Publication:
ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องโรคการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคการได้รับข้อมูลข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคต้อหินของประชากรกลุ่มเสี่ยง

dc.contributor.authorรติพร คําทั่งen_US
dc.contributor.authorRatiporn Khamthungen_US
dc.contributor.authorนันทวัน สุวรรณรูปen_US
dc.contributor.authorNantawon Suwonnaroopen_US
dc.contributor.authorนริศ กิจณรงค์en_US
dc.contributor.authorNaris Kitnarongen_US
dc.contributor.authorนันทิยา วัฒายุen_US
dc.contributor.authorNantiya Watthayuen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาจักษุen_US
dc.date.accessioned2018-02-23T07:56:16Z
dc.date.available2018-02-23T07:56:16Z
dc.date.created2018-02-23
dc.date.issued2554
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การได้รับข้อมูลข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคต้อหินของประชากรกลุ่มเสี่ยง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จํานวน 174 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากผู้ที่มารับบริการทางด้านสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขต อําเภอเมือง จังหวัด สมุทรสาคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคต้อหินในระดับปานกลาง (X = 2.10, SD = 0.43) มีความรู้เรื่องโรคต้อหินในระดับปานกลาง (X = 7.27, SD = 2.11) มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินในระดับมาก (X = 3.10, SD = 0.34) และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคต้อหินในระดับน้อย (X = 1.21, SD = 0.28) 2) ความรู้เรื่องโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคต้อหินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคต้อหินอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .174, p < .05; r = .238, p < .01; r = .422, p < .01 ตามลําดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ ควรส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคต้อหินในประชากรกลุ่มเสี่ยงและส่งเสริมให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคต้อหินเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มแหล่งข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคต้อหินและพัฒนารูปแบบของสื่อต่างๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มของประชากรในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคและหลีกเลี่ยงภาวะตาบอดจากโรคต้อหินให้ครอบคลุมทั้งรายบุคคล ครอบครัว และชุมชนen_US
dc.description.abstractPurpose: To investigate the relationships of knowledge of glaucoma, perceived susceptibility, received information, and preventive behavior for glaucoma in a population at risk.Design: Descriptive correlational design.Methods:The sample was 40 years old and over. The total sample of 174 who participated in this study were selected by convenience sampling from people who visited the health care service at the primary care unit in Muang district, Samutsakhon province, Thailand. Data were collected through interview and analyzed using percentages, means, standard deviations, and Pearson’s correlation coefficients. Main fining: The results showed that the mean for preventive behavior (X = 2.10, SD = 0.43) and knowledge of glaucoma (X = 7.27, SD = 2.11) were at a moderate level, perceived susceptibility (X = 3.10, SD = 0.34) was at a high level and received information (X = 1.21, SD = 0.28) was at a low level. Knowledge of glaucoma, perceived susceptibility, and received information were all positively associated with preventive behavior for glaucoma (r = .174, p < .05; r = .238, p < .01; r = .422, p < .01, respectively). Conclusion and recommendations: This study suggests that nurses and other healthcare providers should promote health preventive behavior for glaucoma and organize activities to disseminate information on glaucoma in the population at risk. The sources of information on glaucoma should be developed. Appropriate types of media should be utilized to serve people in the local community, in order to raise awareness about performing preventive health behaviors for each individual, group, and community.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ. เพิ่มเติม 1), ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2554), 93-101en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8799
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคen_US
dc.subjectการได้รับข้อมูลข่าวสารพฤติกรรมการป้องกันโรคต้อหินen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องโรคการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคการได้รับข้อมูลข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคต้อหินของประชากรกลุ่มเสี่ยงen_US
dc.title.alternativeThe Relationships among Knowledge of Glaucoma, Perceived Susceptibility, Received Information and Preventive Behavior of Glaucoma in Population at Risken_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/2821

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-nantawan-2554.pdf
Size:
291.19 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections