Publication: การบำบัดน้ำเสียหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดใช้น้ำเป็นตัวทำลาย โดยใช้ฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้า
Issued Date
2551
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2551), 104-115
Suggested Citation
โสภา ชินเวชกิจวานิชย์, วัลภา คุปต์กาญจนกุล, Sopa Chinwetkitvanich, Wallapa Kupkanchanakul การบำบัดน้ำเสียหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดใช้น้ำเป็นตัวทำลาย โดยใช้ฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้า. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2551), 104-115. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2480
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การบำบัดน้ำเสียหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดใช้น้ำเป็นตัวทำลาย โดยใช้ฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้า
Alternative Title(s)
Treatment of water-based flexographic printing ink wastewater using electric arc furnace dust
Corresponding Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากการพิมพ์ในระบบเฟล็กโซกราฟีโดยใช้ฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้า (EAF dust) ทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมโดยแปรค่าพีเอชตั้งแต่ 5-8 ปริมาณฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้า 0-05 กรัมต่อลิตร และระยะเวลาการกวนผสม 5-30 นาที ผลการทดลองพบว่า พีเอชเป็นปัจจัยที่มีบทบาทมากที่สุดต่อประสิทธิภาพการลดสีและซีโอดี นั่นคือ ในสภาวะที่เป็นกรด (พีเอชต่ำกว่า 7 เล็กน้อย) พบว่าปริมาณฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้าที่เติมให้เพิ่มขึ้นและการเพิ่มระยะเวลาการกวนผสมไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในชุดการทดลองที่พีเอชเป็นกลาง (พีเอชของน้ำเสียเอง) พบว่าการเติมฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น (0-50 กรัมต่อลิตร) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการลดสี ซีโอดี และของแข็งแขวนลอยเพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มระยะเวลาการกวนผสมมีผลกระทบน้อยมาก ประสิทธิภาพการลดสีซีโอดี และของแข็งแขวนลอยสูงสุดที่ร้อยละ 99, 88 และ 97 ตามลำดับ เมื่อใช้ปริมาณฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้า 40 กรัมต่อลิตร และใช้เวลาในการกวนผสมเพียง 5 นาทีก็เพียงพอ ผลการวิเคระห์พื้นที่ผิวจำเพาะของฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้าพบว่ามี 0.6 ตารางเมตรต่อกรัม (ด้วยเทคนิค BET ที่ใช้ไนโตรเจนเหลว) ซึ่งถือว่าฝุ่นจากเตาหลอมไฟฟ้านี้มีพื้นที่ผิวน้อยมากไม่เหมาะที่จะเป็นสารดูดซับ ดังนั้น คาดว่ากลไกในการบำบัดน้ำเสียน่าจะเป็นกระบวนการโคแอกกูเลชันมากกว่ากระบวนการดูดซับ This experimental study focuses on the treatability of effluents generated from a water-
based ink industry by using electric arc furnace (EAF) dust. The optimum condition, was therefore
investigated by variations of EAF dust dosages in the range of 0 to 50 g/l, pH of 5 to 8, and of
mixing times (contact time) of 5 to 30 min. The results showed that pH played a significant role
in both color and COD removals. Under acidic condition (pH lower than 7), the addition of EAF
dust and increase of mixing times did not enhance the treatability significantly. While in the case
of neutral pH level (the pH range of wastewater itself), the increase of EAF dust dosages from 0
to 50 g/l significantly affected the treatability, but the effect of mixing times was still small. The
maximum removal efficiencies of color, COD, and SS were 99%, 88% and 97%, respectively, when
using EAF dust dosage of 40 g/l with mixing time of 5 min. In addition, the specific surface area
of EAF dust was about 0.6 m2/g (by BET technique with liquid nitrogen), which was considered
to be a too small amount of surface area to be considered as a proper adsorbent. Therefore, the
mechanisms of those removals would presumably be because of coagulation rather than by adsorption.