Publication:
การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-72 เดือน แบบบูรณาการโดยชุมชน

dc.contributor.authorกานดาวสี มาลีวงษ์en_US
dc.contributor.authorสายพิณ โชติวิเชียรen_US
dc.contributor.authorวาสนา จันทร์สว่างen_US
dc.contributor.authorสุจิตรา ผลประไพen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.contributor.otherกระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. กองโภชนาการen_US
dc.date.accessioned2022-05-20T16:58:28Z
dc.date.available2022-05-20T16:58:28Z
dc.date.created2565-05-20
dc.date.issued2551
dc.description.abstractการเฝ้าระวังโภชนาการของเด็ก 0-72 เดือน เป็นยุทธศาสตร์ด้านโภชนาการที่สำคัญเพื่อควบคุม และป้องกันภาวะทุพโภชนาการ และส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดี ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินกิจกรรม ดังกล่าวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525 และจากการประเมินระบบเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการของเด็ก ต่ำกว่า 5 ปี เมื่อ พ.ศ. 2545 พบว่า ความครอบคลุมและคุณภาพการดำเนินงานลดน้อยลง การ ดำเนินการแบบบูรณาการและชุมชนมีส่วนร่วมจึงมีความสำคัญยิ่ง การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-72 เดือน แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2548) วเิ คราะห์และพัฒนาเครื่องมือ และคู่มือสำหรับการเฝ้าระวังด้วยนวัตกรรม แนวทางการประเมินพื้นที่เด็กไทยแข็งแรง โดยอาศัยกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อกระตุ้น การดำเนินการด้าน โภชนาการให้เข้มแข็งในพื้นที่ 20 หน่วยบริการปฐมภูมิของ 7 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ชัยภูมิ ลำปาง สุโขทัย สตูล และศรีสะเกษ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2549) เสริมสร้างศักยภาพและพลังความ สามารถของภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้บริหารและสมาชิกองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ครู พี่เลี้ยงศูนย์เด็ก และแกนนำด้านสุขภาพ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ในการดำเนินงานเฝ้าระวัง รวมทั้งมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กรอบแผนที่ยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ โครงการระยะที่ 3 (พ.ศ. 2550) พฒั นาแนวทางการส่งเสริมโภชนาการที่ดี และควบคุมป้องกันภาวะ ทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน รวมทั้งการจัดทำระบบรายงานผลเฝ้าระวังฯ ที่มีความเชื่อมโยง สถานการณ์ภาวะโภชนาการในระดับพื้นที่ ผลการประเมินโครงการ พบว่า ภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ สามารถดำเนินการเฝ้าระวังฯ โดยใช้เครื่องมือและระบบรายงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินและติดตามสถานการณ์ภาวะโภชนาการ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ มีรูปแบบที่ดี อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำ สามารถนำข้อมูลมา จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อจัดทำงบประมาณเสนอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระบบสนับสนุน ที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ การดำเนินการด้านโภชนาการและสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องในลักษณะความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง โดยอาศัยความรู้และ ดำเนินงานด้วยแผนที่ยทุ ธศาสตร์ปฏิบัตกิ ารโครงการ ตามหลักประสิทธิภาพของปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงนั้น จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญขของการ ดำเนินการด้านอาหารและโภชนาการ ร่วมกับการบรรจุแผนงานโครงการเฝ้าระวังในแผนท้องถิ่น 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552) และมีการจัดสรรงบประมาณให้พ้นื ที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องen_US
dc.description.abstractGrowth Monitoring in infants and preschool children (0-72 months age) has been vital strategy for control and prevention malnutrition and nutrition promotion. As such, integrated systematic and management of growth monitoring by communities for communities must be addressed for self health promotion and sustainable growth monitoring with emphasis on mechanism of utilizing the information for health promotion. The objective of this study was to delvelop integrated growth monitoring in infants and preschool children aged 0-72 months by communities. The study design was research for development with three phases of operation (2005- 2007). The first phase (2005) was for tool and manual assessment and development for growth monitoring by innovative assessment of healthy child indicators as well as health promotion process to motivate and strengthen community nutrition. The pilot areas were 20 Primary Case Units in Saraburi, Chainat, Chaiphum, Lampang, Sukhothai, Satun and Srisaket Province. The second phase (2006) was for local network empowerment i.e. health volunteers, administrators and members of local administration, teachers, childcare, attendants and health leaders to motivate growth monitoring participation and knowledge management under strategic linkage model; SLM. The Third phase (2007) was to develop good model of nutrition promotion and control and prevention malnutrition in 0-72 months age children for promotion desirable food and nutrition behavior as well as to delvelop the linkage of growth monitoring with local nutrition situation. Findings revealed that the local networks have a capacity to implement the growth monitoring practice by the application of delveloping tools and system to monitor nutrition situation. Health volunteers and leaders are able to implement the data for budgetary plan for submitting to local administration organization. The essential factors in system development if good supporting system. Local Administrator has to have specific and clariication child delvelopment plan emphasizing nutrition and related health promotion implementation by strong network cooperation. Food and nutrition knowledge and good practice models must be managed and exchanged among concerned parties applying knowledge and strategic mapping of sufficiency economy philosophy. Local administration have develop three years growth monitoring plan (2007-2009) with budgetary allocation.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 31, ฉบับที่ 109 (พ.ค.- ส.ค. 2551), 38-50en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64766
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการประเมินผลโครงการen_US
dc.subjectการเฝ้าระวังโภชนาการของเด็กen_US
dc.subjectระบบรายงานen_US
dc.subjectระบบเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กen_US
dc.titleการประเมินผลโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-72 เดือน แบบบูรณาการโดยชุมชนen_US
dc.title.alternativeEvaluation of Integrated Growth Monitoring by Communities in Infant and Preschool Children (0-72 Months Age)en_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-wasana-2551-1.pdf
Size:
2.18 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections