Publication: การศึกษาผลของการประคบด้วยแผ่นร้อนห่อด้วยผ้าที่มีความหนา 2 เซนติเมตรเป็นเวลา 20 นาที ต่ออุณหภูมิผิวหนังในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด
Received Date
2562-12-02
Accepted Date
2564-09-09
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
13 หน้า
ISSN
2392-5515
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2565), 9-21
Suggested Citation
ชมพูนุช ศรีไกรยุทธ, วรรณเฉลิม ชาววัง, Chompunuch Srikraiyut, Wanchalorm Chawwang การศึกษาผลของการประคบด้วยแผ่นร้อนห่อด้วยผ้าที่มีความหนา 2 เซนติเมตรเป็นเวลา 20 นาที ต่ออุณหภูมิผิวหนังในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2565), 9-21. doi:http://doi.org/10.14456/jmu.2022.12 สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109884
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การศึกษาผลของการประคบด้วยแผ่นร้อนห่อด้วยผ้าที่มีความหนา 2 เซนติเมตรเป็นเวลา 20 นาที ต่ออุณหภูมิผิวหนังในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด
Alternative Title(s)
The effect of application of hydrocollator pack covered with 2-centimeter thickness cotton towel for 20 minutes on skin temperature in patients receiving physical therapy
Author's Affiliation
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุณหภูมิของผิวหนังขณะประคบด้วยแผ่นประคบร้อนที่ห่อด้วยผ้าหนา 2 เซนติเมตร ในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด เป็นระยะเวลา 20 นาที วิธีการวิจัย : ศึกษากับอาสาสมัครที่มีอาการปวดหลังในกลุ่ม Musculoskeletal system ที่มารักษาในหน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 50 คน งานวิจัยทำในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ ระหว่าง 22 ถึง 25 องศาเซลเซียส โดยใช้แผ่นประคบร้อนที่แช่ในหม้อต้ม Hydrocollator ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 73.1 ?3.0 องศาเซลเซียส นานมากกว่า 30 นาที จากนั้นนำมาห่อด้วยผ้าขนหนูผ้าฝ้าย 100 % ขนาด 27 X 54 นิ้ว ที่ถูกพับครึ่งแล้ววางซ้อนทับกันให้ได้ความหนา 2 เชนติเมตร แล้วจึงนำมาวางบริเวณหลังของอาสาสมัคร โดยมี digital thermometer วางอยู่บริเวณกึ่งกลางของแผ่นประคบร้อน เริ่มใช้นาฬิกาจับเวลาและทำการวัดอุณหภูมิ พร้อมทั้งสอบถามความรู้สึกของกลุ่มทดลอง ในช่วงนาทีที่ 0, 5, 10, 15, 20 ตามลำดับ บันทึกอุณหภูมิในช่วงเวลาดังกล่าวพร้อมทั้งความรู้สึกของกลุ่มทดลอง นำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติ SPSS version PASW statistics 18 โดยใช้ One-Sample Kolmogorov-Smirnov Test คำนวนค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Mean ? SD ) ของอุณหภูมิแผ่นประคบร้อน และใช้ Descriptive Statistics Frequencies ในการหาค่าเปอร์เซ็นต์ของการรับความรู้สึกในแต่ละช่วงเวลา ผลการศึกษา : ค่าอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนที่ความหนาของผ้า 2 เชนติเมตรกับเวลาที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิภายในกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่นาทีที่ 0 ถึง นาทีที่ 20 มีค่าระหว่าง 24.9 ?1.8 องศาเซลเซียส ถึง 42.7 ?1.4 องศาเซลเชียส พบว่าค่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่เปลี่ยนไป จากผลการทดลองพบว่าในช่วงนาทีที่ 5 ถึงนาทีที่ 20 ค่าอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.9 ? 2.1 องศาเซลเซียส ถึง 42.7 ? 1.4 องศาเซลเซียส ซึ่งค่าอุณหภูมิเกือบมีค่าคงที่ และพบว่าแปรผันตามการรับรู้ความรู้สึกต่อความร้อนของอาสาสมัคร ได้แก่ ช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 5 ความรู้สึกอุ่นสบาย 84 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 16 เปอร์เซ็นต์ นาทีที่ 10 ความรู้สึกอุ่นสบาย 54 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 44 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 2 เปอร์เซ็นต์ นาทีที่ 15 ความรู้สึกอุ่นสบาย 44 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 52 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 4 เปอร์เซ็นต์ ถึงนาทีที่ 20 ความรู้สึกอุ่นสบาย 72 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 26 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 2 เปอร์เซ็นต์ และอาสาสมัครทุกรายไม่มีแผลพุพอง ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ สรุปว่าแผ่นประคบร้อนต้มในน้ำที่อุณหภูมิเฉลี่ย 73 องศาเซลเซียส และห่อด้วยผ้าขนหนูที่มีความหนา 2 เซนติเมตร ใช้เวลาในการรักษา 20 นาที มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมสำหรับใช้รักษาผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดที่มีอาการ lower back pain
Objective : To investigate skin temperature during treated with hydrocollator pack wrapped with 2 cm-thickness fabric for 20 minutes. Method : The study was performed in 50 musculaskeletal syndrome’ volunteers who has treated at Physical therapy Unit, Faculty of Tropical Medicine Mahidol University. This research was conducted in a room with a controlled temperature in the range of 22 to 25 °C. The hot pack was placed inside a hydrocollator heating units, a thermostatically water bath at 80 °C, for over 30 minutes. After that the hot pack was prepared by wrapping with 100% cotton towel (27 inches X 54 inches) folded in a half to make 2 cm-thickness fabric. Then, place on volunteer’ s lower back . The digital thermometer was placed between the lower back of subject and the towel. The temperature was recorded at each time point from 0, 5, 10, 15 and 20 minutes. The thermal perception of each volunteer was interviewed and recorded at each time point. The data was analyzed using SPSS version PASW statistics 18. Mean and standard deviation of temperature were calculated by One-Sample Kolmogorov-Smirnov Test while temperature perception was analysed using descriptive statistics frequencies. Results : The temperature of hydrocollator pack wrapped with a 2 cm. thickness fabric used for lower back pain patients for 20 minutes was in the range of 24.9 ±1.8 °C to 42.7 ±1.4 °C. The temperature during 5 minute to 20 minute was consistantly in the range of 37.9 ± 2.1 °C to 42.7 ± 1.4 °C. The thermal perception of the volunteer at each time interval was showed as : 5th minutes feel warm 84% feel hot 16%, 10th minutes feel warm 54% feel hot 44% feel extreme hot 2% , 15th minutes feel warm 44% feel hot 52% feel extreme hot 4% and 20th minutes feel neutral 2% feel warm 70% feel hot 26% feel extreme hot 2%. All of volunteer had no evidence of side effect as call “burn” Finally, we concluded that, the hydrocollator pack incubated at 73°C which wrapped with 2 cm. thickness fabric could be used for lower back pain treatment effectively within 20 minutes.
Objective : To investigate skin temperature during treated with hydrocollator pack wrapped with 2 cm-thickness fabric for 20 minutes. Method : The study was performed in 50 musculaskeletal syndrome’ volunteers who has treated at Physical therapy Unit, Faculty of Tropical Medicine Mahidol University. This research was conducted in a room with a controlled temperature in the range of 22 to 25 °C. The hot pack was placed inside a hydrocollator heating units, a thermostatically water bath at 80 °C, for over 30 minutes. After that the hot pack was prepared by wrapping with 100% cotton towel (27 inches X 54 inches) folded in a half to make 2 cm-thickness fabric. Then, place on volunteer’ s lower back . The digital thermometer was placed between the lower back of subject and the towel. The temperature was recorded at each time point from 0, 5, 10, 15 and 20 minutes. The thermal perception of each volunteer was interviewed and recorded at each time point. The data was analyzed using SPSS version PASW statistics 18. Mean and standard deviation of temperature were calculated by One-Sample Kolmogorov-Smirnov Test while temperature perception was analysed using descriptive statistics frequencies. Results : The temperature of hydrocollator pack wrapped with a 2 cm. thickness fabric used for lower back pain patients for 20 minutes was in the range of 24.9 ±1.8 °C to 42.7 ±1.4 °C. The temperature during 5 minute to 20 minute was consistantly in the range of 37.9 ± 2.1 °C to 42.7 ± 1.4 °C. The thermal perception of the volunteer at each time interval was showed as : 5th minutes feel warm 84% feel hot 16%, 10th minutes feel warm 54% feel hot 44% feel extreme hot 2% , 15th minutes feel warm 44% feel hot 52% feel extreme hot 4% and 20th minutes feel neutral 2% feel warm 70% feel hot 26% feel extreme hot 2%. All of volunteer had no evidence of side effect as call “burn” Finally, we concluded that, the hydrocollator pack incubated at 73°C which wrapped with 2 cm. thickness fabric could be used for lower back pain treatment effectively within 20 minutes.