Publication: ประสบการณ์และปัจจัยเชิงบริบทที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2554), 52-63
Suggested Citation
พรนภา ตั้งสุขสันต์, Pornnapa Tangsuksan, เอมพร รตินธร, Ameporn Ratinthorn ประสบการณ์และปัจจัยเชิงบริบทที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2554), 52-63. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3423
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ประสบการณ์และปัจจัยเชิงบริบทที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา
Alternative Title(s)
Experiences and Contextual Factors Related to Exclusive Breastfeeding in Full-time Working Mothers
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปัจจัยเชิงบริบทที่เอื้อ และที่เป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะก่อนกลับไปทํางานและหลังกลับไปทํางานของมารดาที่ทํางานนอกบ้านเต็มเวลา
รูปแบบของการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ
วิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลเป็นมารดาหลังคลอดที่ทํางานนอกบ้านเต็มเวลาที่มารับบริการ 24 และ 6 เดือนหลังคลอดที่คลินิกสุขภาพเด็กดี และคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจํานวน 29 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: พบประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปัจจัยเชิงบริบทของมารดาที่ทํางานนอกบ้านเต็มเวลาที่จะประสบผลสําเร็จได้นานถึง 6 เดือนได้หรือไม่นั้น ประกอบด้วยปัจจัยที่เอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ซึ่งสามารถสรุปได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การขาดข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะทํางาน ทําให้มารดาไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อกลับไปทำงาน และต้องเผชิญกับปัญหาการมีน้ํานมไม่เพียงพอ 2) ความพยายามในการรักษาปริมาณน้ํานมให้เพียงพอในการเลี้ยงลูกครบ 6 เดือน ขึ้นกับบริบทของการทํางานที่เอื้อต่อการบีบเก็บน้ํานมให้บุตรของมารดา ซึ่งได้แก่ ลักษณะงาน ความรู้สึกถึงความมั่นคงในงาน ความเข้าอกเข้าใจ และความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงาน 3) การแสวงหาข้อมูลที่เอื้อต่อวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากมารดาได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการบีบเก็บน้ํานม และการให้น้ำนมบีบแก่บุตร 4) การสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัวและพี่เลี้ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีส่วนทั้งสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
สรุปและข้อเสนอแนะ: 1) มีการสร้างระบบการวางแผนและการเตรียมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาที่ทํางานนอกบ้านโดยอบรมบุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ทํางาน การให้ข้อมูลและความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ทํางานอย่างชัดเจน และให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจนมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนสําเร็จ 2) ควรมีการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทํางาน
Purpose: To explore the experiences and contextual factors, including barriers and facilitators, related to exclusive breastfeeding for full-time working mothers before and after returning to work.Design: Qualitative research employing interviews.Methods: A total of 29 full-time working mothers were selected for purposive sampling from well-baby and lactation clinics at Siriraj Hospital. Data were collected through semi-structured face-to-face interviews at 2, 4, and 6 months postpartum and analyzed by using content analysis.Main findings: Four main themes of experiences and contextual factors, including barriers and facilitators related to exclusive breastfeeding, emerged. These were: 1) Insufficient information for breastfeeding during work. Mothers could not prepare for breastfeeding prior to returning to work and faced problems with insufficient breast milk; 2) Struggles in maintaining sufficient breast milk for 6 months depending on working contexts that supported breast milk expression. This included work characteristics, feeling secure at work, and understanding and support from colleagues; 3) Seeking information to facilitate breastfeeding. Mothers received insufficient information on methods of breast milk expression and feeding breast milk to their babies; and 4) Support from family members and child care workers. These could be both a support and an obstacle to breastfeeding.Conclusion and recommendations: A breastfeeding plan and preparation system for full-time working mothers should be developed, including training of health care providers to provide clear information and knowledge of breastfeeding to working mothers, and help them to accomplish 6 months of exclusive breastfeeding. Moreover, breastfeeding-support environment policies need to be established in workplaces
Purpose: To explore the experiences and contextual factors, including barriers and facilitators, related to exclusive breastfeeding for full-time working mothers before and after returning to work.Design: Qualitative research employing interviews.Methods: A total of 29 full-time working mothers were selected for purposive sampling from well-baby and lactation clinics at Siriraj Hospital. Data were collected through semi-structured face-to-face interviews at 2, 4, and 6 months postpartum and analyzed by using content analysis.Main findings: Four main themes of experiences and contextual factors, including barriers and facilitators related to exclusive breastfeeding, emerged. These were: 1) Insufficient information for breastfeeding during work. Mothers could not prepare for breastfeeding prior to returning to work and faced problems with insufficient breast milk; 2) Struggles in maintaining sufficient breast milk for 6 months depending on working contexts that supported breast milk expression. This included work characteristics, feeling secure at work, and understanding and support from colleagues; 3) Seeking information to facilitate breastfeeding. Mothers received insufficient information on methods of breast milk expression and feeding breast milk to their babies; and 4) Support from family members and child care workers. These could be both a support and an obstacle to breastfeeding.Conclusion and recommendations: A breastfeeding plan and preparation system for full-time working mothers should be developed, including training of health care providers to provide clear information and knowledge of breastfeeding to working mothers, and help them to accomplish 6 months of exclusive breastfeeding. Moreover, breastfeeding-support environment policies need to be established in workplaces
Sponsorship
งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากกองทุน ซี.เอ็ม.บี. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล