Publication: การใช้มาตราการเชิงโครงสร้างในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุข
dc.contributor.author | วิวัฒน์ โรจนพิทยากร | en_US |
dc.contributor.author | Wiwat Rojanapithayakorn | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-09-27T04:41:10Z | |
dc.date.available | 2022-09-27T04:41:10Z | |
dc.date.created | 2565-09-27 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description.abstract | เมื่อปี พ.ศ. 2397 เกิดการระบาดของอหิวาจกโรคในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในตอนนั้นยังไม่มีการค้นพบเชื้อโรค แต่มีการอธิบายว่า โรคอหิวาต์เกิดจากอากาศเสีย อย่างไรก็ตามมีวิสัญญีแพทย์ท่านหนึ่งได้วิเคราะห์สาเหตุว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับน้ำดื่มที่ไม่สะอาด โดยพบว่าประชากรที่เป็นอหิวาต์ใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มาจากส่วนล่างของแม่น้ำเทมส์ซึ่งเป็นน้ำสกปรก จากนั้นได้ดำเนินการให้ทางราชการถอดเครื่องปั๊มน้ำของแหล่งน้ำดังกล่าว เพื่อไม่ให้มีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำ โรคก็หยุดระบาด วิธีการสอบสวนดังกล่าวเป็นการใช้มาตรการลดความเสี่ยงของประชาชนโดยให้ระงับการใช้น้ำที่สกปรกและต่อด้วยการปรับปรุงระบบน้ำกินน้ำใช้กับระบบระบายน้ำเสียของกรุงลอนดอน ซึ่งทำให้การระบาดของอหิวาตกโรคไม่เกิดขึ้นอีกเลย เรียกว่าเป็น มาตรการเชิงโครงสร้าง (Structural intervention) ซึ่งศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐ (US CDC) ได้นิยามคำนี้ไว้ว่า “เป็นมาตรการที่ออกแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย โครงสร้างทางกายภาพ โครงสร้างทางสังคม หรือขั้นตอนมาตรฐานของการทำงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมหรือสังคม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามในการใช้มาตรการเชิงโครงสร้างมากขึ้น แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตามมาคือ หลายมาตรการต้องใช้การตรวจสอบและบังคับการปฏิบัติ เช่น การสวมหมวกนิรภัย การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การขับรถขณะมึนเมา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและตักเตือนหรือมีบทลงโทษ การมีระบบตรวจสอบที่ดีจะทำให้ประชาชนประพฤติตนในกรอบของความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นความเคยชิน ปัจจุบันปัญหาทางสาธารณสุขยังคงมีหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทำให้สภาพปัญหาเปลี่ยนแปลงไป โรคติดเชื้อที่เคยเป็นปัญหารุนแรงเริ่มลดลง ยกเว้นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง เช่น เอดส์ และวัณโรค รวมทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในขณะเดียวกัน โรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นสาเหตุการตายลำดับต้นๆ ของแทบทุกประเทศในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหามาจากพฤติกรรมเสี่ยงหลายๆ อย่างประกอบกัน การคิดค้นและดำเนินการตามมาตรการเชิงโครงสร้างให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้ได้ผล | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 37, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2557), 102-107 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-3611 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2651-0561 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79673 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | มาตรการเชิงโครงสร้าง | en_US |
dc.subject | สาธารณสุข | en_US |
dc.title | การใช้มาตราการเชิงโครงสร้างในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุข | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/97441/75900 |