Publication: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเองในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินที่มารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
dc.contributor.author | จงจิต เสน่หา | en_US |
dc.contributor.author | พรรณิภา บุญเทียร | en_US |
dc.contributor.author | วันดี โตสุขศรี | en_US |
dc.contributor.author | Chongjit Saneha | en_US |
dc.contributor.author | Pannipa Boontein | en_US |
dc.contributor.author | Wandee Tosuksri | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-04-20T03:23:58Z | |
dc.date.available | 2021-04-20T03:23:58Z | |
dc.date.created | 2564-04-20 | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่สุขภาพและสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเองในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินที่มารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินที่มารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งจำนวน 105 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความเครียด การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่สุขภาพ สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเอง วิเคราะห์โดยใช้สถิติวิจัยเชิงพรรณนา ความสัมพันธ์เพียรสัน และพหุคูณถดถอย ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 56.19 ปี (SD = 16.48) ส่วนใหญ่เป็นหญิงร้อยละ 53.3 ความเครียดปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.56, SD = 0.88) การรับรู้ภาวะสุขภาพปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 48.20, SD = 6.33) การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่สุขภาพดี (gif.latex?\bar{X} = 81.64, SD = 14.56) สมรรถนะแห่งตนสูง (gif.latex?\bar{X} = 88.83, SD = 17.52) และมีพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเองปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 83.87, SD = 7.35) วิเคราะห์ด้วยสถิติพหุคูณถดถอยพบว่าตัวแปรทั้งหมดร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเองได้ร้อยละ 70.4 (Adjusted R2 = .704, F(8,96) = 31.952, p < .001) โดยความเครียด (β = - .634, p < .001) มัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (β = - .392, p = .001) การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่สุขภาพ (β = .353, p = .001) เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรพัฒนารูปแบบการบำบัดทางการพยาบาลเพื่อลดระดับความเครียด ปรับปรุงการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่สุขภาพให้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มสมรรถนะแห่งตนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเองในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินที่มารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอก โดยเน้นในกลุ่มที่มีการศึกษามัธยมและอาชีวศึกษา | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: To study the predictive power of personal factors, stress level, health perception, patient-provider communication, and self-efficacy on obese self-management behaviors in patients with overweight at outpatient department in a university hospital. Design: Correlational predictive study. Methods: A total of 105 patients with overweight came to visit the physician at the outpatient department of a university hospital in Bangkok, Thailand were recruited in the study. The research instruments include questionnaires of demographic form, stress level, health perception, patient-provider communication, self-efficacy, and obese self-management behaviors. Data were analyzed by using descriptive statistics, Spearman Rho correlation, Pearson’s product moment correlation, and multiple regressions. Main Findings: The findings showed that the participants mean age was 56.19 years (SD = 16.48). Majority was female (53.3%). Overall the participants had moderate stress level (gif.latex?\bar{X} = 2.56, SD = 0.88), moderate health perception (gif.latex?\bar{X} = 48.20, SD = 6.33), good patient-provider communication (gif.latex?\bar{X} = 81.64, SD = 14.65), high self-efficacy (gif.latex?\bar{X} = 88.83, SD = 17.52), and moderate obese self-management behaviors (gif.latex?\bar{X} = 83.87, SD = 7.35), In multiple regression analysis, all variables jointly accounted for 70.4% of the variance in obese self-management behaviors (Adjusted R2 = .704, Stress (β = - .634 p < .001). High school and vocational education (β = - .392, p < .001), patient-provider communication (β = .353, p < .001), Self-efficacy (β = .246, p < .05), and no education and elementary school (β = .224, p < .01) were the statistical significant predictors of obese self-management behaviors. Conclusion and recommendations: Nurses should develop nursing interventions for reducing stress, improving patient-provider communication, and increasing self-efficacy in order to promote obese self-management behaviors of patients with overweight at the outpatient department especially in high school and vocational education group. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2564), 77-91 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61982 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | น้ำหนักเกิน | en_US |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่สุขภาพ | en_US |
dc.subject | สมรรถนะแห่งตน | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการจัดการตนเอง | en_US |
dc.subject | ความเครียด | en_US |
dc.subject | overweight | en_US |
dc.subject | patient-provider communication | en_US |
dc.subject | self-efficacy | en_US |
dc.subject | self-management behaviors | en_US |
dc.subject | stress | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | Nursing Science Journal of Thailand | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเองในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินที่มารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Factors Influencing Obese Self-management Behaviors in Patients with Overweight at Outpatient Department in a University Hospital, Bangkok Metropolitan | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/244536 |