Publication:
ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจของวัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

dc.contributor.authorปิยรัตน์ สมันตรัฐen_US
dc.contributor.authorศิรดา เกษรศรีen_US
dc.contributor.authorสุดใจ จิตตยานนท์en_US
dc.contributor.authorสมใจ กาญจนาพงศ์กุลen_US
dc.contributor.authorPiyarat Samantarathen_US
dc.contributor.authorSirada Kesornsrien_US
dc.contributor.authorSudchai Jittayanonten_US
dc.contributor.authorSomjai Kanchanapongkulen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherกระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีen_US
dc.date.accessioned2022-03-29T12:14:51Z
dc.date.available2022-03-29T12:14:51Z
dc.date.created2565-03-29
dc.date.issued2565
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของประสบการณ์ด้านอาการ ภาวะวิตกกังวล และความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต ต่อสุขภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 100 ราย ที่มารับการรักษาที่แผนกโลหิตวิทยาและมะเร็งเด็กโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลโรคและการรักษา แบบบันทึกอาการจากโรคและการรักษา แบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย แบบวัดความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต และแบบวัดการรับรู้สุขภาวะทางจิตใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณด้วยวิธีการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัย: ผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สุขภาวะทางจิตใจเท่ากับ 77.30 (SD = 8.66) ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต และประสบการณ์ด้านอาการ สามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจในผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ได้ร้อยละ 29 (R2 = .29) สรุปและข้อเสนอแนะ: ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต และประสบการณ์ด้านอาการสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรให้ความสำคัญกับการประเมินอาการและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการต่างๆ ทั้งในระหว่างการได้รับการรักษาหรือหลังจากหยุดยาเคมีบำบัดแล้ว และควรส่งเสริมมีสุขภาวะทางจิตใจที่ดี โดยการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต อีกทั้งสร้างความตระหนักของผู้ปกครองถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้วัยรุ่นพัฒนาความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต เพื่อที่จะปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและมีสุขภาวะทางจิตใจที่ดีได้en_US
dc.description.abstractPurpose: This research aims to investigate the predictive abilities of symptom experiences, anxiety, and resiliency on psychological well-being among adolescents undergoing and underwent chemotherapy for cancer. Design: Predictive study. Methods: Participants were 100 adolescents undergoing cancer treatment at the Division of Pediatric Hematology and Oncology at a tertiary referral hospital in Bangkok. Data were collected through Demographic and Medical Record Form, the Modified Memorial Symptom Assessment Scale, Hospital Anxiety and Depression Scale, Connor-Davidson Resilience Scale, and Ryff’s Psychological Well-Being Scale. Data were analyzed by stepwise method of multiple regression analysis. Main findings: An average score of psychological well-being reported by adolescents with cancer was 77.30 (SD = 8.66). Resiliency and symptom experience could significantly predict psychological well-being and explain 29% of the variances (R2 = .29). Conclusion and recommendations: Resiliency and symptom experience were statistically significant predictors of psychological well-being in adolescents underwent cancer chemotherapy. Nurses should play heed to assess the symptoms and help adolescents to be able to manage the symptoms either during chemotherapy session or completed treatment phase, as well as promote adolescents’ psychological well-being through activities that strengthen their resiliency. In addition, parents’ awareness of the importance of promoting adolescents’ resiliency should be raised so that their adolescents will achieve the adjustment to illness and increased psychological well-being.en_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2565),124-139en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64420
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectวัยรุ่นโรคมะเร็งen_US
dc.subjectเคมีบำบัดen_US
dc.subjectสุขภาวะทางจิตใจen_US
dc.subjectความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิตen_US
dc.subjectประสบการณ์ด้านอาการen_US
dc.subjectadolescent with canceren_US
dc.subjectchemotherapyen_US
dc.subjectpsychological well-beingen_US
dc.subjectresilienceen_US
dc.subjectsymptom experiencesen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจของวัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativePredictors of Psychological Well-Being among Adolescents Receiving Cancer Chemotherapyen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/254624

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-sirada-2565.pdf
Size:
1.56 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections