TM-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/112
Browse
Recent Submissions
Publication Open Access การศึกษาผลของการประคบด้วยแผ่นร้อนห่อด้วยผ้าที่มีความหนา 2 เซนติเมตรเป็นเวลา 20 นาที ต่ออุณหภูมิผิวหนังในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด(2565) ชมพูนุช ศรีไกรยุทธ; วรรณเฉลิม ชาววัง; Chompunuch Srikraiyut; Wanchalorm Chawwangวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุณหภูมิของผิวหนังขณะประคบด้วยแผ่นประคบร้อนที่ห่อด้วยผ้าหนา 2 เซนติเมตร ในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด เป็นระยะเวลา 20 นาที วิธีการวิจัย : ศึกษากับอาสาสมัครที่มีอาการปวดหลังในกลุ่ม Musculoskeletal system ที่มารักษาในหน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 50 คน งานวิจัยทำในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ ระหว่าง 22 ถึง 25 องศาเซลเซียส โดยใช้แผ่นประคบร้อนที่แช่ในหม้อต้ม Hydrocollator ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 73.1 ?3.0 องศาเซลเซียส นานมากกว่า 30 นาที จากนั้นนำมาห่อด้วยผ้าขนหนูผ้าฝ้าย 100 % ขนาด 27 X 54 นิ้ว ที่ถูกพับครึ่งแล้ววางซ้อนทับกันให้ได้ความหนา 2 เชนติเมตร แล้วจึงนำมาวางบริเวณหลังของอาสาสมัคร โดยมี digital thermometer วางอยู่บริเวณกึ่งกลางของแผ่นประคบร้อน เริ่มใช้นาฬิกาจับเวลาและทำการวัดอุณหภูมิ พร้อมทั้งสอบถามความรู้สึกของกลุ่มทดลอง ในช่วงนาทีที่ 0, 5, 10, 15, 20 ตามลำดับ บันทึกอุณหภูมิในช่วงเวลาดังกล่าวพร้อมทั้งความรู้สึกของกลุ่มทดลอง นำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติ SPSS version PASW statistics 18 โดยใช้ One-Sample Kolmogorov-Smirnov Test คำนวนค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Mean ? SD ) ของอุณหภูมิแผ่นประคบร้อน และใช้ Descriptive Statistics Frequencies ในการหาค่าเปอร์เซ็นต์ของการรับความรู้สึกในแต่ละช่วงเวลา ผลการศึกษา : ค่าอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนที่ความหนาของผ้า 2 เชนติเมตรกับเวลาที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิภายในกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่นาทีที่ 0 ถึง นาทีที่ 20 มีค่าระหว่าง 24.9 ?1.8 องศาเซลเซียส ถึง 42.7 ?1.4 องศาเซลเชียส พบว่าค่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่เปลี่ยนไป จากผลการทดลองพบว่าในช่วงนาทีที่ 5 ถึงนาทีที่ 20 ค่าอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.9 ? 2.1 องศาเซลเซียส ถึง 42.7 ? 1.4 องศาเซลเซียส ซึ่งค่าอุณหภูมิเกือบมีค่าคงที่ และพบว่าแปรผันตามการรับรู้ความรู้สึกต่อความร้อนของอาสาสมัคร ได้แก่ ช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 5 ความรู้สึกอุ่นสบาย 84 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 16 เปอร์เซ็นต์ นาทีที่ 10 ความรู้สึกอุ่นสบาย 54 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 44 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 2 เปอร์เซ็นต์ นาทีที่ 15 ความรู้สึกอุ่นสบาย 44 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 52 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 4 เปอร์เซ็นต์ ถึงนาทีที่ 20 ความรู้สึกอุ่นสบาย 72 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 26 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 2 เปอร์เซ็นต์ และอาสาสมัครทุกรายไม่มีแผลพุพอง ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ สรุปว่าแผ่นประคบร้อนต้มในน้ำที่อุณหภูมิเฉลี่ย 73 องศาเซลเซียส และห่อด้วยผ้าขนหนูที่มีความหนา 2 เซนติเมตร ใช้เวลาในการรักษา 20 นาที มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมสำหรับใช้รักษาผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดที่มีอาการ lower back painPublication Open Access การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออกในหอผู้ป่วยพิเศษ(2565) ปานจิต โพธิ์ทอง; วราภรณ์ สมวงษ์; เอกมณี พัฒนพิพิธไพศาล; กองแก้ว ย้วนบุญหลิม; เนาวรัตน์ เจริญสุข; Panjit Phothong; Waraporn Somwong; Akemanee Pattanapipitpaisarn; Kongkaew Younboonhlim; Nawarat Charoensookผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี ควรมีความรู้เข้าใจถึงการสังเกตอาการและปฏิบัติตนในแต่ละช่วงระยะเวลาดำเนินโรค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการรักษา ทีมผู้วิจัยจึงได้จัดทำป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออก โดยมีรายละเอียด ดังนี้ แบ่งระยะการดำเนินโรคเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1.ระยะไข้ 2.ระยะวิกฤต/ช็อก 3.ระยะฟื้นตัว ซึ่งแต่ละช่วงภายในป้ายวงล้อ มีอาการสำคัญที่ต้องสังเกตและข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยในระยะต่าง ๆ โดยพยาบาลจะให้ความรู้และมอบป้ายวงล้อให้ผู้ป่วยและญาติได้อ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตนตามคำแนะนำ เครื่องมือในการวิจัย ป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออก หนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมการวิจัย เอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมการวิจัย แบบประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออก วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามระดับความพึงพอใจผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วยในขณะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษ 1 และพิเศษ 2 ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 50 รายและเก็บข้อมูลความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน 17 ราย (พยาบาลหอผู้ป่วยพิเศษ 1 จำนวน 8 ราย และหอผู้ป่วยพิเศษ 2 จำนวน 9 ราย) ในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ผลการศึกษาพบว่า ผลการตอบแบบสอบถามระดับความพึงพอใจต่อป้ายวงล้อของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วย ความพึงพอใจโดยรวม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 88 และมากร้อยละ 12 และผลการความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพิเศษต่อป้ายวงล้อโดยรวม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 40 ระดับมากร้อยละ 53.33 และระดับปานกลางร้อยละ 6.67Publication Open Access การใช้สื่อวีดิทัศน์สารคดีเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis)(2564) ปัญญวัฒน์ บุญถนอม; วัชรินทร์ นาคผ่อง; พิชานันท์ อรัญญิก; สุพัตรา กล้าหาญ; กิตติพงษ์ ฉายศิริ; พรรณเพ็ญ วิริยเวชกุล; Panyawat Boontanom; Vatcharin Nakpong; Pichanan Arunyik; Supattra Glaharn; Kittipong Chaisiri; Parnpen Viriyavejakulโรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร ที่มีการปนเปื้อนของพยาธิตัวอ่อน Angiostrongylus cantonensis การติดเชื้อพยาธิหอยโข่งในมนุษย์ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งประชาชนทั่วไปยังคงขาดความรู้และความเข้าใจในโรคนี้ การศึกษานี้ผู้วิจัยได้สร้างสื่อวีดิทัศน์สารคดีเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิหอยโข่ง และทำการประเมินความรู้ที่ได้พร้อมทั้งความคิดเห็นที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ฯ นี้ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบความรู้ก่อนการรับชมวีดิทัศน์สารคดี (pre-test) จากนั้นรับชมสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง (https://www.youtube.com/watch?v=0qLZh3H24KQ) แล้วจึงทำแบบทดสอบความรู้หลังการรับชม (post-test) พร้อมทั้งตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ฯ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติแบบพรรณนา (descriptive analysis) และนำคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ มาวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติ paired t-test และข้อมูลความคิดเห็นคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยและแปลผล จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 383 คน เป็นเพศชาย 32.37% เพศหญิง 67.63% มีอายุระหว่าง 11 - 70 ปี อายุเฉลี่ย 33 ปี จากการสำรวจพบว่า 66.49% เป็นผู้ที่ไม่เคยรู้จักโรคพยาธิหอยโข่งมาก่อน และมีเพียง 33.51% ที่รู้จักโรคนี้ จากกลุ่มที่รู้จักโรคพยาธิหอยโข่งพบว่าคะแนนทดสอบความรู้เรื่องโรคพยาธิหอยโข่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ (คะแนนการตอบแบบทดสอบก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกต้อง 59.18%; คะแนนการตอบแบบทดสอบหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกต้อง 81.25%, p < 0.001) ส่วนกลุ่มผู้ที่ไม่รู้จักโรคนี้มาก่อน พบว่ามีคะแนนความรู้หลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ เท่ากับ 8.53/12 (71.14%) ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่าง (90.34%) มีความคิดเห็นต่อคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ฯ โดยรวมแล้วอยู่ในระดับดีมาก โดยมีความเห็นว่าวีดิทัศน์สารคดีนี้มีประโยชน์ต่อกลุ่มตัวอย่างในระดับมากที่สุด จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องโรคพยาธิหอยโข่งมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการให้ความรู้เรื่องโรคพยาธิหอยโข่งแก่ประชาชน และช่วยสร้างความตระหนักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคพยาธิหอยโข่งได้Publication Open Access การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการประคบด้วยแผ่นร้อนและแผ่นเย็นหลังการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียลในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังพืดของกล้ามเนื้อทราพิเซียส(2564) ประภัสสร ชาติประสพ; จุฑาภรณ์ เนตรโพธิ์แก้ว; Prapassorn Chatprasop; Jutharporn Netphokaewเนื่องจากปัญหาปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก พบว่ากล้ามเนื้อทราพิเซียสส่วนบน เป็นกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดที่พบบ่อยและเป็นปัญหาเรื้อรัง จึงทำให้มีผู้ป่วยมาพบแพทย์และทำการรักษาเป็นจำนวนมาก มารับการรักษาที่หน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นจำนวนมาก ทางผู้ทำวิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียล(radial shock wave therapy, RPWT) ร่วมกับการวางแผ่นร้อน (hotpack, HP) และแผ่นเย็น (coldpack, CP) ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน ขั้นตอนในการเข้าร่วมวิจัยครั้งนี้ โดยอาสาสมัครจะต้องมีอาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน และไม่มีอาการชาหรือร้าวลงแขนข้างใดข้างหนึ่ง ให้อาสาสมัครอ่านขั้นตอนในการเข้าร่วมวิจัยและอธิบายอย่างละเอียด พร้อมทั้งเซ็นยินยอมในการเข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 15คน โดยใช้วิธีสุ่ม randomization โดยกลุ่มแรกจะสอบถามระดับคะแนนอาการปวดกล้ามเนื้อทราพิเซียส จากนั้นให้การรักษาด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียลร่วมกับวางแผ่นร้อน หลังจากวางแผ่นร้อน 20 นาที สอบถามระดับความเจ็บปวดหลังทำ และกลุ่มที่สองทำเหมือนกับกลุ่มแรกเปลี่ยนจากการวางแผ่นร้อนเป็นแผ่นเย็น ในการรักษาครั้งแรกเพียงครั้งเดียว โดยใช้แบบประเมิณความเจ็บปวด Numeric rating scale สรุปผลการวิจัย พบว่าทั้งคลื่นกระแทกร่วมกับการวางแผ่นร้อนและคลื่นกระแทกร่วมกับการวางแผ่นเย็นสามารถลดอาการปวดได้ทั้ง 2 วิธี โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 2 กลุ่มPublication Open Access Association between Personal Burnout and Depression after First Stroke of Working-age patients in Thailand: A one-year follow-up study(2024) Siripan Naknoi; Pongrama Ramasoota; Suparat Phuanukoonnon; Ngamphol Soonthornworasiri; Orawan KaewboonchooBackground: Personal burnout is characterized by physical, emotional, and mental exhaustion due to prolonged stress or excessive demands. Individuals recovering from a stroke often experience significant physical and cognitive challenges during their recovery process, which can lead to increased fatigue and emotional strain. This physical and emotional exhaustion can contribute to the development or worsening of depressive symptoms. Objective: To investigate the relationship between personal burnout at baseline and depressive symptoms after stroke over one-year Methods: The study enrolled 103 participants who experienced their first stroke during working-age patients. The study period was 12 months. Personal burnout was assessed using the Copenhagen Burnout Inventory (CBI) at baseline, while depressive symptoms were measured using the Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (HADS) at baseline, six months, and 12 months during the follow-up period. The study employed Generalized Estimating Equations to investigate the longitudinal relationship between personal burnout at baseline and depression over the course of one year. Results: High personal burnout showed a significant association with depression scores over a 1-year period, (coefficient 3.257; 95% CI: 2.299, 4.215). Conclusions: The high personal burnout score predicted worsen depressive symptoms after stoke onset. These results suggest that healthcare workers, families, and co-workers should prioritize mental health support and early detection of depressive symptoms, treatment, and coping strategies among working-age individuals who have experienced a stroke.Publication Open Access การพัฒนาระบบการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน(2566) ศรีวิไล แสงเลิศศิลปชัย; ปฐมา เทพชัยศรี; Srivilai Saenglertsilpachai; Patama Tapchaisriยาที่มีความเสี่ยงสูง(high alert drug) หมายถึง ยาที่มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตรายกับผู้ป่วยเมื่อเกิดการใช้ผิดพลาด แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทําให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรงได้ดังนั้น แนวทางในการบริหารยากลุ่มนี้จําเป็นต้องชัดเจน ผู้บริหารยาต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้ยาและติดตามการใช้ยาได้ง่ายเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาข้อมูลยาที่มีความเสี่ยงสูงและอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาในโรงพยาบาล 2) พัฒนาระบบการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงและ3) เปรียบเทียบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาก่อนและหลังการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นวิธีการ:เป็นการ ศึกษาย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยจากระบบ Hospital Information System และอุบัติการณ์ของความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยากับผู้ป่วยในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนจากระบบคลาวด์ทั้ง ก่อนการพัฒนาระบบยาระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2563 และหลังการพัฒนาระบบยาระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2565 และนําอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นมาเปรียบเทียบผลการวิจัย: ยาที่มีความเสี่ยงสูงมีจํานวน 13 รายการ พบว่าจํานวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยากับผู้ป่วย 3 ครั้งโดยมีผู้ป่วยอาการรุนแรง 1 รายก่อนการพัฒนาและเมื่อได้จัดทําคู่มือ แบบบันทึกติดตามการใช้ยา วิธีการเข้าถึงข้อมูลยา ฯลฯ พบว่าจํานวนอุบัติการณ์ดังกล่าว ลดลงเหลือ 2 ครั้งและไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหลังการพัฒนา สรุปผล: พบว่าการพัฒนาระบบการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงทําให้ผู้บริหารยาสามารถเข้าถึงข้อมูลยาได้ง่ายและรวดเร็วและมีแนวทางการใช้ยาและการเฝ้าระวังที่ชัดเจน ทําให้เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ป่วย และสามารถลดอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยากลุ่มนี้ได้Publication Open Access การสำรวจความคิดเห็นบุคลากรด้านความเป็นสากลของสถาบันการศึกษา(2565) ผ่องศรี ก้อนทอง; วริสรา ไชยพันธุ์; ปณิธี มาเอี่ยม; จิราวรรณ พึ่งสาย; ภรภัทร์ ทองพราย; Phongsri Konthong; Warissara Chaiyaphan; Panithee Maaiem; Jirawan Phuangsai; Porrapat Thongprai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. สำนักงานคณบดี; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. สํานักงานบริการการวิจัยความเป็นนานาชาติของสถาบันการศึกษามีความสำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ และการจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลก ความสำเร็จของพันธกิจขององค์กรต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติการทุกระดับ งานวิจัยนี้สำรวจความเห็นจากฐานรากครั้งแรกด้านความเป็นสากลของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้แบบสอบถามแบบตัดขวาง ในปี พ.ศ. 2561-2562 มีผู้ตอบแบบสอบถาม 267 คน (ร้อยละ 33 จากบุคลากรทั้งหมด) ประกอบด้วยบุคลากรสายวิชาการ (n=68) สายสนับสนุนวิชาการและอื่นๆ (n=106) และสายสนับสนุนวิชาชีพเฉพาะ (n=93) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่อวิสัยทัศน์นานาชาติ มีความเชื่อมั่นความเป็นนานาชาติขององค์กร และประสิทธิภาพการสื่อสารภาษาอังกฤษของสายวิชาการ เห็นด้วยกับความจำเป็นการใช้ภาษาอังกฤษและการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ โดยคะแนนรวมของแบบสอบถามอยู่ระดับปานกลางถึงมาก คะแนนเฉลี่ย (mean+SD) เบี่ยงแบนจากมากสุด (3.83+0.42) เรื่องความเป็นนานาชาติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และน้อยสุด (2.95+0.91) เรื่องความมั่นใจทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง บุคลากรส่วนใหญ่ยินดีที่จะสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ (76%) และสมัครใจพัฒนาภาษาอังกฤษ โดยเลือกการร่วมการฝึกอบรมร้อยละ 46.4, สันทนาการเป็นภาษาอังกฤษร้อยละ 23.6 และ ทุนศึกษา/ดูงานร้อยละ 30 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรทุกระดับเห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ และการธำรงความเป็นนานาชาติขององค์กร และพร้อมใจที่จะพัฒนาภาษาอังกฤษ การศึกษานี้เป็นกรณีตัวอย่างการหาข้อมูลจากฐานรากเพื่อสนับสนุนรูปแบบการพัฒนายุทธศาสตร์หลักขององค์กรPublication Open Access การศึกษากระติกบรรจุส่วนประกอบของโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดงเพื่อการขนส่ง(2564) วราภรณ์ สมวงษ์; เอกมณี พัฒนพิพิธไพศาล; ปานจิต โพธิ์ทอง; Waraporn Somwong; Akemanee Pattanapipitpaisarn; Panjit Phothong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนการศึกษาหาวิธีการบรรจุส่วนประกอบของโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดงเพื่อการขนส่งให้เป็นไปตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกกำหนด คืออุณหภูมิอยู่ในช่วง 1-10°C ระหว่างการขนส่งจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยมาโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการรักษาสภาพของโลหิตให้ปลอดภัยที่สุดกับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับเลือด วัสดุอุปกรณ์ ภาชนะบรรจุส่วนประกอบของโลหิต Gel Pack เก็บความเย็น แผ่นโฟมห่อแผ่นฟอยด์ Data logger ที่ผ่านการ Calibrate แล้ว ถุงเลือดชนิด Leukocyte Poor Packed Red Cells (LPRC) ที่หมดอายุแล้ว วิธีการศึกษา หาวิธีการจัดเตรียมภาชนะ ทำการวัดอุณหภูมิภายในกระติก โดยใช้ Data logger เก็บข้อมูลอุณหภูมิลงในคอมพิวเตอร์ เก็บข้อมูลทุก ๆ 1 นาที ทาการวัด 3 ครั้ง/จำนวนยูนิต ภายในเวลา 6 ชั่วโมง ผลการศึกษา วิธีการบรรจุภาชนะพบว่าการขนส่งเลือดตามระบบข้างต้นสามารถรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 1-10 °C ได้ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงPublication Open Access Case-Control Study of Use of Personal Protective Measures and Risk for SARS-CoV 2 Infection, Thailand(2020) Pawinee Doung-ngern; Rapeepong Suphanchaimat; Apinya Panjangampatthana; Chawisar Janekrongtham; Duangrat Ruampoom; Nawaporn Daochaeng; Napatchakorn Eungkanit; Nichakul Pisitpayat; Nuengruethai Srisong; Oiythip Yasopa; Patchanee Plernprom; Pitiphon Promduangsi; Panita Kumphon; Paphanij Suangtho; Peeriya Watakulsin; Sarinya Chaiya; Somkid Kripattanapong; Thanawadee Chantian; Emily Bloss; Chawetsan Namwat; Direk Limmathurotsakul; Ministry of Public Health; Ministry of Public Health–US Centers for Disease Control and Prevention Collaboration, Nonthaburi; Mahidol University. Faculty of Tropical Medicine. Mahidol-Oxford Tropical Medicine Research UnitWe evaluated effectiveness of personal protective measures against severe acute respiratory disease coronavirus 2 (SARS-CoV-2) infection. Our case-control study included 211 cases of coronavirus disease (COVID-19) and 839 controls in Thailand. Cases were defined as asymptomatic contacts of COVID-19 patients who later tested positive for SARS-CoV-2; controls were asymptomatic contacts who never tested positive. Wearing masks all the time during contact was independently associated with lower risk for SARS-CoV-2 infection compared with not wearing masks; wearing a mask sometimes during contact did not lower infection risk. We found the type of mask worn was not independently associated with infection and that contacts who always wore masks were more likely to practice social distancing. Maintaining >1 m distance from a person with COVID-19, having close contact for <15 minutes, and frequent handwashing were independently associated with lower risk for infection. Our findings support consistent wearing of masks, handwashing, and social distancing to protect against COVID-19.Publication Open Access พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในจังหวัดกาญจนบุรี(2552) วิวัฒน์ วนรังสิกุล; Wiwat Wanarangsikul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรคและในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้ง 2 กลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษารวม 400 ราย ของ 2 พื้นที่ในจังหวัดกาญจบุรี โดยแบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรค และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค จำนวนกลุ่มละ 200 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้งสองเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรค ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับอาการของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก และการศึกษา โดยปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระดับปานกลาง (R = 0.402) ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค ได้แก่ บุคคลในครอบครัวที่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับไข้หวัดนก อายุ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก ความรู้เกี่ยวกับอาการของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก อายุ การรับรู้ประโยชน์ของการติดเชื้อไข้หวัดนก และสถานภาพในครอบครัว โดยปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระกับปานกลาง (R = 0.524) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกให้ดีขึ้นPublication Open Access พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก และความสัมพันธ์ของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี(2551) ถาวร มาต้น; ปิยรัตน์ บุตราภรณ์; Tavorn Maton; Piyarat Butraporn; วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินทร จังหวัดสุพรรณบุรี; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อนPublication Metadata only การบริหารคนเก่ง: การประเมินความสำเร็จและความพึงพอใจ โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) ผ่องศ รีก้อนทอง; สุภาพร โชติวาทิน; ไพริน บุญประเสริฐ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. สำนักงานคณบดีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลสำเร็จและสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าโครงการ “การบริหารคนเก่ง (Talent Management)” ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ระหว่างปี พ.ศ 2556 - 2560 สำหรับบุคลากรสายวิชาการรุ่นใหม่ที่มีอายุงานไม่เกิน 5 ปี โดยการสนับสนุนเงินพิเศษรายเดือน และทุนทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง งานทรัพยากรบุคคลของคณะฯ มีหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าตามเป้าประสงค์โครงการ ทุก 3 เดือน และประเมินความพึงพอใจโดยแบบสอบถามเมื่อจบโครงการ 4 ปี ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์/นักวิจัยผู้มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการครบทั้ง 20 ราย อายุเฉลี่ย (mean + SD) 36.5 + 3.3 ปี เป็นชาย 6 คน หญิง 14 คน ประกอบด้วยบุคลากรใหม่ 6 ราย (อายุงานน้อยกว่า 1 ปี) และบุคลากรเดิม 14 ราย (อายุงาน 1-5 ปี) หลังเข้าร่วมโครงการทุกรายมีผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้น โดย18 ราย (ร้อยละ 90) ตีพิมพ์ในฐานะผู้นิพนธ์หลัก รวมมีผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้น 23 เรื่อง (ค่ามัธยฐาน 7.50; 2.00 – 23.0 เรื่อง) ด้านทุนวิจัย 19 ราย (ร้อยละ 95) มีทุนวิจัยในฐานะผู้วิจัยหลัก รวมมีทุนโครงการวิจัยทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น 27 โครงการ การเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. 03 หรือ ม.ม. 01) พบว่าทุกรายเสนอตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ รวมเฉลี่ยคือ 29.10 + 10.92 เดือน และ 18 ราย (ร้อยละ 90) ได้รับผลการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการแล้ว การเปรียบเทียบระหว่างบุคลากรใหม่และบุคลากรเดิมไม่พบความแตกต่างของจำนวนผลงานตีพิมพ์ (p > 0.42) แต่กลุ่มบุคลากรเดิมส่งตีพิมพ์ได้เร็วกว่า (26.07 + 11.03 เดือน เปรียบเทียบกับ 36.17 + 6.49 เดือน, p = 0.03) การประเมินความพึงพอใจ (0-5 คะแนน) ทั้งหมด 10 ประเด็น ได้คะแนนรวม ที่ระดับปานกลางถึงดีมาก คือ 3.84 + 1.01 คะแนน โดยประเด็นการให้บริการของงานทรัพยากรบุคคล ได้คะแนนสูงสุด (4.35 + 0.59) บุคลากรทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจเหมือนกันต่อทั้ง 10 ประเด็นคำถาม (p > 0.06) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า โครงการ “การบริหารคนเก่ง” เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้บุคลากร สายวิชาการรุ่นเยาว์มีความก้าวหน้าทางวิชาการตามระยะเวลาที่เหมาะสม และมีความพึงพอใจต่อโครงการ งานวิจัยนี้ได้ข้อเสนอแนะคือ (1) การบริหารคนเก่ง สามารถเป็นโครงการระยะสั้นแต่ควรให้การสนับสนุนแบบครบวงจร (2) ควรมีการติดตามวัดผลความสำเร็จระหว่างโครงการ (3) งานทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะสนับสนุนด้านการบริการโครงการ (4) การสำรวจความพึงพอใจที่กระชับและตรงประเด็นจะได้ความร่วมมือที่ดี (5) บุคลากรรุ่นเยาว์มีความเหมาะสมที่จะเข้าโครงการ “คนเก่ง” เพื่อการพัฒนา และ (6) องค์กรควรมีการวางแผนระยะยาวเพื่อหาแหล่งทุน “การบริหารคนเก่ง” สำหรับบุคลากรรุ่นใหม่ทุกรุ่นPublication Metadata only ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่ออุปกรณ์ผูกยึดแขนหรือขาผู้ป่วยเด็กระหว่างให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่พัฒนาโดยพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน(2553) กองแก้ว ย้วนบุญหลิม; ปิยธิดา รุ้งมัจฉา; เนาวรัตน์ เจริญสุข; พัชรินทร์ คำอินทร์; ศุภางค์ ผาสุข; เฉลิมศรี พินิจเวชการ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อนการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการใช้อุปกรณ์ผูกยึดแขนหรือขาผู้ป่วยเด็กระหว่างให้สารน้ำทาง หลอดเลือดดำในเด็ก เปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน กับอุปกรณ์ที่ใช้อยู่เดิม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ป่วยเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ปีที่แพทย์สั่งให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำ และรับไว้นอนในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัย มหิดล จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นอุปกรณ์ ผูกยึดแขนหรือขาผู้ป่วยเด็กระหว่างให้สารน้ำทาง หลอดเลือดดำที่พัฒนาโดยพยาบาล และใช้แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการใช้ อุปกรณ์ผูกยึดเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยของคะแนน (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบความ พึงพอใจโดยใช้ Paired T-test ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการใช้อุปกรณ์ผูกยึดแขน หรือขาผู้ป่วยเด็ก ระหว่างให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนที่พัฒนาโดย พยาบาล โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน โดยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการเปรียบเทียบ ความพึงพอใจต่อการใช้อุปกรณ์ผูกยึดแขนหรือขาผู้ป่วยเด็กระหว่างให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใน โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน แบบดั้งเดิมและแบบใหม่ที่พัฒนาโดยพยาบาล แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 การวิจัยนี้เป็นนวัตกรรมที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพการ พยาบาลในหอผู้ป่วย เพื่อลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนและคณะฯ และเพิ่มความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ สอดคล้องกับแนวคิดของ อเดย์และเเอนเดอร์สัน (Aday and Andersen: 1975) อ้างในปรีชา หนูทิมและคณะ ว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้มารับบริการในการรักษาพยาบาลและ ความรู้สึกที่ผู้ป่วยได้รับจากการบริการเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่จะช่วยประเมินระบบบริการทางการแพทย์ ว่าได้มีการเข้าถึงประชาชนมากน้อยเพียงใดPublication Open Access บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข(2559) วิวัฒน์ วนรังสิกุล; Wiwat Wanarangsikul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อนเพราะเหตุใดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางาน ด้านสาธารณสุข ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการและศึกษาองค์ประกอบที่ทำาให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี เข้ามา มีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาคือ ตัวแทนผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ใน “โครงการพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระดับลึกโดยใช้แนวทาง การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้าน สาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขั้นตอน ต่าง ๆ คือ 1) รับทราบนโยบายจากสำานักงานจังหวัด เรื่อง “ยุทธศาสตร์บูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหา เอดส์แห่งชาติ” 2) ร่วมเป็น “คณะอนุกรรมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” 3) วางแผน และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี 4) ดำเนินงาน ภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” และ 5) ติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้าน สาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 6 ปัจจัย โดยจำาแนกเป็นปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอก องค์กร กล่าวคือ ปัจจัยภายในองค์กร 1. กฎหมาย เกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ 2. วิสัยทัศน์ของ ผู้บริหาร 3. ศักยภาพทางด้านการเงินและการคลัง 4. ความตระหนักรู้ในปัญหาเอดส์ของผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงาน และปัจจัยภายนอกองค์กร 5. อำนาจ ในการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาระดับสูงของจังหวัด 6. ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างองค์กร ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ในลักษณะของพหุภาคี และเจ้าหน้าที่ของทุกองค์กร ควรได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ร่วมกัน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบ เกี่ยวกับงบประมาณPublication Open Access การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยค่าดัชนีความผิดปกติ AI(2563) ชุติมา ปฐมกำเนิด; วชรสร เพ่งพิศ; เนตรฟ้า รักมณี; จุฑามาศ ประเสริฐศรี; น้ำฝน เอกสนธิ์; ประไพพร เตียเจริญ; ฐิติพร แก้วรุณคำ; สันติ มณีวัชระรังษี; Chutima Pathomkumnird; Wacharasorn Pangpit; Natefa Rukmanee; Jutamas Prasertsri; Namfon Ekkasonth; Prapaiporn Tiacharoen; Titiporn Kaewrunkam; Santi Maneewatchararangsri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. ภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. ภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. สำนักงานคณบดี; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560 จากข้อมูลทุติยภูมิแบบประเมินค่าดัชนีความผิดปกติ AI จําาแนกปัจจัยเสี่ยง และลักษณะท่าทางการทําางานที่มีความเสี่ยงการยศาสตร์ จําานวน 517 คน พบบุคลากรกลุ่มเสี่ยงทางการยศาสตร์มีความชุกร้อยละ 10.8 ในระดับมีความเสี่ยงสูงและมีความเสี่ยงสูงต้องแก้ไขทันที และมีค่าเฉลี่ยดัชนีความผิดปกติ AI ที่ 3.3±0.2 และ 4.8±0.1 ตามลําาดับ โดยพบบุคลากรกลุ่มเสี่ยงทางการยศาสตร์ในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ ร้อยละ 19.0 กลุ่มสายวิชาการและบริหาร ร้อยละ 12.0 กลุ่มสนับสนุนวิชาการ ร้อยละ 4.5 กลุ่มสนับสนุนทั่วไประดับปฏิบัติการและระดับช่วยปฏิบัติการ ร้อยละ 6.2 และ 6.4 ตามลําาดับ (p<0.001) โดยปัจจัยเพศ (p=0.046) และค่าดัชนีมวลกาย (p<0.001) มีความสัมพันธ์กับบุคลากรในกลุ่มเสี่ยงทางการยศาสตร์ บุคลากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ มีอิริยาบถนั่ง ยืน เคลื่อนไหวด้วยท่าซ้ําา ๆ และใช้กําาลังเกินตัว กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ ที่มีอิริยาบถนั่งทําางานอยู่กับที่ ใช้สายตาและความคิด และกลุ่มสายสนับสนุนช่วยปฏิบัติการ มีอิริยาบถเคลื่อนไหวและใช้กําาลังด้วยท่าทางไม่เหมาะสม เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเกิดอุบัติเหPublication Open Access Recombinant Proteins as Antigens for Serological Detection of Toxoplasma gondii and Neospora caninum in Livestock(2021) Ruenruetai Udonsom; Supaluk Popruk; Charoonluk Jirapattharasate; Aongart Mahittikorn; รื่นฤทัย อุดรโสม; สุภลัคน์ โพธิ์พฤกษ์; จารุญลักษณ์ จิรภัทรเศรษฐ์; องอาจ มหิทธิกร; Mahidol University. Faculty of Tropical Medicine. Department of Protozoology; Mahidol University. Faculty of Veterinary Science. Department of Pre-clinic and Applied animal science,Toxoplasmosis and neosporosis are diseases of livestock worldwide caused by infections with closely related parasitic protozoa, T. gondii and N. caninum, respectively. Toxoplasmosis is a cause of reproductive failure in small ruminants and zoonotic, while neosporosis is a major cause of bovine abortion without zoonotic reports. The clinical signs associated with both infections are often nonspecific. Therefore, serological diagnosis is important for detection of specific antibodies induced by the infection. However, propagation of T. gondii and N. caninum tachyzoite in vitro or in vivo is required prior to crude antigen extraction, high risk in contamination of cell culture or animal facilities for parasite propagation and time-consuming process. With the use of recombinant proteins as antigens, the risk of handing viable parasites can be avoided with improving in sensitivity and specificity for the detection. Although some of T. gondii or N. caninum recombinant proteins showed a high efficacy for diagnosis, more validation and optimization are still needed to provide a high throughput performance for using in animals. This review presents advance in the application of recombinant antigens as a serological marker for the above parasites detection in livestock.Publication Open Access ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล(2559) อารี บัวแพร; จุฑามาศ ชัยวรพร; ศิวพร พิสิษฐ์ศักดิ์; Aree Bauprae; Chutamas Chaiworaporn; Sivaporn Pisitsak; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. สำนักงานบริหารการศึกษาความผูกพันองค์กรของนักศึกษาต่อสถาบันการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นความรู้สึกประทับใจศรัทธา ภาคภูมิใจ ตั้งใจและพร้อมที่จะใช้ความพยายามที่มีอยู่ของบุคคลเพื่อสร้างชื่อเสียงที่ดีแก่สถาบันการศึกษานั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน และปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรศึกษาเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ที่ยังคงสภาพนักศึกษาในรอบปีการศึกษา 2557 จำนวน 172 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าไคส์-แควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อนส่วนใหญ่ มีความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 51.2 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความทุ่มเทต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และมีความศรัทธาต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50.6 และ 50.0 ตามลำดับ และมีความจงรักภักดีต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.4 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.022) แรงจูงใจในการเข้าศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับปานกลาง (p-value = 0.001, r = 0.687) และเมื่อจำแนกรายด้านพบว่าความคาดหวังในการศึกษาและการประกอบอาชีพ เหตุผลส่วนตัวและการสนับสนุนการศึกษามีความสัมพันธ์กับความผูกพันในเชิงบวกระดับปานกลาง (r = 0.731 และ 0.631 ตามลำดับ) ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.848) และมีความสัมพันธ์กับความศรัทธา ความทุ่มเท และความจงรักภักดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value =0.000, r = 0.790, 0.786 และ 0.765 ตามลำดับ) และความพึงพอใจโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.788) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความศรัทธา ความจงรักภักดีและความทุ่มเท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.772, 0.704, 0.700 ตามลำดับ) สัมพันธภาพโดยรวม ระหว่างความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนกับ ความศรัทธา ความทุ่มเท และความจงรักภักดี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.715, 0.699, 0.681, ตามลำดับ) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความผูกพันต่อสถาบันแก่นักศึกษาเพิ่มขึ้น โดยผู้บริหารควรกำหนดแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับช่องทางและกิจกรรมสร้างความผูกพันต่อองค์กรแก่นักศึกษา กำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างกิจกรรมระหว่างศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าเพิ่มขึ้น จัดบริการวิชาการ โดยกำหนดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ จัดสภาพสิ่งแวดล้อม และอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาเพิ่มขึ้นPublication Open Access Kinetic Adsorption of Hazardous Methylene Blue from Aqueous Solution onto Iron-Impregnated Powdered Activated Carbon(2019) Athit Phetrak; Sirirat Sangkarak; Sumate Ampawong; Suda Ittisupornrat; Doungkamon Phihusut; Mahidol University. Faculty of Tropical Medicine. Department of Social and Environmental Medicine; Mahidol University. Faculty of Tropical Medicine. Department of Tropical Pathology; Department of Environmental Quality Promotion. Environmental Research and Training Center; Chulalongkorn University. Environmental Research InstituteIn this study, iron-impregnated powderedactivated carbon (Fe-PAC) prepared using chemical co-precipitation techniques was used as an adsorbent for methylene blue (MB) removal in a batch experiment. The analysis of transmission electron microscopy, scanning electron microscopy with energy dispersive spectroscopy showed that iron oxide particle was substantially distributed into the surface of the adsorbent, suggesting that Fe-PAC was successfully synthesized. The results showed that fast and efficient adsorption of MB by Fe-PAC was achieved, witha relative short contact time of 10 min and MB adsorption capacity of 51 mg/g. The kinetic adsorption of MB on Fe-APC adsorbent was well described by a pseudo-second-order model. Concurrently, the analysis of intraparticle diffusion model suggests that intraparticle diffusion is not the only rate-limiting step of MB molecules adsorption by Fe-PAC adsorbent. The elevated temperature conditions also improved the removal efficiency of MB. Thermodynamic parameters exhibited by the MB adsorption process onto Fe-PAC were endothermic and spontaneous. The findings of the present work indicate that Fe-PAC can be a potentially effective adsorbent for MB removal in wastewater due to its fast and efficient MB adsorption, and separation in wastewater treatment systems.Publication Open Access การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคมาลาเรีย(2558) ศุภศิษฏ์ พัชโรภาสวัฒนกุล; ศรีวิชา ครุฑสูตร; Suphasit Phatcharopaswattanakul; Srivicha Krudsood; มหาวิทยาลัยมหิดล. โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. งานเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียควรได้รับยารักษาที่เหมาะสมและรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้ว อาจก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาและภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นการให้บริบาลทางเภสัชกรรมจึงมีบทบาทที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของผู้ป่วยโรคมาลาเรียได้ เริ่มตั้งแต่การซักประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย การมีส่วนร่วมในการประเมินอาการความรุนแรงของโรคเพื่อประกอบการตัดสินใจเรื่องการเลือกใช้ยา สามารถให้ข้อมูลแก่แพทย์ผู้รักษาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสม ตลอดจนให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องยาแก่ผู้ป่วยเพื่อให้มีการใช้ยาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เภสัชกรควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้ยาในการรักษาโรคมาลาเรีย อาการและอาการแสดง ผลทางห้องปฏิบัติการที่ต้องเฝ้าระวังติดตามในผู้ป่วยที่ใช้ยาทั้งในด้านผลการรักษาและการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รวมทั้งการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยพิเศษPublication Open Access การศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนที่สัมพันธ์กับความหนา ของผ้าห่อแผ่นประคบ ในช่วงเวลา 20 นาที(2561) ชมพูนุช ศรีไกรยุทธ; กภ.วรรณเฉลิม ชาววัง; Chompunuch Srikraiyut; Wanchalorm Chawwang; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. หน่วยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิแต่ละช่วงเวลา ต่อความหนาของผ้าห่อแผ่นประคบร้อนที่ความหนา 4 เซนติเมตร และ 2 เซนติเมตร วิธีการวิจัย ทำการทดลองในห้องที่มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 22-25 องศาเซลเซียส นำแผ่นประคบร้อนที่แช่ใน Hydrocollator ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส มากกว่า 1 ชั่วโมง ถูกเตรียมโดยการห่อด้วยผ้าขนหนูที่ทำด้วยผ้าฝ้าย 100% ขนาด 27 x 54 นิ้ว ที่ถูกพับครึ่งแล้ววางซ้อนทับกันให้ได้ความหนา 4 เซนติเมตร และ 2 เซนติเมตร ในด้านที่จะใช้วางบนเครื่องวัดอุณหภูมิ จากนั้นนำมาวางบนหมอนที่มี digital thermometer บริเวณกึ่งกลางของหมอน 1 โดยวางด้านที่ทีความหนาของแผ่นประคบร้อน เริ่มใช้นาฬิกาจับเวลา และทำการวัดอุณหภูมิตั้งแต่นาทีที่ 1 ถึงนาทีที่ 20 บันทึกอุณหภูมิทุกนาที จนครบ 20 นาที ด้วยความหนาของผ้าชุดละ 25 ครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมมสถิติ SPSS version PASW statistics 18 ใช้ student T-test ในการเปรียบเทียบอุณหภูมิของความหนาของผ้าที่ให้ห่อแผ่นประคบร้อนที่ 2 และ 4 เซนติเมตร ผลการศึกษา: ในการใช้แผ่นประคบร้อนที่ความหนาของผ้าห่อ 4 เซนติเมตร ต้มในหม้อต้มที่อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 76.71 ± 0.90 องศาเซลเซียส ตั้งแต่นาทีที่ 1 ถึงนาทีที่ 20 อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในช่วง 22.86 ± 0.63 องศาเซลเซียส ถึง 39.64 ± 2.47 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 31.24 ± 5.80 องศาเซลเซียส แผ่นประคบร้อนที่ความหนาของผ้าห่อ 2 เซนติเมตร ต้มในหม้อต้มที่อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 77.30 ± .44 องศาเซลเซียส ตั้งแต่นาทีที่ 1 ถึงนาทีที่ 20 อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในช่วง 23.92 ± 1.18 องศาเซลเซียส ถึง 48.69 ± 1.64 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วงนาทีที่ 3 ถึงนาทีที่ 15 ตามเวลาที่เปลี่ยนไปทื่ 30.25 ± 3.02 องศาเซลเซียส ถึง 47.80 ± 2.27 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบความหนาของผ้า พบว่าอุณหภูมิของผ้าที่ใช้ห่อแผ่นประคบร้อนมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p-value, 0.01) สรุปผลการศึกษาพบว่า ความหนาของผ้าที่ใช้ห่อแผ่นประคบร้อน ขนาด 2 เซนติเมตร และ 4 เซนติเมตร มีความแตกต่างต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนอย่างมีนัยสำคัญ