SI-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/76

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 186
  • PublicationOpen Access
    ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเจ้าเรือนหมู่เลือด และอาหาร
    (2553) สิริกานต์ ภูโปร่ง; เทียมจิต ทองลือ; สร้อยศรี เอี่ยมพรชัย; นฤมล พูนไพบูลย์โรจน์; อริยวรรณ ล้ำเลิศกิจ; ประวิทย์ อัครเสรีนนท์; ทวี เลาหพันธ์; วิโรจน์ จงกลวัฒนา; อำพร วงศ์ภัทรนนท์; กรองทิพย์ วิจิตรจินดา
  • PublicationOpen Access
    ๑๒๐ ปี โรงเรียนแพทย์ศิริราช
    (2553) สรรใจ แสงวิเชียร
  • PublicationOpen Access
    ความพึงพอใจของบัณฑิตแพทย์ต่อหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    (2553) เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์; ชิตศุภางค์ รังษีสมบัติศิริ; Cherdsak Iramaneera; Chitsupang Rangsisombatsir
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของบัณฑิตแพทย์ต่อหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.๒๕๔๖ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วิจัยสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และความพึงพอใจเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่ได้รับจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บัณฑิตแพทย์ศิริราชรุ่น ๑๑๔ จำนวน ๑๑๕ คน บัณฑิตแพทย์ให้ความเห็นว่าสิ่งที่ได้รับจากการเรียนในระดับปรีคลินิกภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิกสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้มากที่สุด ส่วนระดับคลินิกภาควิชาอายุรศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานมากที่สุด โดยระดับของความรู้และทักษะดัานที่บัณฑิตได้นำไปประยุกต์ใช้ได้มากที่สุดคือ พฤตินิสัย เจตคติ และคุณธรรมทางการแพทย์ ในขณะที่บัณฑิตยังได้รับความรู้ และทักษะพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วย ทักษะการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทักษะการทำหัตถการ ไม่มากเท่าที่ควร บัณฑิตแพทย์พึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก และอายุรศาสตร์มากที่สุดในระดับปรีคลินิกและคลินิกตามลำดับ บัณฑิตมีความพึงพอใจมากในทักษะการตรวจร่างกายพื้นฐานทั้งระบบ และการตรวจช่องท้อง แต่พึงพอใจไม่มากนักในทักษะการตรวจทารกแรกเกิด ในด้านหัตถการบัณฑิตยังไม่ค่อยพึงพอใจ ในความสามารถของตนในหลายหัตถการ เช่น การทำหมันชาย, การทำคลอดด้วยคีม, การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
  • PublicationOpen Access
    การติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสามัญโลซาแทน (Losartan) ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช
    (2553) ชโลบล เฉลิมศรี; วีรนุช รอบสันติสุข; วิษณุ ธรรมลิขิตกุล
    บทนำ: Losartan เป็นหนึ่งในยากลุ่ม angiotensin II receptor blocker ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดันโลหิต ปัจจุบันมียาสามัญของ Losartan เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลมีนโยบายติดตามประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยาสามัญที่รับไว้ในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อทราบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสามัญ Losartan เมื่อเปรียบเทียบกับยาต้นแบบในการลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รูปแบบการศึกษา: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับยาต้นแบบ losartan (Cozaar®) หรือยาสามัญ losartan (Tanzaril®) ต่อเนื่องอย่างน้อย ๖ สัปดาห์มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมด ๕๘๗ ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ ๒๙๓ ราย และกลุ่มที่ได้รับ ยาสามัญ ๒๙๔ ราย ซึ่ง อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และระยะเวลาการได้รับยา และข้อบ่งใช้ยาของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่ได้รับยาสามัญ เป็นหญิงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ สำหรับโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่มีร่วมพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ เป็นโรคหัวใจ มะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมองมาก กว่ากลุ่มที่ได้รับยาสามัญ กลุ่มที่ได้รับยาสามัญพบว่ามีขนาดยาเฉลี่ยและจำนวนผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิตชนิดอื่น ร่วมด้วยน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ ส่วนจำนวนยาและชนิดของยาที่ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับร่วมด้วยส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ ได้รับยา furosemide และ verapamil ร่วมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาสามัญ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาสามัญ ได้รับยา doxazosin ร่วมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ สำหรับค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตก่อนการรักษาและหลังการรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันโดยค่าเฉลี่ยของความดันโลหิต หลังการรักษาของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มลดลงจากก่อนการรักษาและในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีการตอบสนองต่อการรักษาไม่แตกต่างกัน สำหรับผลข้างเคียงของการรักษาไม่พบความแตกต่างกันระหว่างยาทั้งสองกลุ่ม สรุป: ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสามัญ losartan ไม่ต่างจากยาต้นแบบ losartan
  • PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีผลต่อการให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศิริราช
    (2553) เพ็ญพร คูณขาว; ปานทิพย์ สวัสดิ์มงคล; วันดี วันศรีสุธน; ปัทมา สันติวงศ์เดชา; วราภรณ์ ปานเงิน
    วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยใน โดยเปรียบเทียบจากการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุการตายในแบบฟอร์มสรุปสาเหตุการตายของเวชระเบียนผู้ป่วยในกับหนังสือรับรองการตาย และศึกษาการสรุปสาเหตุการตายที่เป็นรูปแบบการตาย วิธีการ: เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนา โดยศึกษาจากแบบฟอร์มสรุปสาเหตุการตายของเวชระเบียนผู้ป่วยในของ ภาควิชาอายุรศาสตร์ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ จักษุวิทยา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา และรังสีวิทยา และหนังสือรับรองการตายของผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ๒๕๕๑ จำนวน ๒,๒๕๘ ราย เพื่อวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีแจกแจงความถี่ ร้อยละ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ พร้อมสรุปผลในแบบบันทึกรายงานผลการตรวจสอบสาเหตุการตาย ผลการศึกษา: มีเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ไม่มีการสรุปสาเหตุการตายในแบบฟอร์มสรุปสาเหตุการตายจำนวน ๕๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒.๓๕ ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบผลได้ ดังนั้นเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้นมีจำนวน ๒,๒๐๕ ราย พบว่าเวชระเบียนผู้ป่วยในกับหนังสือรับรองการตายที่มีรหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายตรงกันมีจำนวน ๑,๔๔๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๗๑ และรหัสโรคไม่ตรงกันจำนวน ๗๕๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๒๙ โดยทั้งนี้เกิด จากแพทย์ผู้สรุปสาเหตุการตายไม่ใช่แพทย์คนเดียวกัน มีจำนวน ๔๓๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๐๑ และพบว่าแพทย์ระบุรูปแบบการตาย (mode of death) เป็นสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตายมีจำนวน ๓๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๔๖ สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศิริราช ได้แก่ แพทย์ที่สรุปการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุการตายของเวชระเบียนผู้ป่วยในและแพทย์ที่สรุปสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตาย ไม่ใช่แพทย์คนเดียวกัน ทำให้ข้อมูลจาก ๒ แหล่งไม่ตรงกัน ซึ่งส่งผลให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายไม่ตรงกันด้วย
  • PublicationOpen Access
    ครูแพทย์กับความเป็นนักวิทยาศาสตร์
    (2553) พิภพ จิรภิญโญ; Pipop Jirapinyo
  • PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบเวชสารสนเทศเพื่อการสั่งยาผู้ป่วยนอก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    (2553) จักรพันธ์ สุศิวะ; ศิริรัตน์ รัชตเมธาวิน; โฆษิต ลำใย; สายพิน บุญประเสริฐ; สมฤกษ์ เตชะวรพัฒนา; สำราญ คำก้อน
  • PublicationOpen Access
    ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับครูแพทย์
    (2553) ภูเก็ต วาจานนท์
  • PublicationOpen Access
    จริยธรรมในการแพทย์แผนไทย
    (2553) ทวี เลาหพันธ์; ทัพพ์เทพ ทิพย์เจริญธัม; เอื้อพงศ์ จตุรธำรง; ธานี เทพวัลย์
  • PublicationOpen Access
    จรรยาแพทย์ ร.ศ. 126
    (2553) มานี ปิยะอนันต์; Manee Piyaanant
    จากการที่ได้มีโอกาสค้นหาประวัติของหลวงไวทเยศรางกูร ซึ่งเป้นหัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ - นรเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลคนแรก ท่านอาจารย์พลตรีนายแพทย์ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ ซึ่งเป็นบุตรเขยของท่าน ได้ให้ความอนุเคราะห์มอบสำเนาหนังสือที่ระลึกพระราชทางเพลิงศพของหลวงไวทเยศรางกูร เมื่อ 18 สิงหาคม 2528 ณ เมรุวัดสังเวชวิศายาราม (บางลำพู) หนังสือเล่มนี้มีคุณค่ามาก นอกจากจะมีประวัติของท่านหลวงไวยเวทเยศรางกูรแล้ว ยังมีบทความเล็กเซอร์จรรยาแก่นักเรียนแพทย์ที่ดรงเรียนราชแพทยาลัย ดดยพระยาเสด็จสุเรนทราธิบดี (เป็นบิดาของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล) ท่านบรรยายไว้เมื่อวันเสาร์ที่ 3 และ 10 สิงหาคม รศ. 126 ซึ่งเป็นเวลาเกิน 100 ปี มาแล้ว อ่านแล้วประทับใจ เป็นข้อเตือนใจและเป็นสิ่งที่ทันสมัยอยู่เสมอ บทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับแพทย์ไม่มากก็น้อย ผู้เขียนจึงพยายามนำบางส่วนมาย่อให้อ่านง่ายขึ้น
  • PublicationOpen Access
    ทักษะทางคลินิกสามารถพัฒนาได้ดีกว่าความรู้ทางทฤษฎีภายหลังการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์
    (2552) นิธิพัฒน์ เจียรกุล; อุดม คชินทร; เรวดี พีรวัฒนฒึก; ชนะ นฤมาน; Nitipatana Chierakul; Udom Kachintorn; Revadee Perawatanatuk; Chana Naruman
    การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพทย์หลังจบการศึกษาในระดับแพทยศาสตรบัณฑิต ให้มีความรู้ทางทฤษฎีและทักษะทางคลินิกด้านอายุรกรรมเพิ่มมากขึ้น พร้อมไปกับพัฒนาการด้านเจตคติและเตรียมความพร้อมการเป็นอายุรแพทย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบเพื่อวุฒิบัตรอายุรศาสตร์กับคะแนนอายุรศาสตร์ระหว่างที่เป็นนักศึกษาแพทย์ โดยแยกเป็นคะแนนภาคทฤษฎีและคะแนนภาคปฏิบัติ ของแพทย์ประจำบ้านภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่เข้าสอบเพื่อวุฒิบัตรระหว่างปีการศึกษา ๒๕๔๘ – ๒๕๕๐ รวม ๓ ปี จำนวน ๗๐ คน พบว่าคะแนนภาคทฤษฎีขณะเป็นนักศีกษาแพทย์สัมพันธ์ปานกลางกับคะแนนภาคทฤษฎีขณะเป็นแพทย์ประจำบ้าน (ค่าความสัมพันธ์ ๐.๓๗ ค่าพี ๐.๐๐๒) แต่คะแนนภาคปฏิบัติในสองช่วงเวลานี้ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย (ค่าความสัมพันธ์ – ๐.๑๐ ค่าพี ๐.๔๐๓) ดังนั้นการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์สามารถทำให้มีพัฒนาการด้านทักษะทางคลินิกได้ดีกว่าความรู้ทางทฤษฎีจากเดิมขณะที่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์
  • PublicationOpen Access
    การจัดการทางการสื่อสารในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    (2552) สุรพงษ์ โสธนะเสถียร; วัลลีย์ ศรีประภาภรณ์; Surapongse Sotanasathien; Wanlee Sriprapaporn
    วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงการสื่อสารในองค์กร รวมถึงศึกษาการจัดการในองค์กรและศึกษาการจัดการทางการสื่อสาร วิธีการ: การวิจัยในเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอผลการวิจัยโดยวิเคราะห์มุมมองและความเห็นของผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้บริหารระดับสูง ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นมุมมองและความเห็นของผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการวางระบบการบริหารการจัดการของหัวหน้างาน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัยจากการทอดแบบสอบถามให้สำหรับบุคลากรภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราช โดยทอดแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น ๓๐๐ คน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน ๒๓๓ คน นอกจากนั้นยังได้ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหาร ๗ คน ผลการศึกษา: พบว่าผู้บริหารทุกระดับโดยเฉพาะผู้บริหารในระดับสูงได้นำเอาระบบการสื่อสารและ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนในการทำงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายขององค์การ ผู้บริหารทุกระดับชั้นโดยเฉพาะผู้บริหารในระดับสูงมีระบบการบริหารการจัดการที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน และพยายามปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีมากขึ้นโดยได้นำเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในการบริหารงาน ผู้บริหารทุกระดับโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงได้นำเอาระบบการสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารงานเพิ่มมากขึ้น สรุป: การนำระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ผู้บริหารทุกระดับชั้นของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานที่ตนเองบังคับบัญชาอยู่เพื่อความสะดวกในการเรียกหาข้อมูล การวางแผนเพื่อการบริหารและพัฒนาหน่วยงานการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ผู้บริหารในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีระบบการบริหารการจัดการที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารทุกท่านรู้ถึงจุดเด่น จุดด้อย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสที่จะพัฒนาหน่วยงานและอุปสรรคในแต่ละหน่วยงาน ได้มีการวางแผนการแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผู้บริหารทุกหน่วยงาน เห็นความสำคัญของการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในหน่วยงาน และผู้บริหารในคณะคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลทุกท่านได้นำเอาระบบการสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ในหน่วยงานเพิ่มมากขึ้น
  • PublicationOpen Access
    สามเดือนที่หายไปในบันทึกประวัติศาสตร์ไทย
    (2552) สัญญา สุขพณิชนันท์; Sanya Sukpanichnant
  • PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการให้รหัสโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศิริราช
    (2552) ปานทิพย์ สวัสดิ์มงคล; วันดี วันศรีสุธน; เพ็ญพร คูณขาว; สุมาลย์ วงษ์ไทย
    วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการให้รหัสโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน ที่โรงพยาบาลศิริราช และเปรียบเทียบค่า RW ที่ได้รับก่อนและหลังการตรวจสอบ ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการคำนวณค่าตอบแทนที่ได้รับ (Reimbursement) ในระบบ DRG วิธีการ : เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนา โดยศึกษาเวชระเบียนของผู้ป่วยใน ที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม ๒๕๕๑ โดยสุ่มตรวจ ๑% ของจำนวนเวชระเบียนทั้งหมด ซึ่งแบ่งสัดส่วนตามจำนวนเวชระเบียนของผู้ป่วยใน ที่จำหน่ายในแต่ละภาควิชา รวมจำนวนทั้งสิ้น ๗๙๐ ฉบับ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล การตรวจสอบรหัส ICD เพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลโดยวิธีแจกแจงความถี่และร้อยละหาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ พร้อมทั้งสรุปผลในแบบบันทึกรายงานผลการตรวจสอบรหัส ICD ผลการศึกษา : เวชระเบียนที่แจ้งกลับ (feed back) ไปยังภาควิชาต่าง ๆ เนื่องจากตรวจพบความผิดพลาดในการให้รหัสโรค หัตถการและการผ่าตัด มีจำนวน ๓๒๗ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๓๙ ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคอื่น (SDx) ที่ไม่ครบถ้วน ข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคหลัก (PDx) หรือการวินิจฉัยโรคอื่น ไม่ถูกต้อง ข้อมูลรหัสหัตถการและการผ่าตัด (Proc) ไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล (CalLOS) มากกว่า ๓๐ วัน และมีค่า AdjRW ที่ได้หลังตรวจสอบเพิ่มขึ้นมีจำนวน ๗ ภาควิชา และลดลงมีจำนวน ๓ ภาควิชา สรุป : ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการให้รหัสโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน ที่โรงพยาบาลศิริราช ได้แก่ ข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคอื่น (SDx) ข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคหลัก (PDx) ข้อมูลรหัสหัตถการและการผ่าตัด (Proc) ที่ไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้อง รวมทั้งระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล (CalLOS) นานขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ค่า AdjRW ซึ่งเป็นค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (RW) ที่ถูกปรับตามค่าวันนอนจริงเพิ่มขึ้น
  • PublicationOpen Access
    ผลของการบาดเจ็บต่อนัยสำคัญทางคดี
    (2552) สุภาวรรณ เศรษฐบรรจง
  • PublicationOpen Access
    ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ ปาจรีย์
    (2552) สัญญา สุขพณิชนันท์; ตุ้มทิพย์ แสงรุจิ
  • PublicationOpen Access
    ความต้องการในการพัฒนาความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาของอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    (2552) เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์; Cherdsak Iramaneerat
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางด้านแพทยศาสตรศึกษาของ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รวมทั้งรูปแบบในการจัดโครงการพัฒนาความรู้ทางด้านแพทยศาสตรศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามสำรวจความเห็นของอาจารย์ทั้งคณะฯ เกี่ยวกับเนื้อหาทางแพทยศาสตรศึกษาที่สนใจ, รูปแบบการจัด กิจกรรมที่ต้องการ, และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับ ร้อยละ ๔๓ ของแบบสอบถามที่ส่งออก การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าประเด็นที่อาจารย์มีความสนใจเข้ารับการอบรมมากที่สุด คือ questioning techniques รองลงมาคือ communication skills teaching, motivation, computer-assisted instruction and e-learning และ multiple-choice questions ในส่วนรูปแบบการจัดโครงการพัฒนาความรู้พบว่า อาจารย์มีความต้องการให้จัดโครงการอยู่ในรูปแบบของการสอนบรรยายในคณะฯ มากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบบทเรียนแบบ e-learning และจดหมายข่าว (newsletter) ตามลำดับ โดยรูปแบบที่มีความเหมาะสมในการสอนบรรยาย คือ ควรจัดเดือนละ ๑ ครั้ง ๆ ละ ๒ ชั่วโมง โดยจัดในวันพุธ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมอบรม คือ ปัจจัยทางด้านเนื้อหาตรงกับความต้องการ และปัจจัยช่วงเวลาในการจัดอบรมตรงกับช่วงเวลาที่ว่าง