Publication:
การใช้สื่อวีดิทัศน์สารคดีเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis)

dc.contributor.authorปัญญวัฒน์ บุญถนอม
dc.contributor.authorวัชรินทร์ นาคผ่อง
dc.contributor.authorพิชานันท์ อรัญญิก
dc.contributor.authorสุพัตรา กล้าหาญ
dc.contributor.authorกิตติพงษ์ ฉายศิริ
dc.contributor.authorพรรณเพ็ญ วิริยเวชกุล
dc.contributor.authorPanyawat Boontanom
dc.contributor.authorVatcharin Nakpong
dc.contributor.authorPichanan Arunyik
dc.contributor.authorSupattra Glaharn
dc.contributor.authorKittipong Chaisiri
dc.contributor.authorParnpen Viriyavejakul
dc.date.accessioned2025-04-29T07:50:39Z
dc.date.available2025-04-29T07:50:39Z
dc.date.created2568-04-29
dc.date.issued2564
dc.date.received2563-07-13
dc.description.abstractโรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร ที่มีการปนเปื้อนของพยาธิตัวอ่อน Angiostrongylus cantonensis การติดเชื้อพยาธิหอยโข่งในมนุษย์ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งประชาชนทั่วไปยังคงขาดความรู้และความเข้าใจในโรคนี้ การศึกษานี้ผู้วิจัยได้สร้างสื่อวีดิทัศน์สารคดีเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิหอยโข่ง และทำการประเมินความรู้ที่ได้พร้อมทั้งความคิดเห็นที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ฯ นี้ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบความรู้ก่อนการรับชมวีดิทัศน์สารคดี (pre-test) จากนั้นรับชมสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง (https://www.youtube.com/watch?v=0qLZh3H24KQ) แล้วจึงทำแบบทดสอบความรู้หลังการรับชม (post-test) พร้อมทั้งตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ฯ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติแบบพรรณนา (descriptive analysis) และนำคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ มาวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติ paired t-test และข้อมูลความคิดเห็นคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยและแปลผล จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 383 คน เป็นเพศชาย 32.37% เพศหญิง 67.63% มีอายุระหว่าง 11 - 70 ปี อายุเฉลี่ย 33 ปี จากการสำรวจพบว่า 66.49% เป็นผู้ที่ไม่เคยรู้จักโรคพยาธิหอยโข่งมาก่อน และมีเพียง 33.51% ที่รู้จักโรคนี้ จากกลุ่มที่รู้จักโรคพยาธิหอยโข่งพบว่าคะแนนทดสอบความรู้เรื่องโรคพยาธิหอยโข่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ (คะแนนการตอบแบบทดสอบก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกต้อง 59.18%; คะแนนการตอบแบบทดสอบหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกต้อง 81.25%, p < 0.001) ส่วนกลุ่มผู้ที่ไม่รู้จักโรคนี้มาก่อน พบว่ามีคะแนนความรู้หลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ เท่ากับ 8.53/12 (71.14%) ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่าง (90.34%) มีความคิดเห็นต่อคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ฯ โดยรวมแล้วอยู่ในระดับดีมาก โดยมีความเห็นว่าวีดิทัศน์สารคดีนี้มีประโยชน์ต่อกลุ่มตัวอย่างในระดับมากที่สุด จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องโรคพยาธิหอยโข่งมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการให้ความรู้เรื่องโรคพยาธิหอยโข่งแก่ประชาชน และช่วยสร้างความตระหนักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคพยาธิหอยโข่งได้
dc.description.abstractAngiostrongyliasis is a foodborne zoonotic disease associated with eosinophilic meningitis or meningoencephalitis and is caused by ingestion of food or water contaminated with Angiostrongylus cantonensis larvae. This neglected tropical disease remains underestimated with escalating importance, but not well-recognized. The study aimed to design a documentary video media on angiostrongyliasis to evaluate people’s knowledge about the disease and assess people's opinions on the content and technical production of video media. We designed a documentary video media on “angiostrongyliasis” (https://www.youtube.com/watch?v=0qLZh3H24KQ). Questionnaire containing knowledge on angiostongyliasis were assessed before and after viewing the documentary. In addition, the video quality, based on content information and techniques in video production were evaluated. The outcome measures were analyzed by descriptive statistics. Difference in knowledge between the pre-test and post-test were interpreted using paired t-test. We recruited 383 participants in the study, of which, 32.37% were male and 67.63% were female. The age range was between 11 to 70 years (mean age = 33). As high as 66.49% were unaware of angistrongyliasis. Of the 33.51%, who were familiar with the disease, the post-test score after watching the documentary increased significantly (pre-test score = 59.18%, post-test score = 81.25%, p < 0.001). For those who were not familiar with angiostrongyliasis (66.49%), 71.14% correctly answered the post-test after watching the documentary. With regards to content quality and video production techniques, 90.34% gave a remarkable score for the documentary video media. There is still a high number of people who are unfamiliar with angiostrongyliasis. The documentary video media “angiostrongyliasis” is a very effective tool to disseminate knowledge about the disease to people.
dc.format.extent10 หน้า
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2564), 120-129
dc.identifier.doihttp://doi.org/10.14456/jmu.2021.40
dc.identifier.issn2392-5515
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109827
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectโรคพยาธิหอยโข่ง
dc.subjectพยาธิหอยโข่ง
dc.subjectแบบสอบถาม
dc.subjectการประเมินความรู้
dc.subjectสื่อวีดิทัศน์
dc.subjectAngiostrongyliasis
dc.subjectAngiostrongylus cantonensis
dc.subjectQuestionnaire
dc.subjectKnowledge assessment
dc.subjectVideo media
dc.titleการใช้สื่อวีดิทัศน์สารคดีเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis)
dc.title.alternativeThe use of video media to disseminate knowledge of Angiostongyliasis
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsopen access
dcterms.dateAccepted2564-04-16
dspace.entity.typePublication
oaire.citation.endPage129
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage120
oaire.citation.titleวารสาร Mahidol R2R e-Journal
oaire.citation.volume8
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. งานเทคโนโลยีการศึกษาและศิลปกรรม
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. ภาควิชาพยาธิวิทยาเขตร้อน
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
tm-ar-parnpen-2564.pdf
Size:
454.44 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections