Publication: คุณลักษณะทั่วไป พฤติกรรมและความผิดปกติของผู้ป่วยสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ที่มารับการตรวจและส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
Issued Date
2551
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
10
Journal Title
วารสารเวชบันทึกศิริราช. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2551), 71-80
Volume
1
Issue
2
Start Page
71
End Page
80
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
สมชาย อมรโยธิน, อังกาบ ปราการรัตน์, ธารา ตริตระการ, อุดม คชินทร, สายพิณ เมืองแมน, ยุทธนา อุดมพร, วิยะดา ชลายนนาวิน, ศิริพร คงพลาย (2551). คุณลักษณะทั่วไป พฤติกรรมและความผิดปกติของผู้ป่วยสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ที่มารับการตรวจและส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร. วารสารเวชบันทึกศิริราช. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2551), 71-80, 1(2), 80. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/103096
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
คุณลักษณะทั่วไป พฤติกรรมและความผิดปกติของผู้ป่วยสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ที่มารับการตรวจและส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
Alternative Title(s)
Demographic and patient characteristics of smokers and nonsmokers who undergoing gastrointestinal endoscopy at Siriraj Hospital
Author's Affiliation
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณลักษณะทั่วไปและอุปนิสัยของผู้ป่วยที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึกสําหรับการตรวจและส่องกล้องระบบทางเดินอาหารในโรงพยาบาลศิริราช วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึกสําหรับการตรวจและส่องกล้องระบบทางเดินอาหารในโรงพยาบาลศิริราชระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘ จนถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๙ จํานวน ๓๑๕ คน ผู้ป่วยทุกคนจะถูกบันทึกข้อมูลทั่วไป, สถานภาพ, การนับถือศาสนา, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้, งานอดิเรก, ชนิดการพักผ่อน, การออกกําลังกาย,โรคประจําตัวหรือปัญหาก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกและชนิดของการทําหัตถการ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จะทําการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการสูบบุหรี่, ความคิดตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่, เหตุและปัจจัยที่ยังคงสูบบุหรี่ และเหตุและปัจจัยที่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด ๓๑๕ คน แยกเป็นสูบบุหรี่ ๑๒๕ คน (ผู้ชาย ๑๒๒ คน, ผู้หญิง ๓ คน) และไม่สูบบุหรี่ ๑๙๐ คน(ผู้ชาย ๙๐ คน, ผู้หญิง ๑๐๐ คน) ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ส่วนมาก ASA II, III (๗๔.๔%) ส่วนผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ส่วนมาก ASA I, II (๘๖.๙%) สถานภาพสมรส, จํานวนบุตร, การนับถือศาสนา, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, งานอดิเรก, ชนิดของการพักผ่อน, การออกกําลังกาย, การนอนเฉลี่ยต่อคืน, การทํางานเฉลี่ยต่อวันและต่อสัปดาห์ไม่แตกต่างกัน พบว่าผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่จะมีระดับการศึกษาสูงกว่าผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่มีอาชีพเกษตรกรจะสูบบุหรี่มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และผู้ป่วยที่เป็นพ่อบ้านหรือแม่บ้านจะไม่สูบบุหรี่มากกว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในผู้สูบบุหรี่โรค upper gastroin-testinal hemorrhage และโรคประจําตัว liver disease และ diabetes mellitus พบมากในผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผู้ป่วยสูบบุหรี่ยี่ห้อกรองทิพย์, สายฝนและยาเส้นมากที่สุด (๕๑.๒%, ๒๐.๐%, ๑๙.๒%) ระยะเวลาการสูบตั้งแต่ ๒-๗๐ ปี การสูบต่อวันตั้งแต่ ๑-๔๐ มวน อายุที่เริ่มสูบน้อยที่สุด ๑๐ ปี มากที่สุด ๖๒ ปี เหตุและปัจจัยที่ยังคงสูบบุหรี่และไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ส่วนใหญ่เกิดจากความอยาก, ความเครียด, สูบตามเพื่อนและความเคยชิน สรุป: คุณลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่สูบบุหรี่แตกต่างกับผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่กล่าวคือผู้ป่วยชาย, การศึกษาต่ํา, อาชีพเกษตรกรและผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติหลายอย่างจะสูบบุหรี่มากกว่า นอกจากนี้โรคหรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่นภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นและโรคตับสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่
Objective:Smoking is the single greatest cause of preventable disease and premature death. It is a majorrisk factor for various gastrointestinal diseases. Patient characteristics of smokers and nonsmokers may be different. Methods:Prospectively analyzed the patients on whom gastrointestinal endoscopy had been performed during the period of November, 2005 to March, 2006 in Siriraj Hospital. The patients’ characteristics, education, occupation, income, hobby, rest, exercise, diagnosis, preanesthetic problems and endoscopic procedures were assessed. In smokers, variety of smoking used and smoke habit was assessed. Results: Three hundred and fifteen patients were 125 smokers (M 122, F 3) and 190 nonsmokers (M 90, F 100). Most smokers had ASA class II, III (74.4%). Upper gastrointestinal hemorrhage and diabetes mellitus in smoker patients were higher significant than the nonsmokers. The majority of nonsmokers had ASA class I, II (86.9%), dyspepsia (18.4%), gastroesophageal reflux disease (9.5%), CA colon (9.5%) and hypertension hematologic disease liver disease were the most commonpreanesthetic problems. The cultivator was the most significant occupation in smokers. Age started smoking (10-62), duration of smoke (2-70), cigarettes per day (1-40) and Krongthip, Saifon and tobacco were the most common cigarettes. The tobacco dependence was mainly due to craving a smoke, tension, social and being used to. Conclusion:Patient characteristics of smokers and nonsmokers are significantly different. Smoking is a riskfactor for various gastrointestinal diseases such as upper gastrointestinal hemorrhage and liver disease
Objective:Smoking is the single greatest cause of preventable disease and premature death. It is a majorrisk factor for various gastrointestinal diseases. Patient characteristics of smokers and nonsmokers may be different. Methods:Prospectively analyzed the patients on whom gastrointestinal endoscopy had been performed during the period of November, 2005 to March, 2006 in Siriraj Hospital. The patients’ characteristics, education, occupation, income, hobby, rest, exercise, diagnosis, preanesthetic problems and endoscopic procedures were assessed. In smokers, variety of smoking used and smoke habit was assessed. Results: Three hundred and fifteen patients were 125 smokers (M 122, F 3) and 190 nonsmokers (M 90, F 100). Most smokers had ASA class II, III (74.4%). Upper gastrointestinal hemorrhage and diabetes mellitus in smoker patients were higher significant than the nonsmokers. The majority of nonsmokers had ASA class I, II (86.9%), dyspepsia (18.4%), gastroesophageal reflux disease (9.5%), CA colon (9.5%) and hypertension hematologic disease liver disease were the most commonpreanesthetic problems. The cultivator was the most significant occupation in smokers. Age started smoking (10-62), duration of smoke (2-70), cigarettes per day (1-40) and Krongthip, Saifon and tobacco were the most common cigarettes. The tobacco dependence was mainly due to craving a smoke, tension, social and being used to. Conclusion:Patient characteristics of smokers and nonsmokers are significantly different. Smoking is a riskfactor for various gastrointestinal diseases such as upper gastrointestinal hemorrhage and liver disease