Publication: ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: การศึกษาเปรียบเทียบย้อนหลัง
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 (2554), 20-35
Suggested Citation
เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล, บังอร ชาตริยานุโยค ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: การศึกษาเปรียบเทียบย้อนหลัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 (2554), 20-35. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/4529
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: การศึกษาเปรียบเทียบย้อนหลัง
Alternative Title(s)
Outcomes of using evidence-based clinical nursing practice guideline for patients with hip arthroplasty: a retrospective comparative study
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในด้านความปวดหลังผ่าตัด จำนวนวันที่ลุกเดินได้ครั้งแรกหลังผ่าตัด ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใน 3 เดือนหลังผ่าตัดโดยไม่ได้วางแผน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็น
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 80 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (กลุ่ม 1)ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2548 ถึง ธันวาคม 2548 จำนวน 40 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิก (กลุ่ม 2)ในช่วงเดือนมกราคม 2549 ถึง พฤษภาคม 2549 จำนวน 40รายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2กลุ่มไม่แตกต่างกันส่วนใหญ่เป็น ผู้สูงอายุเพศหญิง เป็นโรคกระดูกสะโพกหัก มีอายุเฉลี่ย 65.55 ปี และ 66.33 ปี ในกลุ่ม1 และกลุ่ม 2 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่ม 2 มีคะแนนความปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า จำนวนวันที่ลุกเดินได้ครั้งแรกหลังผ่าตัดเร็วกว่าระยะเวลานอนโรงพยาบาลน้อยกว่าและภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่ม 1 แต่พบว่าสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดหลังผ่าตัดคือ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะรองลงมาคือ ภาวะสับสนเฉียบพลันเลือดออกในระบบทางเดินอาหารและปอดแฟบอาการไม่พึงประสงค์หลังผ่าตัดที่พบมากที่สุดคือ อาการท้องผูก ผลจากการศึกษานี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น