Publication: ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
dc.contributor.author | อรวรรณ หล้าสวัสดิ์ | en_US |
dc.contributor.author | สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง | en_US |
dc.contributor.author | พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม | en_US |
dc.contributor.author | Orawan Lasawad | en_US |
dc.contributor.author | Sudaporn Payakkaraung | en_US |
dc.contributor.author | Parnnarat Sangperm | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-11-29T09:02:34Z | |
dc.date.available | 2019-11-29T09:02:34Z | |
dc.date.created | 2562-11-29 | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันอายุ 2-10 ปี ที่พาเด็กมารับการตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมในโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการสอนซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมตามแผนการสอน ซึ่งได้แก่ การให้ความรู้ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ การสาธิตและการสาธิตย้อนกลับ การอภิปรายซักถาม การให้คำแนะนำ และเสริมแรงด้วยการชมเชยให้กำลังใจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติ เครื่องมือวิจัยสำหรับเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความรู้ และแบบประเมินการปฏิบัติของผู้ดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบที แบบสองกลุ่มอิสระและแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัย: พบว่าผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -12.118, p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ พบว่า ภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = - 5.478, p < .05) โปรแกรมการสอนมีผลให้ผู้ดูแลร้อยละ 80 (จำนวน 12 คนจาก 15 คน) สามารถดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงถูกต้องโดยได้คะแนนปฏิบัติมากกว่าร้อยละ 80 สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการสอนในการดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงช่วยให้ผู้ดูแลเด็กมีความรู้มากขึ้นและปฏิบัติการดูแลได้ถูกต้อง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการนำสื่อคอมพิวเตอร์ร่วมกับการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ มาใช้ในการสอนให้ความรู้แก่ผู้ดูแล | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: This study aimed at investigating the effects of planned teaching program on caregivers’ knowledge and practice in care for children with acute diarrhea. Design: A quasi-experimental study. Methods: The research subjects consisted of 30 caregivers who took their children aged between 2 and 10 years old, suffering from acute diarrhea, to receive medical service at pediatric outpatient departments of two private hospitals. Data were collected between June and November 2017. The subjects were divided into the control and experimental groups with 15 subjects each. The experimental group took part in the planned teaching program which consisted of activities determined in lesson plan including knowledge given with the use of computer media, demonstration and return-demonstrations along with a session of question and discussion, as well as provision of advice and praises to the caregivers. Meanwhile, the control group received a usual care. The instruments for data collection consisted of two assessment forms for knowledge and practice. The data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test, and paired t-test. Main Findings: The findings of the study revealed that, in the experimental group, caregiver’s mean score of knowledge after participating in the program was significantly higher than that before participating in the program (t = -12.118, p < .05). Compared to their counterparts, caregivers in the experimental group also had significantly higher mean score of knowledge after participating in the program (t = - 5.478, p < .05). The program showed its effect on practice of the caregivers; that is, 80% of the caregivers (or 12 out of 15) could practice correctly by obtaining practice score more than 80%. Conclusion and recommendations: The planned teaching program helped increase knowledge and proper practice among caregivers in care for children with acute diarrhea. The findings suggest the usefulness of integrating computer media, demonstration and return-demonstration in teaching caregivers. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 37, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2562), 63-78 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48258 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ผู้ดูแล | en_US |
dc.subject | เด็ก | en_US |
dc.subject | โรคอุจจาระร่วง | en_US |
dc.subject | ความรู้ | en_US |
dc.subject | โปรแกรม | en_US |
dc.subject | caregivers | en_US |
dc.subject | children | en_US |
dc.subject | diarrhea | en_US |
dc.subject | knowledge | en_US |
dc.subject | program | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | Nursing Science Journal of Thailand | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Planned Teaching Program on Caregivers’ Knowledge and Practice in Care for Children with Acute Diarrhea | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/197613/151013 |