservation and rehabilitation strategy, and (6) city development and administration strategy. Considering the dimensions ranking from the highest to lowest satisfaction scores, it was found that economic development strategy had the highest score (X ̅= 3.97), followed by infrastructure development strategy (X ̅ = 3.90), education development strategy (X ̅ = 3.88), quality-of-life enhancement strategy (X ̅ = 3.87), environmental conservation and rehabilitation strategy (X ̅= 3.82), and city development and administration strategy (X ̅ = 3.82), respectively. These lead to formulating recommendations on the effective and efficient implementation of policy for both the national and provincial level by making plans more practical and solving the economic problems in order to respond to people’s needs and also evaluating the implementation of the strategic development plan in every step.Publication Open Access แนวคิดสุขภาพและการแพทย์ทางเลือก: มุมมองจากผู้ใช้การแพทย์ทางเลือก(2565) เพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์; รัชดา เรืองสารกุล; Penchan Pradubmook Sherer; Ratchada Ruangsarakulการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสุขภาพ และประสบการณ์การใช้การแพทย์ทางเลือก จากมุมมองของผู้เลือกใช้การแพทย์ทางเลือก วิธีการศึกษาใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 ราย ที่มีลักษณะทางสังคม ประชากร อาชีพที่หลากหลาย โดยเลือกแบบเจาะจงกับผู้ให้ข้อมูลที่มีประสบการณ์การใช้การแพทย์ทางเลือกหลายรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีมุมมองด้านสุขภาพในเชิงบูรณาการในทุกมิติ ทั้งการปราศจากโรค หรือความเจ็บป่วย การมีความแข็งแรง มีภูมิต้านทาน มีความสุข และการมีความสามารถในการดูแลตนเอง นิยามสุขภาพจึงไม่ได้มีความหมายที่คงที่ แต่ลื่นไหล เป็นพลวัตร ในขณะที่แนวคิดต่อการแพทย์ทางเลือก มีความหลากหลาย ทั้งการเป็นการแพทย์ที่ไม่ใช่การแพทย์กระแสหลัก การมีศักดิ์ศรีที่ด้อยกว่า การแพทย์แบบองค์รวม บูรณาการ เข้าถึงง่าย เป็นการแพทย์ที่ประชาชนตัดสินใจเลือก และผู้ใช้บริการต่อรองได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สะท้อนแนวคิดเรื่องสุขภาพในยุคหลังสมัยใหม่ ที่มีชุดวาทกรรมที่หลากหลาย และอำนาจในตนในการมุ่งที่จะดูแลตนเอง งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการนำชุดวาทกรรมการแพทย์ทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์การดูแลตนเอง การรับผิดชอบสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อการขับเคลื่อน ส่งเสริม และผลักดันนโยบายการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในการดูแลตนเองด้านการแพทย์ทางเลือกอย่างเป็นรูปธรรม และเพิ่มช่องทางการให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกที่หลากหลาย และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเลือก สนับสนุนองค์กรประชาคมสุขภาพในระดับรากหญ้าในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการแพทย์ทางเลือกPublication Open Access คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราชที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอว ของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม: การศึกษาแบบย้อนหลังและติดตาม(2565) กมลชนก ศิริบัญชาชัย; สุกัญญา จงถาวรสถิตย์; อารีศักดิ์ โชติวิจิตร; Kamolchanok Siribanchachai; Sukanya Chongthawonsatid; Areesak Chotivichitการวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบย้อนหลังและติดตาม เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช ที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอวของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังระดับเอวของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม จำนวน 145 ราย จากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และติดตามคุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยเหล่านั้น จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผ่านการสอบถามทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ ระยะเวลาติดตามผู้ป่วยมีตั้งแต่ 10 เดือน ถึง 6.8 ปี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต 5 มิติ (EQ-5D-5L) และ แบบประเมินสภาวะสุขภาพ Visual Analog Scale (VAS) ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขาก่อนผ่าตัด จะมีปัญหาคุณภาพชีวิตในมิติการเคลื่อนไหว, กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ, และมีความวิตกกังวลหรือความซึมเศร้า มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาก่อนได้รับการผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาติดตามผลการรักษา 4 ปีขึ้นไป จะมีปัญหาคุณภาพชีวิตในมิติการเคลื่อนไหว, การดูแลตนเอง, และกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ มากกว่าผู้ป่วยที่มีระยะเวลาติดตามผลการรักษาน้อยกว่า 2 ปี และ 2 ถึง 4 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาติดตามผลการรักษา และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับความรุนแรง grade II และการมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ แพทย์ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าหลังผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และภายหลังการรักษา 4 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยอาจมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง ทั้งในมิติการเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง และกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ แนะนำให้ผู้ป่วยบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์มาตรฐาน และพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอPublication Open Access นโยบายการคลังกับเงินบาทดิจิทัล: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต(2566) รัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ; สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ; Rhatsarun Tanapaisankit; Somboon Sirisunhirunบทความวิชาการนี้ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Literature Review) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมกับการใช้เงินบาทดิจิทัลที่อาจจะมาถึงในไม่ช้านี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทดสอบนำร่องการใช้เงินบาทดิจิทัลกับภาคประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 กับสถาบันการเงิน 3 แห่งและกลุ่มตัวอย่าง 10,000 ราย รวมถึงการทดสอบในระดับนวัตกรรมว่าเงินบาทดิจิทัลสามารถทำได้มากกว่าแค่การใช้จ่ายในระดับพื้นฐาน หรือการโอนชำระค่าสินค้าและบริการมากน้อยเพียงใด ยิ่งไปกว่านั้น รัฐในการฐานะผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังก็ได้เตรียมความพร้อม สังเกตได้จากที่ได้มีพัฒนาการการปรับใช้สกุลเงินบาทผ่านระบบการชำระเงินของไทยที่ได้ปรับให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ระบบพร้อมเพย์ที่เป็นการใช้สกุลเงินผ่านระบบภาคธนาคารของเอกชน หรือการใช้นโยบายการคลังผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังของธนาคารพาณิชย์ของรัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ศึกษาถึงการใช้สกุลเงินดิจิทัลในประเทศจีนที่ใช้ชื่อว่า หยวนดิจิทัล เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้กับการดำเนินนโยบายการคลังในบริบทของสังคมไทยหากจะมีการใช้เงินบาทดิจิทัลในอนาคตอันใกล้นี้ หรือแต่ละภาคส่วนควรจะมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมืออย่างไร ทั้งนี้ ภาครัฐควรที่จะเตรียมความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ธรรมาภิบาลข้อมูลโดยเฉพาะในด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การจัดตั้งหน่วยงานโดยเฉพาะเพื่อบริหารและยกระดับการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และการสอดประสานนโยบายการเงินร่วมกับนโยบายการคลัง รวมถึงติดตามสถานการณ์การใช้สกุลเงินดิจิทัลในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเตรียมใช้ประโยชน์จากสกุลบาทดิจิทัลในการดำเนินนโยบายการคลังได้ตรงจุด ลดการรั่วไหล มีประสิทธิผลและวัดผลได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยPublication Open Access การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเอกชนที่ดีในต่างประเทศ(2566) ลภัสรดา จิตวารินทร์; อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล; อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล; สุวิมล อุไกรษา; สุวิมล แสนเวียงจันทร์; พรปวีณ์ อุไรสวัสดิ์; ประพิมพ์พรรณ สุวรรณกูฏ; สุปราณี มอญดะ; สายรุ้ง ใจอิ่ม; ยุรฉัตร ชื่นม่วง; สิทธิพร กล้าแข็ง; ชาตรี ลุนดำ; Lapasrada Jitwarin; Uthaithip Jiawiwatku; Athiwat Jiawiwatkul; Suwimol Ukraisa; Suvimon Sanviengchan; Ponpawee Uraisawat; Prapimparn Suvarnakuta; Supranee Monda; Sairung Jaiim; Yurachat Chuenmuang; Sittiporn Klakhang; Chatree Lundamบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์การบริหารจัดการที่ดีของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยภาคเอกชนต่างประเทศจาก 4 ทวีป ได้แก่ 1) ทวีปเอเชีย: ศึกษาจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ 2) เขตโอเชียเนีย: ศึกษาจากประเทศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย 3) ทวีปยุโรป: ศึกษาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และสหราชอาณาจักร 4) ทวีปอเมริกาเหนือ: ศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา โดยใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจากหนังสือ วารสาร บทความวิจัย บทความวิชาการ นโยบาย ในรูปแบบสิ่งพิมพ์และสิ่งพิมพ์ออนไลน์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 - 2021 รวมทั้งสิ้น 72 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์ครั้งนี้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนการวิเคราะห์เนื้อหา การสังเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลการศึกษา พบว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเอกชนในต่างประเทศมีการบริหารจัดการที่ดีร่วมกันอยู่ 15 ประการ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบ 2) การบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบ 3) การบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ 4) การบริหารจัดการบุคลากรอย่างเป็นระบบ 5) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย 6) การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ 7) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน 8) การดูแลและพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน 9) การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูและสุขภาพ 10) การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร 11) การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม ปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นพลเมืองดี 12) การส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป 13) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 14) การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน และ 15) การจัดการความรู้ภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยPublication Open Access การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและคนลาวบริเวณจุดเชื่อมต่อชายแดนระหว่างประเทศไทยและลาว: กรณีศึกษาสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 จังหวัดบึงกาฬ–เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ(2566) สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์; Keophouthone Hathalong; Somsak Amornsiriphongการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและคนลาวบริเวณจุดเชื่อมต่อชายแดน จังหวัดบึงกาฬ–เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ และ ศึกษาแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและคนลาว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณจุดเชื่อมต่อชายแดนจังหวัดบึงกาฬ–เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ฝั่งไทยจำนวน 6 คน และฝั่งลาวจำนวน คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลชาวลาวต่างรายงานว่า ที่ผ่านมา หน่วยงานรัฐบาลลาวไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวลาว ทั้งในด้านชีวิตด้านร่างกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อม คุณภาพชีวิตด้านสังคม และคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจเท่าใดนัก ส่วนมากประชาชนชาวลาวในพื้นที่จะมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยตนเองเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ผู้ให้ข้อมูลชาวลาวต่างรายงานว่า ตนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข และมีความพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตที่ผ่านมาอยู่แล้ว ส่วนผู้ให้ข้อมูลชาวไทยรายงานว่า ผู้นำชุมชนในพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในแต่ละด้าน โดยเฉพาะการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไทย อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 ประชาชนชาวไทยในพื้นที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะด้านมลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละออง ซึ่งอาจกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และในเรื่องความปลอดภัยตามท้องถนนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ การศึกษายังพบว่า ประชาชนของทั้งสองประเทศมองว่า ภายหลังการก่อสร้างสะพานฯ แล้วเสร็จ จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เกิดการลงทุน การขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวมากขึ้น ประชาชนจะเดินทางได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสองประเทศดีขึ้น ในตอนท้ายผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย-ลาวในพื้นที่ ได้แก่ การประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การเพิ่มไฟส่องทางช่วงกลางคืน การเร่งชดเชยเงินเวนคืนให้แก่ประชาชนที่สูญเสียพื้นที่ทำกิน ตลอดจนการสร้างกิจกรรมร่วมกันของทั้งสองประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสองประเทศได้ในท้ายที่สุดPublication Open Access กลไกการปฏิบัติงานวิเทศสัมพันธ์ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา: กรณีศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2566) ณภาส์ณัฐ คงคารัตน์; Naphanat Kongkaratบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการปฏิบัติงานวิเทศสัมพันธ์ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ภายใต้กรอบแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิเทศสัมพันธ์และความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า กลไกการปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา มีทั้งหมด 7 กลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1) การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านวิเทศสัมพันธ์ของคณะฯ 2) การพัฒนาระบบสนับสนุนงานวิเทศสัมพันธ์ที่สำคัญ 3) การพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ 4) การทำวิจัยและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 5) การเชื่อมต่อใหม่กับมหาวิทยาลัยพันธมิตรเดิมที่ขาดการติดต่อในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาระบาดอย่างหนัก และสร้างเครือข่ายใหม่กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีหลักสูตรสาขาวิชาใกล้เคียงกัน 6) ยกระดับงานบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ และ 7) การสร้างอัตลักษณ์ของคณะฯ ที่เหมาะสม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ทั้งนี้กลไกการปฏิบัติงานที่ดีนั้นควรมีระบบประเมินและตรวจสอบการดำเนินการของงานได้ด้วย องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ แนวทางการทำงานด้านวิเทศสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะแบบ Onsite เท่านั้น การทำงานภายใต้รูปแบบ Hybrid (Online และ Onsite) จะช่วยสร้างความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพ มีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกับการปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ เช่น การนำเอาโปรแกรมการประชุมออนไลน์ระบบ Zoom Cloud Meetings หรือ Cisco WebEx Meetings มาใช้กับงานเจรจาความร่วมมือและการจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยังช่วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านวิเทศสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นPublication Open Access ความต้องการจำเป็นทางด้านสมรรถนะดิจิทัลในช่วงเวลาวิกฤติของผู้บริหารและครูพลศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ภาคตะวันตก(2566) ประเสริฐไชย สุขสอาด; ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์; Prasertchai Suksa-ard; Panchit Longpraditการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารและครูพลศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ภาคตะวันตก ทั้งสภาพทักษะปัจจุบัน และทักษะที่คาดหวัง โดยใช้แบบสอบถามที่มีจำนวนความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะดิจิทัล 25 ข้อ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ผลรวม ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ “ที” (t-test) รวมถึงการคำนวณหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Need Index: PNI modified) ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะดิจิทัลผู้บริหารและครูพลศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ภาคตะวันตก สามารถจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล ด้านการใช้ดิจิทัล ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และด้านการเข้าใจดิจิทัล และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบสภาพทักษะที่เป็นจริง ณ ปัจจุบัน และสภาพทักษะที่คาดหวัง ด้วยค่าสถิติ “ที” พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริหารและครูพลศึกษาปฏิบัติหน้าที่ได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ในชีวิตวิถีถัดไป และเท่าทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา สู่การเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาและการศึกษาบนโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืนPublication Open Access Chinese Foreign Direct Investment and Uneven Development in Thailand: TheCase of the Thai-Chinese Rayong Industrial Zone(2022) Jitsuda Limkriengkrai; จิตรสุดา ลิมเกรียงไกร; Mahidol University. Faculty of Social Sciences and Humanities. Department of Social SciencesThis study examines the role of Chinese foreign direct investment in economic and social development in Thailand, focusing on the Thai-Chinese Rayong Industrial Zone. A qualitative method was used to explore the situation and construct a better understanding of the related issues and broader context of the impact of Chinese foreign direct investment on Thai development. In-depth interviews were conducted with key informants involved in Chinese investment in Thailand. The findings revealed that as a proxy of Chinese foreign direct investment in the domestic economy, the Thai-Chinese Rayong Industrial Zone has helped stimulate development by expanding industrial production and export revenue and increasing employment for the domestic population. However, its impact at deeper levels of development remains mixed. In terms of employment opportunities, most of the low- to semi-skilled positions have gone to Thais, with foreign employees retaining the most senior positions, creating uneven in economic and social growth patterns.Publication Open Access วิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เปรียบเทียบกับของมหาวิทยาลัยมหิดล(2564) สุนิดา เกียรติวัฒนวิศาล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เจตนารมณ์หรือเป้าหมายสำคัญของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐหรือที่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยนอกระบบ” คือ การลดภาระงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลให้การสนับสนุนในรูปงบประมาณแบบวงเงินรวมหรืองบประมาณในรูปเงินก้อน (Block Grant) โดยให้สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสามารถพึ่งพาตนเองได้จากเงินนอกงบประมาณหรือแสวงหารายได้อื่นให้มากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์การวิเคราะห์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบงบประมาณสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - 2565 และทำการศึกษาวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดล จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจะพบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวม 26 หน่วยงาน ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 71,001.2118 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.57 ของงบประมาณทั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) โดยกระทรวง อว. ได้รับงบประมาณลดลง จากปี 2564 จำนวน 1,226.0296 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.70 (ข้อมูลรายงานการวิเคราะห์งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) มหาวิทยาลัย ที่ได้รับงบประมาณสูงสุด คือ มหาวิทยาลัยมหิดล (13,171.4394 ล้านบาท) เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีบุคลากรจำนวนมาก แบ่งเป็นสายวิชาการ จำนวน 4,012 คน และสายสนับสนุนจำนวน 34.107 คน รวมทั้งสิ้น 38,119 คน และมีส่วนงานภายในมากมายรวมถึงมีโรงพยาบาลในสังกัด เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลทันตกรรม และ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยมหิดลถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) มากที่สุดในประเทศไทย แต่ทว่ามหาวิทยาลัยต้องหารายได้จาก การบริการวิชาการ และการวิจัยให้ได้มากกว่า 3 เท่าของเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไปPublication Metadata only วิวัฒนาการแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย(2565) ตฤณห์ โพธิ์รักษา; อุนิษา เลิศโตมรสกุล; Trynh Phoraksa; Unisa Lerdtomornsakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากหนังสือ ตำรา เอกสาร ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ กฎหมาย ประกาศ และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทยที่ผ่านมา จนถึงการบำบัดฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นช่องว่างและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแนวทางการปรับปรุงการบำบัดฟื้นฟูในคดียาเสพติดในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้นำแนวคิดที่มองว่าผู้เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติด โดยเริ่มตราในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2545 แต่เนื่องจาก สถิติผู้ต้องขังในคดียาเสพติดยังมีจำนวนสูงมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กฎหมายเดิมไม่เอื้อต่อระบบสาธารณสุขหรือระบบบำบัดที่เป็นแบบสมัครใจ ระบบบำบัดฟื้นฟูและกลับคืนสู่สังคมยังประสบปัญหา และกระบวนการบำบัดที่ขาดความต่อเนื่องทำให้การบำบัดฟื้นฟูขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น ภาครัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ขึ้น โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาผู้เสพหรือผู้ติดในมิติทางสาธารณสุขและสุขภาพมากขึ้น มีการปรับระบบการบำบัดทั้งระบบสมัครใจ ระบบบังคับ และระบบต้องโทษมาเป็นระบบสมัครใจและระบบบำบัดตามคำสั่งศาลเท่านั้น ซึ่งมีศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมที่ติดตามดูแลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เข้ารับการบำบัด โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการบำบัดไม่กลับไปใช้ยาเสพติดอีก อันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนPublication Open Access ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ การบริหารจัดการทางการเงิน การบริหารจัดการองค์กร และประสิทธิผลการบริหารงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ(2564) จุฑามาศ พูลมี; ศิริพร แย้มนิล; กมลพร สอนศรี; กฤษณ์ รักชาติเจริญ; Juthamas Poonmee; Siriporn Yamnill; Gamolporn Sonsri; Krish Rugchatjaroen; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ การบริหารจัดการทางการเงิน การบริหารจัดการองค์กร และประสิทธิผลการบริหารงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยนี้ คือ หน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ สามารถนำข้อมูลวิจัยมาใช้ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้อย่างถูกต้อง ตระหนักถึงความสำคัญและพร้อมเข้าร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สอดคล้องและเป็นไปในกรอบทิศทางเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นำผลวิจัยมาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสัมฤทธิ์ที่ได้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และนโยบายสำคัญของรัฐบาลต่อไปให้เกิดเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศ ในศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลแบบก้าวกระโดด ตลอดจนรองรับผลกระทบจากพลวัตของกระบวนการโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา