Publication: ผลของท่านั่งและท่ายกขาสูง 45 องศา ในระยะฟื้นตัวจากการออกกำลังกายอย่างหนักแบบเป็นช่วงที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิต, ระบบระบายอากาศ และ ระบบเผาผลาญพลังงาน
dc.contributor.author | หฤทัย เพ็ชรวิเศษ | en_US |
dc.contributor.author | เมตตา ปิ่นทอง | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งชัย ชวนไชยะกูล | en_US |
dc.contributor.author | Haruthai Petviset | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-03-14T06:26:20Z | |
dc.date.accessioned | 2017-03-16T08:08:53Z | |
dc.date.available | 2015-03-14T06:26:20Z | |
dc.date.available | 2017-03-16T08:08:53Z | |
dc.date.created | 2015-03-14 | |
dc.date.issued | 2011 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของท่านั่งและท่ายกขาสูง 45 องศา ภายหลังการออกกำลังกายอย่างหนักแบบเป็นช่วง ที่มีผลต่ออัตราการเต้นหัวใจ, ความดันเลือดแดง, การระบายอากาศ, อัตราการใช้ออกซิเจน และระดับความไม่สุขสบายในการหายใจ ในผู้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เพศชาย อายุระหว่าง 19-22 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพศชาย จานวน 11 คน โดยผู้ที่เข้าร่วมทดลองจะทำการวิ่งบนลู่วิ่งที่มีความหนักเป็นช่วงๆเป็นเวลา 45 นาทีต่อมาในระยะพักผู้เข้าร่วมการทดลองจะทำการนั่ง หรือนอนหงายยกขาสูง 45 องศาเป็นเวลา 15 นาทีโดยเว้นระยะห่างระหว่างการทดลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทันทีภายหลังจากการวิ่ง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะเข้าสู่ระยะของการฟื้นตัวโดยการนั่ง หรือ นอนยกขาสูง 45 องศา เป็นเวลา 15 นาทีโดยการสุ่ม และผู้เข้าร่วมการทดลองจะมาทาการทดลองอีกครั้งอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถัดไป แบบสอบถามความเหนื่อยในการออกกำลังกายจะถูกบันทึกในช่วงระยะออกกำลังกายและความเหนื่อยในการหายใจจะบันทึกทุก 1 นาทีในระยะฟื้นตัว ผลการวิจัย ในระยะพักและระยะออกกำลังกายไม่พบความแตกต่างของอัตราการเต้นหัวใจ, ความดันเลือดแดง, การระบายอากาศ, ปริมาตรของการหายใจเข้าปกติ, อัตราการหายใจ, อัตราการใช้ออกซิเจน และระดับความไม่สุขสบายในการหายใจในการทดลองทั้ง 2 ครั้ง ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (p < 0.05) และ ค่าดันพัลซฺเพรสเซอร์ (p < 0.05) จะมีค่ามากในท่านอนยกขาสูง 45 องศา อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการเต้นของหัวใจจะมีค่าต่าในท่านอนยกขาสูงเมื่อเทียบกับท่านั่ง ในท่านั่งจะมีค่าการใช้ออกซิเจนที่ต่ากว่าท่านอนยกขาสูง (p < 0.05) แต่ค่าสัดส่วนการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนออกซิเจนในท่านั่งจะมีค่าสูงกว่าในท่านอนยกขาสูง (p < 0.05) ค่าการระบายอากาศ, ความเหนื่อยในการหายใจ , ความดันไดแอสโตลิก , ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย , ค่าเรทเพรสเซอร์โปรดักส์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในระหว่างท่านั่งกับท่านอน (p > 0.05) ในระยะฟื้นตัวท่า นอนยกขาสูงมีการใช้ออกซิเจน, อัตราการหายใจ ที่มากกว่าในท่านั่ง แต่มีปริมาตรอากาศของการหายใจเข้าปกติ น้อยกว่าในท่านั่ง (p < 0.05) จากข้อมูลที่ได้สามารถสรุปได้ว่าท่านอนยกขาสูง 45 องศาจะสามารถลดการทำงานอย่างหนักของระบบไหลเวียนโลหิตภายหลังการออกกำลังอย่างหนักอาจเนื่องมาจากมีการกระตุ้นของบาร์โรรีเซบเตอร์ในท่านอนยกขาสูง | en_US |
dc.description.abstract | This aim of the study was to investigate and compare the effects of recovery postures, upright-seated position and 45 degree leg raising, on ventilation and hemodynamic and metabolism responses after high-intensity exercise. Eleven male volunteers (mean ± SD: age, 20.18 ± 0.70 yr) completed the 45 min high-intensity intermittent exercise on a treadmill. Immediately after exercise, each subject was assigned to recover in a seated or leg-raised position for 15 min in a randomized order. Each subject then performed two experimental trials separated by at least 1 week. Minute ventilation (VE), tidal volume (VT), breathing frequency (BF), oxygen consumption (VO2), carbon dioxide production (VCO2), respiratory exchange ratio (RER), rate pressure product (RPP) and heart rate (HR) were monitored via a portable metabolic test system (Oxycon Mobile, Germany) and telemetry heart rate monitor (Polar, Finland). VE, VT, BF, VO2, VCO2, RER, HR, and arterial blood pressure variables at baseline rest and during exercise were not different between upright-seated and leg raising recovery trials. Post-exercise systolic blood pressure (p < 0.05) and arterial pulse pressure (P<0.01) were greater for the leg raising recovery compared with the seated recovery. The change in heart rate after high-intensity intermittent exercise was less in the leg raising recovery (p < 0.05) and the heart rate was lower compared with the seated condition (p < 0.01). During recovery, VO2, respiratory discomfort, and BF were higher in leg raising position when compared with upright-seated position but VT in leg raising position was lower than upright-seated position (p < 0.05). However, VE, diastolic, mean arterial blood pressure, VCO2, RER and RPP were not influenced by the tested recovery postures (p > 0.05). In conclusion, these data show a greater benefit of recovery in 45 degree leg raising position compared with upright-seated position for reducing cardiovascular strains after high-intensity intermittent exercise. However, a higher respiratory discomfort was observed in leg raising position. | |
dc.identifier.citation | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, (ธ.ค. 2554), 91-104 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1424 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาแห่งประเทศไทย (สวกท) | en_US |
dc.subject | ท่าทางในระยะฟื้นตัว | en_US |
dc.subject | การไหลเวียนโลหิต | en_US |
dc.subject | การระบายอากาศ | en_US |
dc.subject | การเผาผลาญพลังงาน | en_US |
dc.subject | Hemodynamic | en_US |
dc.subject | Ventilation | en_US |
dc.subject | Metabolism | en_US |
dc.subject | Recovery postures | en_US |
dc.subject | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา | |
dc.subject | Open Access article | |
dc.subject | Journal of Sports Science and Technology | |
dc.title | ผลของท่านั่งและท่ายกขาสูง 45 องศา ในระยะฟื้นตัวจากการออกกำลังกายอย่างหนักแบบเป็นช่วงที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิต, ระบบระบายอากาศ และ ระบบเผาผลาญพลังงาน | en_US |
dc.title.alternative | Effecct of different recovery postures on metabolic, Hemodynamic and ventilatory responses to high-intensity exercise | |
dc.type | Original Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |